22 พ.ย. 2021 เวลา 05:31 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
'เยอรมนี' ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งอนาคต
แม้เยอรมนีจะเป็นที่รู้จักในด้านการเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงระดับต้นๆ ของโลก แต่เยอรมนีก็เป็นชาติแรกที่ทำนวัตกรรมทางสังคมขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันมีการใช้กันแพร่หลายทั่วโลก นั่นก็คือ ระบบประกันสังคม ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 หรือราว 130 ปีมาแล้ว และยังเป็นต้นกำเนิดแนวคิดของโรงเรียนอนุบาล หรือ kindergarten ที่เริ่มเปิดรับเด็กยากจนขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2380
พรรคกรีน ก็ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางสังคมของเยอรมัน ที่เริ่มต้นจากขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ ต่อต้านนิวเคลียร์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมในทศวรรษที่ 1970 จากนั้นได้จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองในปี 1980 และมีผู้แทนได้รับเลือกเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1983 โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปีนี้ พรรคกรีนได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของพรรค และมีโอกาสที่จะได้เข้าร่วมรัฐบาล
ความนิยมของพรรคกรีนที่สูงขึ้น สะท้อนความสนใจปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมของคนเยอรมัน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ส่งผลให้เยอรมนีเป็นที่น่าจับตามมองในเรื่องนวัตกรรมทางสังคมใหม่ๆ ที่เกิดจากธุรกิจเพื่อสังคมและสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ และกำลังเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยมีกรุงเบอร์ลินเป็นศูนย์กลาง
การเกิดขึ้นของนวัตกรรมทางสังคมในเยอรมัน ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคการเมือง ส่งผลให้นวัตกรรมทางสังคมขับเคลื่อนไปได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มีบทเรียนอะไรที่ไทยจะเรียนรู้จากเยอรมนีได้บ้าง ?

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา