Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
22 พ.ย. 2021 เวลา 11:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Hyperinflation เงินเฟ้อขั้นรุนแรง
หลังจากที่เศรษฐกิจทั่วโลกได้ผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปเรียบร้อยแล้ว เศรษฐกิจก็ได้กลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลายประเทศใหญ่ๆ ทั่วโลกก็เริ่มมีอัตราเงินเฟ้อสูงในรอบหลายปี จนนักวิชาการก็เริ่มออกมาถกกันว่าเงินเฟ้อนี้จะเป็นแค่เรื่องชั่วคราว หรือจะเกิดขึ้นแบบถาวรกันแน่ อีกทั้งเงินเฟ้อนั้นจะเฟ้อถึงระดับไหน ก่อให้เกิดผลดีหรือผลร้ายมากกว่ากัน
อาจมีคนจำได้ว่า ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ก็มีช่วงหนึ่งที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดมหึมาของหลายประเทศทั่วโลก ได้สร้างความกังวลใจให้กับนักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่ม ว่าเงินจำนวนมหาศาลในระบบนี้จะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อสูง หรือ Hyperinflation อีกครั้งในยุคนี้ ทำให้หลายคนต้องเร่งไปลงทุนในทองคำเก็บเอาไว้ จนราคาทองพุ่ง
ในบทความนี้ Bnomics จะมาเล่าให้ฟังว่าคร่าว ๆ ว่า Hyperinflation คืออะไร พร้อมกับพาทุกคนย้อนกลับไปดูกรณีศึกษาในแต่ละประเทศที่เคยประสบปัญหานี้ และเปรียบเทียบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคของการระบาดในปัจจุบันเหมือนหรือต่างกับอดีตอย่างไร
📌 Hyperinflaton คืออะไร?
ก่อนที่เราจะไปพูดถึง Hyperinflation ก็ต้องเข้าใจคำว่า “อัตราเงินเฟ้อ” ก่อน
“อัตราเงินเฟ้อ” หรือ “Inflation” คือ การลดลงของอำนาจเงินจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น และหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อก็คือ การที่มีเงินในระบบเยอะเกินไป จนทำให้คนมีเงินซื้อของมากขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ จนธุรกิจไม่สามารถผลิตสินค้าเพิ่มได้ทันเวลา จึงจำเป็นจะต้องขึ้นราคาสินค้าแทน
1
“Hyper” มีความหมายว่า คลั่ง หรือ เป็นซึ่งการกระทำที่มากเกินพอดี ดังนั้น “Hyperinflation” จึงสื่อถึงเงินเฟ้อขั้นรุนแรง หรือ เงินเฟ้อที่มากเกินควร โดยระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปพุ่งขึ้นสูงและเร็วจนเงินที่ผู้คนถืออยู่นั้นด้อยค่าลงหนักมาก ถึงขนาดที่ว่าคนหมดความเชื่อมั่นในอำนาจเงินที่ตัวเองมีอยู่
📌 Hyperinflation ที่น่าตกใจในอดีต: เยอรมนี ซิมบับเว ฮังการี
ในอดีตมีหลายประเทศที่มี Hyperinflation อย่างในเยอรมนี ฝันร้ายเริ่มขึ้นหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเยอรมนีต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายจากสงครามให้ต่างชาติ พร้อมทั้งต้องชดใช้หนี้จำนวนมหาศาลที่รัฐบาลได้กู้มาใช้ในช่วงสงคราม ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงตัดสินใจพิมพ์เงินเพื่อชดใช้ทั้งค่าเสียหายและหนี้ที่ก่อไว้ เมื่อมีเงินในระบบเป็นจำนวนมาก ราคาสินค้าต่างก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยในเดือนตุลาคม ปี 1923 ราคาสินค้าทั่วไปในท้องตลาดพุ่งขึ้นสูงถึง 29,500% ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น ขนมปังเพียงก้อนเดียวมีราคาสูงถึง 2 แสนล้านมาร์ค จากที่เคยขายอยู่เพียงประมาณ 160 มาร์ค ในปีก่อนหน้า หากเทียบเป็นอัตราและเปลี่ยนระหว่างมาร์คของเยอรมนีและดอลลาร์สหรัฐฯ หนึ่งดอลลาร์ มีมูลค่าเท่ากับ 4.2 ล้านล้านมาร์คในเดือนพฤศจิกายน ปี 1923 จากที่เดิมที่เคยอยู่ที่เพียง 4.2 มาร์ค ในปี 1914
