Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ
•
ติดตาม
24 พ.ย. 2021 เวลา 01:50 • ไลฟ์สไตล์
ความสุขจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? ถ้ามีนิสัยแบบเดิม!
.
“เดี๋ยวค่อยทำ”
“เดี๋ยวก่อนค่อยคิด”
เดี๋ยววววก่อน จนลืมสิ่งสำคัญ
หรือเป้าหมาย ที่อยากทำให้สำเร็จจริงๆ
.
เพราะ การผัดวันประกันพรุ่ง ทำให้เราไขว้เขว
และอาจเลือก มองหาความสุขที่จับต้องเพียงชั่วคราว
ก่อนเลือกลงมือทำสิ่งสำคัญ ที่อยากทำให้สำเร็จจริงๆ
มันจึงทำให้เกิดคำนี้ขึ้นมา
“การผัดวันประกันพรุ่ง”
และ การทำสิ่งนี้ ไม่เคยทำให้ใคร ประสบความสำเร็จได้ดี
จริงๆแล้ว การผัดวันประกันพรุ่ง มันแตกต่างจากคำว่า ขี้เกียจ
เพราะ ถ้าเราขี้เกียจ เราก็แค่อยู่เฉยๆ นิ่งๆ
แต่การผัดวันประกันพรุ่ง
ทำให้เรา เลือกทำอย่างอื่นก่อน สิ่งที่สำคัญหรือเร่งด่วนที่สุด
.
ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมศาสตร์ เพียร์ส สตีล (Piers Steel) กล่าวว่า...
“95% ของคนผัดวันประกันพรุ่งถึงระดับหนึ่ง
มันจะทำให้เรา ไร้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
.
บางครั้ง บางคนหลีกเลี่ยงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อาจเป็นเพราะ “กลัว”
“กลัวว่าจะทำไม่ได้อย่างที่ตัวเองคิดไว้”
“กลัวว่าทำแล้วจะไม่สำเร็จ”
“กลัวว่าทำแล้ว อาจทำให้สูญเสียอะไรบางอย่างที่เคยมี”
เช่น เวลาที่จะได้อยู่กับลูก เป็นต้น
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ครู สู้กับอาการผัดวันประกันพรุ่งได้ คือ..
.
1. จำให้ได้ว่า ถ้าเราทำมันสำเร็จแล้ว เราจะได้อะไร
และ ถ้าเราทำมันไม่สำเร็จ เราจะสูญเสียอะไรในชีวิตของเราบ้าง
.
2. ให้ทำสิ่งที่ไม่อยากทำ แต่จำเป็นต้องทำก่อนเสมอ
สิ่งที่สำคัญ อาจไม่ใช่สิ่งที่เราอยากทำ
ฉะนั้น ให้ทำสิ่งที่สำคัญลงไปในตารางชีวิตก่อน
.
3. จงทำให้เป็นกิจวัตร เหมือนกับแปรงฟัน
ที่ต่อให้เราขี้เกียจแค่ไหน ยังไงก็ต้องทำอยู่ดี
และความรู้สึกไม่อยากทำนี้ มันเกิดขึ้นตั้งอยู่ เดี๋ยวมันก็ดับไป
ระลึกไว้เสมอว่า...
ขี้เกียจก็ทำ ไม่ขี้เกียจก็ทำ
อยากก็ทำ ไม่อยากก็ทำ
1
มีผลวิจัยว่า การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งติดต่อกัน 21 วันเป็นกิจวัตร
จะทำให้ กลายเป็นนิสัยของเรา โดยที่เราไม่ต้องพยายาม
จึงทำให้วันนี้ ครูสามารถทำได้ทุกวัน โดยที่ครูไม่ต้องฝืนเพื่อตัวครูเอง
.
และสุดท้าย ความตั้งใจจริงของเรา
จะนำพาสิ่งที่เรียกว่า ความสำเร็จ และภาพแห่งความสุข
มาให้กับเราได้อย่างแน่นอนค่ะ
.
ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ
4 บันทึก
3
1
4
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย