23 พ.ย. 2021 เวลา 00:41 • ข่าว
คอลัมน์ : รู้เขารู้เรา
ถ้าหากจะนับว่าคู่แข่งของทุเรียนไทยเรา ณ วันนี้มีประเทศไหนบ้าง ชาวสวนทุเรียนหรือคนทั่วๆไป คงนึกถึงประเทศมาเลเซียขึ้นมาเป็นประเทศแรกแน่นอน เพราะปัจจุบันประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ส่งผลสดเข้าไปขายยังประเทศจีนได้ นอกจากประเทศไทยแล้ว ก็คือประเทศมาเลเซีย อีกหนึ่งประเทศที่นับว่าเป็นคู่แข่งที่สำคัญของทุเรียนไทย
ถึงแม้ว่าทุเรียนของมาเลเซียที่เข้าไปยังประเทศจีน จะเป็นคนละสายพันธุ์ และทำตลาดคนละอย่างกับทุเรียนไทย แต่สิ่งทีน่าสนใจของประเทศมาเลเซียคือการส่งเสริมเรื่องทุเรียนอย่างจริงจัง จึงขอนำมาเล่าให้ฟังกันครับ
มาเลเซียมี Federal Agricultural Marketing Authority (FAMA) ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรโดยเฉพาะ อยู่ภายใต้กำกับของกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยดูแลการตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โครงการสำคัญของ FAMA ได้แก่
(1) RURAL TRANSFORMATION CENTER (RTC) เป็นตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรในส่วนภูมิภาคที่จะเชื่องโยงผู้ผลิตและผู้ซื้อ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางจัดเก็บข้อมูล ศูนย์กลางส่งเสริมความปลอดภัยในอาหารและการเพิ่มผลผลิต ตลอดจนศูนย์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (agro tourism) โดยดำเนินการผ่านการบูรณาการระหว่างภาครัฐและเอกชน
(2) CONTRACT FARMING โครงการทางการเกษตรแบบมีสัญญา ครอบคลุมเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการเกษตร ( DoA) Farmers's Association Organization, Malaysian PineappleIndustrial Board (LPNM), กระทร วงเกษตร ฯ (MOA) Sabah's Food Industry (KPIM Sabah) and Sarawak's Agriculture Modernization Ministry (KPP Sarawak) โดยมี FAMA เป็นผู้รับซื้อสินค้าเกษตรปัจจุบันการรับซื้อเป็นบทบาทของ FAMACO ซึ่งเป็นหน่วยงานลูกของ FAMA Malaysia Agro Food Corporation (MAFC) และภาคเอกชน อาทิ ผู้ส่งออก ซุปเปอร์มาเก็ต โรงงานผลิตอาหาร ผู้ค้าส่ง
(3) COLLECTION CENTRE (CC) and DISTRIBUTION CENTRE (DC) โดย FAMA ได้จัดตั้งศูนย์จัดเก็บสินค้าเกษตรในแหล่งผลิตสินค้าเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการตลาดของสินค้าเกษตรโดยเข้าไปบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การคัดเกรดคุณภาพ และติดฉลาก ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีศูนย์จัดเก็บสินค้าเกษตรแล้วจำนวน 91 ศูนย์ มีผู้ใช้บริการ 2,232 ราย นอกจากนี้ FAMA ยังได้จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในเมืองหลักรวม 14 ศูนย์ทั่วประเทศ ตั้งอยู่ใกล้ตลาดค้าส่งสำคัญ ซึ่งภายในศูนย์กระจายสินค้าจะมีการบรรจุภัณฑ์ (repackage) การจัดเก็บ การบ่ม และบริการขนส่งอย่างครบวงจร
(4) 'Malaysia's Best' เป็นตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับสินค้าเกษตรของมาเลเซีย ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงเกษตร และมาตรฐานระดับสากลคือ EUROGAP ซึ่งสินค้าภายใต้ตราสัญลักษณ์นี้จะได้รับการส่งเสริมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
(5) SUPPLY & DEMAND VIRTUAL INFORMATION (SDVI) MATCHING SYSTEM ระบบ SDVI เป็นการติดตามสถานการณ์อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(6) MEGA FARMERS MARKET AND FRESH FRUITS STALL (GBBS) โดย FAMA มีก า รจัดตั้งตลาดสำหรับเกษตรกรและชาวประมงเพื่อสามารถนำสินค้ามาจัดจำหน่ายได้โดยตรงต่อผู้บริโภค ปัจจุบันมีจำนวน 35 ตลาด นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเครือข่ายร้านจำหน่ายผลไม้ที่มีผู้ประกอบการท้องถิ่นเป็นเจ้าของซึ่งจะได้รับการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความสะอาด และมีรูปแบบการจัดวางนำเสนอสินค้าที่น่าสนใจมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ 163 รายหรือ 326 ร้านค้าทั่วประเทศ
(7) OLEMAS and AGROMAS เป็นตราสินค้าของประเทศ (national brand) สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่ผ่านมาตรฐานคุณภาพ (Small and Medium Industry: SMI) ปัจจุบันมีสินค้า 6ประเภทที่ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการนี้ ได้แก่ Honey Sri Kaya Madu, Honey Mixed Fruit Sauce,Chilli Sauce, Chilli Soy Sauce, Chilli Pineapple Sauce และ Percik's gravy ส่วน AGROMAS เป็นตราสินค้าสำหรับสินค้าที่ FAMA พัฒนาขึ้นเอง หรือคัดเลือกจากสินค้าที่มีศักยภาพของผู้ประกอบการ SMI
(8 ) SYSTEMS DEVELOPMENT AND MARKET CONTROL AND E-PERMIT เป็นมาตรฐานที่ออกโดย FAMA เพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐานและสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับให้กับสินค้าเกษตรของมาเลเซียโดยครอบคลุมตั้งแต่การจัดเกรด การบรรจุภัณฑ์ การติดฉลาก และเป็นผู้ออกใบอนุญาต (permit) ให้แก่สินค้าเกษตรที่นำเข้ามายังมาเลเซีย
(9) TRADING DEVELOPMENT โดย FAMA มีการรับซื้อและจ าหน่ายสินค้าเกษตร มีการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด รวมทั้งมีการจัดตั้งสวอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร (Permanent Food ProductionPark : TKPM เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยมีการตั้งเป้าหมายยอดการค้ารวม 1,002 ล้านริงกิต แบ่งเป็นการจำหน่ายผลไม้สดและแปรรูปโดยตรง 100 ล้านริงกิต การส่งออก 20 ล้านริงกิต การขายทางอ้อม 902 ล้านริงกิต (ผ่านตลาดเกษตรกร 350 ล้านริงกิต ร้านค้าผลไม้ย่อยๆ 350 ล้าน ริงกิต และการแปรรูป 302 ล้านริงกิต) โดยมีสำนักงานสาขาที่ท าหน้าที่บริหารจัดการในภูมิภาค 5 สาขา และมีศูนย์ปฏิบัติการรับซื้อ-จำหน่ายอีก 35 ศูนย์
(10) HUMAN CAPITAL เป็นโครงการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรของ FAMA และผู้ประกอบการ
นี่คือแนวทางการทำตลาดอย่างจริงจังของประเทศมาเลเซียที่วางแผนตั้งแต่ต้นนำ - กลางน้ำ - ปลายน้ำ เพื่อทำให้ระบบของทุเรียนมาเลเซียสามารถแข่งขันในตลาดทุเรียนโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นำมาเล่าให้ฟังเพื่อให้ชาวสวนทุเรียนไทยได้ รู้เขารู้เรา ครับ
เขียนโดย เด็กท้ายสวน
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โฆษณา