24 พ.ย. 2021 เวลา 10:14 • การเกษตร
ชื่อส่วนต่างๆ ของบอนสี และวิธีขยายพันธุ์
2
สวัสดีครับผม "อ้ายวินวัง" จาก "ฟาร์มไส้เดือน อ้ายวินวัง" นะครับ ในบทความนี้ผมก็ได้นำความรู้ที่น่าสนใจมามอบให้กับเพื่อนๆผู้รักในการปลูกต้นไม้เช่นเคบนะครับ
โดยในบทความนี้นั้น ผมขอเน้นไปในไม้ประเภท "บอนสี" โดยเฉพาะเลยครับ โดยไม้บอนสีนั้น ในทุกวันนี้นับได้ว่าเป็นไม้ที่มีความนิยมเป้นอย่างมาก มีสนใจอยากปลูกน้องกันอย่างแพร่หลาย โดยในบทความก่อนหน้าผมได้เสนอในเรื่องของ การปลูกบอนสี และโรคในบอนสีไปแล้ว ดังนั้นในบทความนี้ผมจึงขอเจาะลึกลงไปอีก โดยจะเป็นการนำเสนอ
ส่วนต่างๆของบอนสี และวิธีการขยายพันธ์ เพื่อให้เพื่อนๆสามารถนำไปศึกษาต่อและประเมินราคาของน้องบอนสีได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการขยายพันธ์ในอนาคตด้วยโดยจะมีเนื้อหาและรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น สามารถติดตามได้เลยครับผม
1.ชื่อเรียกส่วนต่างๆ ของต้นบอนสี
- หัวบอนสี
หัวบอนสี มีลักษณะคล้ายหัวมันฝรั่ง บริเวณหัวประกอบไปด้วยรากฝอยขนาดเล็กและเขี้ยว เมื่อเอาไปเพาะจะสามารถงอกออกเป็นบอนสีต้นใหม่ได้
- กาบบอนสี
กาบบอนสีอยู่ติดกับหัวบอน เป็นตัวเชื่อมระหว่างหัวบอนและก้านใบ มีลักษณะเป็นกาบคล้ายใบผักกาด
- ก้านใบบอนสี
ก้านใบคือส่วนที่ต่อขึ้นไปจากกาบบอน เชื่อมระหว่างกาบบอนและใบบอน
- แข้งบอนสี
แข้งบอนยื่นออกมาจากก้านใบ อยู่ต่ำกว่าใบบอน มีลักษณะเป็นใบไม้เล็กๆ ส่วนใหญ่พบในบอนสีใบกาบ
- คอใบ
คอใบเป็นส่วนปลายของก้านใบจรดอยู่กับสะดือ
- สะดือ
สะดือเป็นส่วนปลายสุดของก้านใบจรดอยู่กับกระดูก
- กระดูก
กระดูกคือเส้นกลางใบ ลากยาวจากสะดือไปจนถึงปลายใบบอนสี
- เส้นใบ
เส้นใบต่อออกมาจากกระดูก
- ใบบอนสี
ใบบอนสีมีลักษณะรูปร่างและสีแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ หลักๆ แล้ว แบ่งใบบอนสีออกได้เป็น 4 แบบ คือ บอนสีใบไทย, บอนสีใบกลม, บอนสีใบกาบ และบอนสีใบยาว
- เม็ด
เม็ด คือ จุดสีที่แต้มอยู่บนใบบอนสี มีขนาดและสีแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ แบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบ เช่น
เม็ดลอย จุดสีที่มีสีแตกต่างจากใบบอนชัดเจน
เม็ดจม จุดสีที่มีสีกลมกลืนไปกับใบบอน
นอกจากนั้น ยังมีเม็ดใหญ่กับเม็ดเล็กที่เรียกตามขนาดของเม็ด และเม็ดถี่กับเม็ดห่างที่เรียกตามจำนวนการกระจายตัวของเม็ดบนใบบอน
- วิ่งพร่า
วิ่งพร่า มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ ขนานไปในแนวเดียวกันกับกระดูกและเส้นใบ อาจมีสีเดียวกันหรือต่างกันกับกระดูกและเส้นใบ
- หนุนทราย
หนุนทราย เป็นจุดสีเล็กจิ๋วคลายเม็ดทราย กระจายตัวอยู่บนพื้นใบ มองเห็นไม่ชัด
- ป้าย
ป้าย คือส่วนของสีบนใบบอนที่แตกต่างไปจากสีของพื้นใบอย่างชัดเจน เช่น บอนสีที่มีพื้นใบสีเขียว และมีป้ายสีชมพู/แดง
- หูใบ
หูใบอยู่ที่ด้านล่างสุดของใบ มีลักษณะเป็นติ่งใบเล็กๆ แยกออกมาจากใบใหญ่ พบในบอนสีบางสายพันธุ์เท่านั้น
- สะโพก
สะโพกอยู่เหนือหูใบ เป็นส่วนที่กว้างที่สุดของใบบอนสี
2.การขยายพันธ์ุบอนสี
สำหรับใครอยากลองขยายพันธุ์เองที่บ้านหรือมีความคิดอยากเพาะบอนสีขายหารายได้เสริม การขยายพันธุ์บอนสีนั้นทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมใช้กันมี 3 วิธี คือ
- ขยายพันธุ์บอนสีด้วยวิธี ‘แยกหน่อ’
การแยกหน่อบอนสีเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ง่ายที่สุดและไม่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อบอนสีเริ่มโตได้ประมาณ 4 เดือน หน่อใหม่ที่แทงแยกออกมาโคนต้นแม่พันธุ์ สามารถตัดแล้วเอาไปเพาะใหม่ได้เลย หากหน่อมีรากแทงออกมาด้วย ก็จะยิ่งเพาะง่ายและโตเร็วขึ้นครับผม
- ขยายพันธุ์บอนสีด้วยวิธี ‘ผ่าหัว’
การผ่าหัวบอนสี จะใช้หัวบอนที่อายุประมาณ 6 เดือน – 1 ปี นำหัวบอนมาล้างให้สะอาด ถูเบาๆ ด้วยแปรงสีฟัน ระวังอย่าให้หัวบอนถลอกหรือเขี้ยวหัก จากนั้นตัดรากออกให้หมด วางผึ่งลมเอาไว้ให้แห้ง แล้วใช้มีดผ่าแบ่งให้มีขนาดประมาณ 0.5×0.5 เซนติเมตร หัวบอนที่ผ่าแล้วเอาไปล้างน้ำยางออก (ระวังอย่าให้มือสัมผัสกับยางบอนโดยตรง เพราะอาจเกิดการระคายเคืองได้) ผึ่งหัวบอนที่ตัดแล้วให้แห้ง จากนั้นนำไปชำเอาไว้ในกระบะหรือภาชนะบรรจุขุยมะพร้าว, ทราย หรือขี้เถ้าแกลบ กดชิ้นบอนให้จม รดน้ำผสมน้ำยาป้องกันเชื้อราให้ชุ่ม ใช้ถุงพลาสติกคลุมภาชนะเอาไว้ในสนิทเพื่อควบคุมความชื้น ราวๆ 3-4 สัปดาห์ บอนสีจะเริ่มแตกใบอ่อน รอจนต้นบอนสีเริ่มแข็งแรงขึ้นก็นำไปปลูกลงดินในกระถางได้เลยครับ
- ขยายพันธุ์บอนสีด้วยวิธี ‘ผสมเกสร’
วิธีขยายพันธุ์ด้วยการผสมเกสร จะทำให้บอนสีกลายพันธุ์แตกต่างออกไปจากต้นพ่อแม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ท้าทายและพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ชอบใช้ เพื่อให้ได้บอนสีต้นใหม่ที่มีสีสันแตกต่างออกไปจากเดิม
การผสมเกสรต้องทำในช่วงกลางคืน จะเป็นตอนที่ดอกบอนสีบานเต็มที่ การผสมทำได้โดย เลือกบอนสีต้นพ่อและต้นแม่มาอย่างละ 1 ต้น ตัดกลีบดอกออกทั้งหมด ใช้พู่กันเขี่ยเกสรตัวผู้จากต้นพ่อมาเก็บไว้ในภาชนะ จากนั้นนำมีดกรีดที่กระเปาะด้านล่างของดอกบอนสีต้นแม่ จะมีเกสรตัวเมียอยู่ด้านใน เอาพู่กันเขี่ยเกสรตัวผู้ออกมาแล้วนำไปแต้มรอบๆ บริเวณเกสรตัวเมีย การผสมเกสรจะใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ก็จะได้เมล็ดจากการผสมเกสร เอาเมล็ดไปเพาะในกระถางแล้วรอดูต้นบอนสีพันธุ์ใหม่ได้เลยครับ
การรู้ชื่อเรียกส่วนประกอบของต้นบอนสี จะช่วยให้นักปลูกบอนสีทุกคนเข้าใจตรงกัน เวลาพูดคุยกับคนอื่นๆ จะได้เข้าใจความหมายได้อย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน ส่วนใครอยากลองขยายพันธุ์หรือผสมพันธุ์บอนสีใหม่ๆ ก็สามารถทำตามวิธีการขยายพันธุ์ที่เราแนะนำไปได้เลยครับ
และทั้งหมดนี้ก็คือ ชื่อส่วนต่างๆ ของบอนสี และวิธีขยายพันธุ์ ครับผม หวังว่าจะะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆได้ไม่น้อยนะครับ
และนอกจากเราทราบชื่อส่วนต่างๆ ของบอนสี และวิธีขยายพันธุ์ต้นบอนสีแล้วเราก็อย่าลืมดูแลเคลของเราด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอนะครับโดย "ปุ๋ย" ที่เราให้ก็เป็นส่วนสำคัญครับ เพราะเป็นอาหารหนึ่งเดียวที่ต้นไม้เราจะได้เลย หากมีไม่มากพอหรือปนเปื้อนก็อาจทำให้น้องต้นไม้ขาดสารอาหารอ่อนแอ รวมถึงเป็นโรคได้
ส่วนตัวผมเองนั้นขอแนะนำ "ปุ๋ยมูลไส้เดือน สูตรบอนสี" ครับ เพราะเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนที่พัฒนาสูตรมาโดยเฉพาะ กับไม้ใบสวยงามที่มีสีสันหลากหลาย เช่น บอนสี หรือพืชในตระกูล Caladium เลย โดยนอกจากจะมีสารอาหารมากกว่าปุ๋ยทั่วไปและมีไนโตรเจนช่วยบำรุงใบสูงแล้ว ยังมีฮอร์โมนช่วยในการเจริญเติบโตของพืช มีโมเลกุลเล็กดูดซึมได้ง่าย และที่สำคัญ ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่ชุมชนด้วยนะครับ หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับผม
ขอขอบคุณแหล่งที่มาอ้างอิงและรูปภาพจาก @ https://www.officemate.co.th/blog/caladium-2/
..
>>> หากเพื่อนๆเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ก็สามารถแชร์ให้ผู้สนใจได้เลยนะครับ ผมยินดีมากๆ เพื่อนๆสามารถฝากคำถามเพิ่มเติมได้เมนท์นี่ได้นะครับ
ยินดีตอบทุกคำถามด้วยความรู้ทั้งหมดที่ผมมีนะ หรือหากอยากแลกเปลี่ยนกันก็ยินดีเช่นกันนะครับผม
..
>>>หากชอบบทความให้ความรู้ทางการเกษตรและการปลูกต้นไม้ในสไตล์เพื่อนคุยกันแบบนี้หรือยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรืออยากติดตามชีวิตคนทำฟาร์มไส้เดือนในเมือง
สามารถติดตามได้ต่อในเพจเฟสบุ๊ค @ ฟาร์มไส้เดือน อ้ายวินวัง
นะครับ
..
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณทุกท่านมากๆครับที่อ่านมาจนจบและขอให้มีความสุขกับการปลูกต้นไม้จ้า! <3
สามารถติดตาม "อ้ายวินวัง" ในช่องทางอื่นๆได้ดังนี้
- รวมบทความรู้เรื่องการเกษตรและปลูกต้นไม้แบบเข้าใจง่ายๆ!
- รวมคลิปความรู้เรื่องการเกษตรและปลูกต้นไม้แบบเข้าใจง่ายๆ!
..
#บอนสี #ปลูกบอนสี #เลี้ยงบอนสี #ส่วนของบอนสี #ขยายพันธ์บอนสี
#ปุ๋ยบอนสี #มูลไส้เดือน #ปุ๋ยมูลไส้เดือน #ไส้เดือนAF #ฟาร์มไส้เดือนกรุงเทพ #ฟาร์มไส้เดือนบางแค #ฟาร์มไส้เดือนอ้ายวินวัง #คนรักต้นไม้ #ปุ๋ยอินทรีย์
#ปุ๋ยบำรุงต้นไม้ #ฟื้นฟูต้นไม้ #บำรุงพืช #ไส้เดือนตกปลา #ไส้เดือนอาหารปลา #ความรู้การเกษตร #วิถีธรรมชาติ
โฆษณา