“ธรรมชาติตายตัว 4 ประการ”
ข้อสังเกต : ธรรมชาติทั้งหลาย 4 อย่างเหล่านี้
อันเป็น ตถา คือธรรมชาติ ที่มีความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถา คือธรรมชาติ ที่มีความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
เป็น อนัญญถา คือธรรมชาติ ที่มีความไม่เป็นไปโดยประการอื่น มีอยู่
ธรรมชาติทั้งหลาย 4 อย่างเหล่านั้น เป็นอย่างไร ?
4 อย่างเหล่านั้น คือธรรมชาติอันมีอยู่อย่างตายตัว
ว่าความทุกข์ ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้
ว่าเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้
ว่าความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้
ว่าข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้
นั้นแหละ ได้แก่ ธรรมชาติอันเป็น ตถา คือธรรมชาติที่มีความเป็นอย่างนั้น
หรือว่าได้แก่ธรรมชาติอันเป็น อวิตถา คือธรรมชาติที่มีความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
หรือว่าได้แก่ธรรมชาติอันเป็น อนัญญถา คือธรรมชาติที่มีความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
:
ทั้งหมดนี้ คือธรรมชาติทั้งหลาย 4 อย่าง
อันเป็น ตถา คือธรรมชาติที่มีความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถา คือธรรมชาติที่มีความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อันเป็น อนัญญถา คือธรรมชาติที่มีความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
โยคะปฏิบัติ อันเราท่านทั้งหลายพึงกระทำเพื่อความรู้แจ้ง
ว่าความทุกข์ ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้
โยคะปฏิบัติ อันเราท่านทั้งหลายพึงกระทำเพื่อความรู้แจ้ง
ว่าเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้
โยคะปฏิบัติ อันเราท่านทั้งหลายพึงกระทำเพื่อความรู้แจ้ง
ว่าความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้
โยคะปฏิบัติ อันเราท่านทั้งหลายพึงกระทำเพื่อความรู้แจ้ง
ว่าข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้
.
อ้างอิง :
โยคฐานาริยสัจจธัมมปาฐะ