เนื่องจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ 3.7 วันโดยเฉลี่ย การพกพากองเงิน โดยรถเข็นก็เป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปในช่วงนั้น และร้านอาหารก็เลิกแสดงเมนูราคา เพราะเมื่อลูกค้าทานอาหารเสร็จ ราคาอาหารก็เปลี่ยนไปแล้ว เงินมาร์คของเยอรมนีสูญเสียมูลค่ามากถึงขั้นที่ว่าคนนำเงินไปเป็นเชื้อเพลิงก่อไฟ และเมื่อวางรถเข็นเงินทิ้งไว้หน้าร้านค้า โจรเลือกที่จะขโมยรถเข็นแต่ทิ้งเงินไว้ที่เดิม เหตุการณ์นี้ทำให้คนตกงานและเสียเงินเก็บของตัวเองไปจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์คลี่คลายลงในปี 1924 เมื่อรัฐบาลได้ออกสกุลเงินใหม่ที่มีทรัพย์สินรองรับ
ซิมบับเวเองก็เจอปัญหาเดียวกันหลังจากที่รัฐบาลได้พิมพ์เงิน เพื่อใช้หนี้และแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากมาย หลังการปฏิรูปประเทศในเดือนพฤศจิกายนปี 2008 อัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวเพิ่มขึ้นสูงถึง 769 แสนล้านเปอร์เซ็นต์ น้ำตาลเพียงถุงเดียวก็ขายอยู่ที่ประมาณ 9 หมื่นล้านดอลลาร์ซิมบับเว และค่าจ้างของแรงงานไร้ฝีมืออยู่ที่ราวๆ 2 แสนล้านดอลลาร์ซิมบับเว ปัญหานี้ค่อยๆ คลี่คลายลงเมื่อซิมบับเวหยุดพิมพ์เงินและเริ่มใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ แทนสกุลเงินเดิม
อีกประเทศที่เงินเฟ้อรุนแรงจนน่าตกใจคงไม่พ้นประเทศฮังการี ความเสียหายในประเทศจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ค่าเสียหายจากสงครามที่ต้องชดใช้ให้ต่างประเทศ การขาดเงินสำรองที่เพียงพอ และการขาดดุลของรายได้ภาครัฐ ต่างเป็นปัจจัยที่บังคับให้ฮังการีต้องพิมพ์เงิน เพื่อใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและชดใช้หนี้
ฮังการีเริ่มพิมพ์เงินเยอะมากถึงขนาดที่ว่าเงินในระบบ เพิ่มขึ้นจาก 25,000 ล้าน Pengo (ค่าเงินฮังการีในสมัยนั้น) ในเดือนกรกฎาคมปี 1945 เป็น 47 ล้านล้านล้านล้าน Pengo (47 Septillion Pengo) ในเดือนเดียวกันปี 1946 และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4,190 ล้านล้านเปอร์เซ็นต์ (4.19 Quadrillion Percent)
1
ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า นักกวีที่โด่งดังในยุคนั้นอย่าง Gyorgy Faludy ขายงานของเขาในมูลค่า 3 แสนล้าน Pengo ซึ่งทันทีที่เขาได้รับเงินมา เขาได้รีบไปที่ตลาดท้องถิ่นเพื่อซื้อของก่อนที่ราคาจะขึ้น และสิ่งที่เขาได้จากค่าแรงทั้งหมดคือ ไก่หนึ่งตัว น้ำมันมะกอกหนึ่งลิตร และผักสดเพียงไม่กี่อย่าง
และเนื่องจากราคาสินค้าเพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆ 15 ชั่วโมง ผู้คนมากมายจึงเริ่มแลกซื้อสินค้ากันในตลาดมืด จนถึงขึ้นที่ทำให้รัฐบาลประกาศเอาโทษถึงชีวิตกับคนที่ไปข้องเกี่ยวกับตลาดมืด นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ออกธนบัตร 1,000,000,000,000,000,000 pengo ซึ่งจวบจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีธนบัตรประเทศไหนในโลกที่มีหน่วยเยอะเท่านี้มาก่อน (แม้กระทั่งแบงค์กงเต๊กก็ยังต้องยอมแพ้)
ในปี 1947 รัฐบาลฮังการีได้ออกมาประกาศปฏิรูปประเทศ สร้างสกุลเงินขึ้นมาใหม่ และออกกฎเกณฑในการที่ธนาคารกลางจะปล่อยกู้ให้รัฐบาล หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ระดับราคาก็ค่อยๆ ปรับตัวลง
📌 Hyperinflation ในอดีตและในปัจจุบัน
เมื่อดูกรณีศึกษาเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าทุกที่ต่างก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน นั่นคือ มีเหตุการณ์บางอย่างที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะ สงคราม หรือ ภัยพิบัติ จึงทำให้รัฐบาลและธนาคารกลางต้องยื่นมือเข้ามาช่วยโดยการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและอัดฉีดเงินเข้าระบบเป็นจำนวนมาก
อีกข้อสังเกตุคือ ปัญหา Hyperinflation จะไม่หมดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐครั้งใหญ่หลวง คือธนาคารกลางหยุดพิมพ์ธนบัตร หรือมีการเลิกใช้สกุลเงินของประเทศไปเลย ซึ่งสองสิ่งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำง่ายและน่ายินดีสักเท่าไหร่ เพราะมักจะจบลงด้วยเศรษฐกิจที่หดตัวอย่างรุนแรง
ในปัจจุบัน เห็นได้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศก็คล้ายคลึงกับอดีตตรงที่ว่าการระบาดของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก เป็นเหตุให้รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกต้องออกมาอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อพยุงเศรษฐกิจไว้
อย่างไรก็ดี มีหลายอย่างในปัจจุบันที่อาจป้องกันไม่ให้อดีตซ้ำรอย เช่น
1.
ธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกได้เรียนรู้บทเรียนจากอดีตมาและต่างก็ได้อุทิศตัวในการคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้า
2.
เทคโนโลยีและกระแสการย้ายถิ่นฐานการผลิตช่วยทำให้ราคาต้นทุนการผลิตถูกลง ส่งผลให้ราคาขายลดลงเช่นกัน และ เทคโนโลยีและกระแสการย้ายถิ่นฐานการผลิตช่วยทำให้ราคาต้นทุนการผลิตถูกลง ส่งผลให้ราคาขายลดลงเช่นกัน และ
3.
สถานการณ์การระบาดที่ยังคงมีความไม่แน่นอนจากการกลายพันธุ์ของไวรัสและความอ่อนแอของภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก ยังคงกระทบต่อรายได้คนเป็นจำนวนมากและเป็นน่าจะยังเป็นตัวถ่วงต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนทั่วโลกสถานการณ์การระบาดที่ยังคงมีความไม่แน่นอนจากการกลายพันธุ์ของไวรัสและความอ่อนแอของภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก ยังคงกระทบต่อรายได้คนเป็นจำนวนมากและเป็นน่าจะยังเป็นตัวถ่วงต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนทั่วโลก
ดังนั้นถ้าถามว่ามีโอกาสเกิดเงินเฟ้อไหม คงต้องตอบว่ามี แต่คงยากที่เงินเฟ้อจะขึ้นมาเร็วเกินกว่าที่ผู้บริหารประเทศจะรู้ตัวและปล่อยให้เกิด Hyperinflation ดังที่เกิดมาในอดีต (เพราะบทเรียนในเรื่องนี้ ในอดีต ได้เป็นบทเรียนเตือนใจนายธนาคารกลางทั่วโลก ถึงปัญหาและความเสียหายที่จะตามมา)
ในตอนหน้า Bnomics จะพาไปเรียนรู้ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัตราเงินเฟ้ออีก จะมีอะไรบ้าง โปรดติดตาม
บทความเพิ่มเติม “ประวัติศาสตร์ Hyperinflation ของเยอรมนี ในปี 1923”
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[Bnomics] ที่มาว่าทำไมธนาคารกลางถึงกลัวเงินเฟ้อ
ที่มาว่าทำไมธนาคารกลางถึงกลัวเงินเฟ้อ
#Hyperinflation #วิกฤตเงินเฟ้อ #เศรษฐกิจโลก #เยอรมนี #ฮังการี #ซิมบับเว
#Bnomics #Economics #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน : บูชิตา ปิตะกาศ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
https://www.youtube.com/watch?v=qYHOCbEekR0&t=212s
https://www.economicshelp.org/blog/390/inflation/hyper-inflation-in-zimbabwe/
https://www.businessinsider.com/hungarys-hyperinflation-story-2014-4
https://storymaps.arcgis.com/stories/4b3874dfcd4a4caf8905f6ef11e8d429
https://www.investopedia.com/are-we-in-for-a-hyperinflation-5093627
13 บันทึก
17
7
13
17
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย