25 พ.ย. 2021 เวลา 19:26 • ประวัติศาสตร์
นักบุญออกัสติน (Saint Augustine) จุดเริ่มต้นของทฤษฎีสองดาบและรากฐานปรัชญาในยุโรปยุคกลาง
ภาพนักบุญออกัสติน ที่มา: https://images.app.goo.gl/QVv7NzrWRoELX2UF9
ถ้าจะพูดถึงยุคกลางเราจะนึกถึงอะไรกันบ้าง อัศวิน ยุคมืด สงคราม ศาสนจักร ยุคมืดบอดทางปัญญาและการศูษย์สลายของปรัชญาจากยุคกรีก-โรมัน แต่จริงๆแล้วรากฐานของปรัชญากรีกและโรมันยังคงนำมาใช้แต่ถูกปรับและจับโดยศาสนาคริสต์
ยุคกลางหรือมัธยมสมัยเป็นยุคที่นักวิชาการตั้งขึ้นเพื่อขั้นระหว่ายุคคลาสสิกและยุคใหม่ในประวัติศาสตร์ยุโรป โดยนับจากจุดเริ่มต้นหลังจากที่กรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 476 โดยยุคนี้จะกินเวลาราว1000ปี โดยสามารถแบ่งได้อีก 3 ยุคย่อยคือ
1. ยุคกลางตอนต้น (Early Middle Ages) ศตวรรษที่ 6 - 11
2. ยุคกลางตอนกลางหรือยุคทองของยุคกลาง (High Middle Ages) ศตวรรษที่ 11 - ประมาณปี ค.ศ. 1250
3. ยุคกลางตอนปลาย (Late Middle Ages) ประมาณปี ค.ศ. 1250 – 1500
ภาพกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 476 ที่มา:https://images.app.goo.gl/DC11ySVp5Rt4iTHP7
แต่แนวคิดที่ทรงอิทธิพลของยุคกลางนั้นไม่ได้เกิดจากคนในยุคกลางเองแต่เกิดจากคนในยุคโบราณตอนปลายที่มีอิทธิพลในช่วงยุคกลางตอนต้นและจะเป็นรากฐานของแนวคิดทั้ง รัฐ ปรัชญา เทววิทยา หรือกฎหมายก็ตามในยุคกลางและยังมีเศษเสี้ยวมาถึงปัจจุบัน ใช่ครับเรากำลังจะพูดถึง นักบุญออกัสติน (Saint Augustine)
ประวัติ
นักบุญออกัสติน (Saint Augustine) มีชื่อเดิมคือ เอาแรลิอุส เอากุสตินุส (Aurelius Augustinus) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 354 ที่เมือง ทากาสท์ (Thagast) ในนูมิเบีย (Numidia) อาณาจักรโรมันตะวันตกปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศแอลจิเรีย พ่อของเขาเป็นข้าราชการที่นับถือศาสนาท้องถิ่นส่วนแม่เป็นคริสเตียนผู้เครงคัด สิ่งที่เกิดขึ้นในครอบครัวของนักบุญออกัสตินในยุคนั้นถือเป็นเรื่องปกติเพราะย้อนกลับไป 41ปีก่อนที่นักบุญออกัสตินจะเกิด จักพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (Constantine I ) ได้ประกาศการห้ามติดตามจับกุมชาวคริสต์ นักบุญออกัสตินได้รับการศึกษาวิชาวาทศิลป์จากคาร์เทจซึ่งที่นั้นทำให้เขาได้รู้จักซิเซโร่
ภาพแสดงอาณาเขตนูมิเบีย (Numidia) และจะเห็เมือง Hippo ที่นักบุญออกัสตินมาดำรงตำแหน่งบิชอป ที่มา:https://images.app.goo.gl/3TnosHtFJKSJyrdg9
ในช่วงวัยหนุ่มนี้เองที่นักบุญออกัสตินได้ลองนับถือศาสนามนีกี (Manichaeism) ซึ่งเป็นศาสนามาจากเปอร์เซียหรืออิหร่านในปัจจุบันทำให้แนวคิดที่ว่าพระเจ้านั้นทรงมีอาณุภาพสูงสุดไม่ได้อยู่ในหัวเขาเนื่องจากศาสนามนีกีเชื่อว่าแสงสว่างและความมืดคือการต่อสู้ที่ไม่สิ้นสุด และเขาก็ได้มีลูกอย่างลับๆอีก 1คน ต่อมาเมื่อเขาอายุได้ราว 30ปี ก็ได้เดินทางไปสอนหนังสือที่โรมและมิลาน และในมิลานที่ทำให้เขาได้รู้จักกับ ศาสนาคริสต์และปรัชญาเพลโตใหม่ (Neoplatonism) และทำให้ความคิดที่ว่าแสงสว่างและความมืดคือการต่อสู้ที่ไม่สิ้นสุดหยุดลง ช่วงปี ค.ศ. 386 – 387 นักบุญออกัสตินได้เข้าพิธีล้างบาปและเข้าบวชในอีกเกือบ 5ปีต่อมา ต่อมาในปี ค.ศ. 395 นักบุญออกัสตินได้รับการแต่งตั้งเป็นบิชอปหรือมุขนายกแห่งฮิปโป เรกิรุส นักบุญออกัสตินถึงแก่กรรมในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 430
1
นักบุญออกัสตินได้เขียนหนังสือเกือบกว่าร้อยเล่มและถือเป็นต้นต่อในปรัชญาสมัยใหม่โดยเล่มที่สำคัญๆ คือ De Civitate Dei หรือ The City of God เป็นงานด้านศาสนาแต่มีคุณค่าด้านปรัชญาการเมืองอย่างมากซึ่งจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของระเบียบการเมืองและศีลธรรม โดยนักบุญออกัสตินใช้เวลากว่า 15ปีในการเขียน Confessiones (คำสารภาพ) โดยเล่มนี้เขาเขียนหลังจากได้รับพิธีศีลล้างบาปแล้ว และ De Trinitate (ว่าด้วยพระตรีเอกานุภาพ) โดยงานเขียนของนักบุญออกัสตินจะใช้แนวคิดของเพลโตเป็นสำคัญและนำเอาความเป็นคริสเตียนไปจับ
โดยในวันนี้เราจะเน้นไปที่ประเด็นของ ปรัชญาเบื่องต้นของนักบุญออกัสติน ปรัชญาการเมือง และนิติปรัชญา
ภาพ De Civitate Dei หรือ The City of God,manuscript c. 1470 ที่มา:https://commons.wikimedia.org/wiki/File:City_of_God_Manuscript.jpg#/media/File:City_of_God_Manuscript.jpg
ปรัชญาเบื่องต้นของนักบุญออกัสติน
นักบุญออกัสตินในความสำคัญเกี่ยวกับ “ความจริงอันสูงสุดและมนุษย์จะเข้าถึงความจริงได้อย่างไร” ในสมัยก่อนที่เขาจะเป็นคริสเตียนนักบุญออกัสตินใช้แนวทางของกังขาคติ เป็นหลักการในการคิดประกอบกับการที่มีความเชื่อของมนีกีคือการต่อสู้อย่างไม่สิ้นสุดระหว่างธรรมะและอธรรม กล่าวคือพระเจ้าไม่ได้โหดสุดในโลกและพระเจ้าก็ได้ต้องรับผิดชอบต่อความผิดบาปที่เกิดจากความชั่วร้ายได้ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุร้ายต่างๆชาวมนีกีจึงบอกได้ว่าคนผู้นั้นมิอาจต่อต้านความมืดได้จึงเข้าร่วม และการเป็นกังขาคติทำให้เขาเห็นว่าเราอาจสงสัยในการดำรงอยู่ได้ แต่เราจะไม่สงสัยในความสงสัยของเรา
ภาพ St. Ambrose of Milan ผู้ที่สอนการตีความพระคัมภีร์โดยใช้แนวคิดเพลโตให้แก่นักบุญออกัสติน ที่มา: https://orthochristian.com/66857.html
เมื่อหลังจากที่นักบุญออกัสตินได้รับเอาศาสนาคริสต์มาแล้วทำให้เขาเปลี่ยนวิธีคิดทางปรัชญาโดยเขาเชื่อว่าความเชื่อจะนำไปสู่ความรู้ และพระเจ้าคือแหล่งของความจริงและพระองค์ทรงมีอำนาจสูงสุด ทำให้เขาคิดว่าพระเจ้าเป็นสิ่งที่สมบูรณ์เป็นความนึกคิดพื้นฐานของมนุษย์ เป็นรากฐานของความจริงและคุณค่าทั้งปวง ทำให้พระเจ้ากลายเป็นความจริงในทางปรัชญา
แต่ก็เพราะความทรงอำนาจของเพราะเจ้าทำให้นักบุญออกัสตินคิดต่อไปว่าทำไมพระเจ้าจึงปล่อยให้มีความชั่วร้ายในโลก คำตอบของนักบุญออกัสตินคือการดำรงอยู่ของเจตจำนงเสรี (free will) คือเลือกที่จะทำตามบัญญัติของพระองค์หรือการที่จะทำชั่ว แต่ถ้ามนุษย์ทำบาปมากขึ้นๆเสรีภาพของมนุษย์จพถูกจำกัดลงและคงมีพระกรุณาของพระองค์เท่านั้นที่จะช่วยได้ และนักบุญออกัสตินเห็นว่าโลกแห่งวัตถุที่เราเห็นนั้นไม่ได้มีลักษณะแห่งพระองค์แต่เป็นสิ่งที่ทรงสร้างขึ้นมา ดังนั้นก่อนที่จะเกิดการสร้างโลกขึ้นมาพระองค์จึงอยู่เหนือกาลเวลาและสถานที่
ภาพ The Fall of Man โดย Peter Paul Rubens แสดงถึงอดัม และ เอวา ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Peter_Paul_Rubens_004.jpg#/media/File:Peter_Paul_Rubens_004.jpg
ปรัชญาการเมื่องของนักบุญออกัสติน
ปรัชญาการเมืองของนักบุญออกัสตินนั้น นำแนวคิดของนักปราชญ์สมัยโบราณมาใช่แบ่งขั้นตอนของสังคม ออกเป็น ระดับบ้าน (domus) เมือง (civitas) โลก (orbis terrae) แล้วจึงถึงจักรวาล (mundus) ซึ่งรวมตลอดถึงสวรรค์ ในตอนที่นักบุญออกัสตินอายุได้ 34ปี เขาได้เรียนรู้การตีความพระคัมภีร์ไบเบิลโดยมุมมองของเพลโตโดยนักบุญอัมโบรสซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นบิชอปหรือมุขนายกแห่งมิลาน ณ ขณะนั้น และได้รับแรงบัลดาลใจในส่วนส่วนเขียนพันธสัญญาใหม่ของนักบุญเปาโลด้วย
1
ภาพ Saint Paul Ananias Sight Restored ที่มา:https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Saint_Paul_Ananias_Sight_Restored.jpg#/media/ไฟล์:Saint_Paul_Ananias_Sight_Restored.jpg
แต่ในอิทธิพลทางความคิดแล้วนักบุญออกัสตินนำเอาความคิดของเพลโตมาใช้จนกล่าวได้ว่าเทววิทยาในสมัยยุคกลางไปจนถึงยุคการปฏิรูปศาสนาจึงมีอิทธิพลของแนวความคิดของเพลโตอยู่ นักบุญออกัสตินนำ “อุตมรัฐ” ของเพลโตมาจับโดยความยุติธรรมของรัฐเป็นความยุติธรรมในเชิงคริสตธรรม ความยุติธรรมจึงเป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับพระเจ้า นักบุญออกัสตินมองว่าโลกนี้แบ่งออกเป็น 2นคร คือนครแห่งพระเจ้าและนครแห่งโลก
โดยนครของพระเจ้าเป็นนครที่พระเจ้าได้เลือกมาไว้แล้วเป็นเมื่องแห่งความยุติธรรมและความสัมพันที่ถูกต้องและมีความสุขอันเป็นนิรันดร์ซึ่งคนในศาสนจักรหรือโบสถ์ก็มิได้เป็นคนในสังกัดหรือนครแห่งพระเจ้าเพราะยังมีบางคนที่ไม่มีความยุติธรรมในทางตรงกันข้ามคนที่อยู่ในรัฐอาณาจักรก็อาจจะสังกัดในรัฐของพระเจ้าก็ได้ และนครแห่งโลกเป็นของซาตานเป็นทีอยู่ของคนชั่วและจะรอเพียงจุดจบเท่านั้น ทั้งสองนครไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนจะซ้อนทับกันอยู่บนในโลกอยู่กันอย่างปะปนกัน
นักบุญออกัสตินกล่าวว่าความรักสองชนิดสร้างนครสองชนิด "รักตัว ไม่ไยดีต่อพระ เกิดเมืองในทางโลกรักพระ ไม่ไยดีต่อตัว เกิดเมืองในสรรค์" และให้อรรถาธิบายต่อไปว่า"พื้นฐานที่ผูกพันเมืองที่แท้ไว้ คือ ศรัทธาและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมั่นคง จนความรักเป็นความดีอย่างสากล เมื่อความรักอย่างนี้ขึ้นสู่สภาวะอันสูงสุดและแท้จริงที่สุดแล้ว ก็คือเข้าสู่สภาวะของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง แล้วมนุษย์ก็จะรักกันละกันอย่างซื่อสัตย์สุจริต เพราะเป็นความรักในพระเจ้า พื้นฐานในการรักกันและกันมาจากความรักพระเจ้า"
1
ภาพ เทวนครหรือนครแห่งพระเจ้า (Civitas Dei) เพดานโมเสดในอาสนวิหารอาเคิน ที่มา:https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Civitas_Dei.jpg#/media/File:Civitas_Dei.jpg
ในความคิดเบื่องต้นนี้จึงส่งผลต่อความคิดของเหล่าสันตะปาปาว่าถึงแม้ศาสนจักรไม่ใช่นครแห่งพระเจ้าแต่ก็ใกล้เคียงเนื่องจากล้างบาปได้ทำให้เหล่าผู้คนได้เข้าใกล้ความยุติธรรม ในเมื่อนักบุญออกัสตินมองว่าอาณาจักรนั้นก่อกำเนิดมาหลังบาปกำเนิดแล้วผู้ที่สังกัดในพระเจ้ารวมไปถึงศาสนจักรต้องเคารพกฎหมายบ้านเมืองหรือไม่นั้น ถ้าเป็นศาสนจักรนักบุญออกัสตินมองว่าศาสนจักรอยู่เหนือกว่าอาณาจักรเนื่องจากศาสนจักรเป็นสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่อยู่ของนักบุญเพื่อใช้ศรัทษาเป็นทางไปสู่โลกของพระเจ้าจึงย่อมยอมที่จะเสียภาษีเพื่อที่จะได้รับการคุ้มครองจากอาณาจักร แต่ถ้าจะกล่าวต่อถึงไปในผู้ที่สังกัด
ในนครแห่งพระเจ้านั้นนักบุญออกัสตินก็มองว่าก็ควรทำตามกฎแห่งรัฐเพื่อแรกกับการคุ้มครองแต่กฎแห่งรัฐนั้นต้องธำรงอยู่บนคุณธรรมแห่งศาสนา เนื่องจากอย่างที่หลายคนทราบว่าในความเชื่อของคริสต์ศาสนาเชื่อว่ามนุษย์มีบาปกำเนิด ดังนั้นรัฐที่เกิดจึงยังไม่สมบูรณ์ที่จะเป็นดั่งนครของพระเจ้าบนพื้นโลก ดังนั้นรัฐต้องให้ความปลอดภัยและความสงบสสุขแก่ผู้ที่เชื่อในพระเจ้า
หนึ่งในจุดหักเหของนักบุญออกัสตินที่ทำให้มีผลต่อประวัติศาสตร์ยุโรปคือเรื่องการที่เขาตีความเรื่อง “การเลี้ยงใหญ่ (The Parable of the Great Banquet)” คือ เป็นการเล่ของพระเยซูที่ว่ามีชายคนหนึ่งจัดงานเลี้ยงใหญ่และเชิญคนมามากมายแต่กลับไม่มีใครมาจึงให้คนใช้ไปเชิญคนจร คนเจ็บมาแทน พระเยซูอุปมาชายเจ้าของงานเป็นพระเจ้า งานเลี้ยงใหญ่คืออาณาจักรของพระองค์ คนใช้คือเหล่าเทวทูต กล่าวคือพระเจ้าจัดเตรียมสิ่งดีๆไว้และไม่ล้มเลิกงานเลี้ยงแต่เชิญผู้ที่ไม่ได้คาดคิดมาแทน สิ่งที่นักบุญออกัสตินนำมาตีความคือในส่วนที่เจ้าของงานให้คนรับใช้ไปเชิญ ซึ่งในคัมภีร์ไบเบิลลาตินใช้ความหมายในเชิงบังคับทำให้นักบุญออกัสตินตีความไปในเชิงที่ว่าบังคับต่อพวกนอกรีดให้เช้ามาอยู่ในอาณาจักรแห่งพระองค์ มุมมองและการตีความนี้ของนักบุญออกัสตินส่งผลต่อการเผยแพร่คำสอนทำให้เกิดโศกนาฏกรรมมากมาย
ภาพ Parable of the Great Banquet โดย Brunswick Monogrammist ที่มา:https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Brunswick_Monogrammist_Great_Banquet.jpg#/media/File:Brunswick_Monogrammist_Great_Banquet.jpg
นิติปรัชญาของนักบุญออกัสติน
อย่างที่เคยกล่าวไปในช่วงประวัติของนักบุญออกัสตินนั้นการที่เขาได้ไปเรียนที่คาร์เทจทำให้เขารู้จักกับซิเซโรและเขาได้รับแนวคิดด้านกฎหมายของซิเซโรมาอธิบายใหม่โดยให้เข้ากับความเป็นคริสต์จึงแยกออกเป็น 3ประเภทคือ 1.กฎหมายนิรันดร 2.กฎหมายธรรมชาติ 3.กฎหมายเฉพาะกาล
ภาพ แกะสลักหินอ่อนซิเซโร่หรือกิเกโร่ ที่มา:https://commons.wikimedia.org/wiki/File:M-T-Cicero.jpg#/media/ไฟล์:M-T-Cicero.jpg
1.กฎหมายนิรันดร ในความคิดของเขาเป็นกฎที่สืบต่อมาจากความคิดและเจตจำนงของพระเจ้า เพราะความคิดและเจตจำนงของพระองค์คือกฎระเบียบแห่งการสร้าง ตามความเชื่อในศาสนาคริสต์
2.กฎหมายธรรมชาติ คือรอยพิมพ์ของกฎหมายนรันดรอยู่ในใจและเหตุผลของคน ดังนั้นกฎหมายธรรมชาติจึงเป็นข้อเรียกร้องจากในจิตใจ การที่เป็นเพียงรอยพิมพ์อาจทำให้ไม่ชัดเจนเหมือนแม่พิมพ์หรือกฎหมายนิรันดร ถึงแม้เมื่อนนานเข้ารอยพิมพ์อาจจะเรือนรางและพร่ามัวเหมือนที่เขาได้เขียนไว้ใน Confessiones ที่ตนได้ตกไปอยู่ในห้วกิเลสตัณหาในราคะแต่เขาก็เชื่อว่าร่องรอยของพระองค์ยังคงอยู่ในใจของมุนษย์ทุกคนทำให้เขาปฏิเสธว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นเกิดมาจากบาป
3.กฎหมายเฉพาะการ เป็นกฎหมายที่มนุษย์ตราขึ้นเพื่อใช้ในสังคมในระยะเวลาหนึ่งซึ่งใช้เฉพาะในโลกเท่านั้น ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้และขัดต่อ กฎหมายนิรันดร และกฎหมายธรรมชาติไม่ได้ กล่าวคือกฎหมายเฉพาะการจะเป็นกฎหมายได้ต้องสอดคล้องไปกับกฎหมายนิรันดร และกฎหมายธรรมชาติ และกฎหมายเฉพาะการต้องยุติธรรม ดั่งที่นักบุญออกัสตินกล่าวว่า “ถ้าปราศจากซึ่งความยุติธรรมแล้วราชอาณาจักรก็ไม่ต่างอะไรกับซ่องโจรขนาดใหญ่”
แล้วจุดเริ่มต้นของทฤษฎีสองดาบ???
มาจากแนวคิดการที่นักบุญออกัสตินแบ่งโลกออกเป็นสองนครคือ นครของพระเจ้าและนครแห่งโลก โดยทฤษฎีนี้เริ่มปรากฏหลังการตายของนักบุญออกัสตินประมาณ 50ปี คือเป็นปัญหาความขัดแย้งของสันตะปาปาและจักรพรรดิแห่งโรมมันตะวันออก เนื่องจากการล้มสลายของโรมมันตะวันตกและการยึดกรุงโรม
โดยชาวกอธในปี ค.ศ.476 ทำให้บิชอปแห่งโรมกลายเป็นสันตะปาปาใน
ปี ค.ศ.494 พระสันตะปาปาจิลาซิอุสที่ 1 (Gelasius I ) ได้ส่งจดหมายไปหา
จักรพรรดิอนาสตาซิอุสที่ 1 (Anastasius I ) โดยกล่าวว่าถึงแม้พระองค์จะทรงปกครองมนุษย์แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้พระเจ้า หรือก็คือบรรดาบิชอปนั้นมีอำนาจมากกว่าเนื่องจากใกล้ชิดพระเจ้า
ภาพซ้าย จักรพรรดิอนาสตาซิอุสที่ 1 (Anastasius I ) ภาพขวาพระสันตะปาปาจิลาซิอุสที่ 1 (Gelasius I ) ที่มา:https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Diptych_Barberini_Louvre_OA3850.JPG#/media/File:Diptych_Barberini_Louvre_OA3850.JPGhttps://images.app.goo.gl/fvZtVRfqSb3pzsJS8
ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่อำนาจของศาสนจักรจะแยกเป็นอิสระออกจากอาณาจักร ซึ่งก่อนหน้านั้นในโรมันตะวันตกจักรพรรดิจึงเป็นประมุขทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร และเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีสองอำนาจที่จะนำไปสู่ของทฤษฎีสองดาบ
หลังจากนั้นฝ่ายศาสนจักรจึงได้อ้างคัมภีร์ไบเบิลโดยตีความว่าพระเยซูได้มอบดาบให้นักบุญปีเตอร์หรือนักบุญเปโตร สองเล่ม คือ
ดาบทางวัตถุ คือดาบแห่งอำนาจทางโลก ส่วนอีกเล่มเป็น
ดาบทางจิตวิญญาณ คือดาบอำนาจในฝ่ายศาสนจักร
แต่ฝ่ายศาสนจักรก็สามารถเรียกคืนดาบแห่งอำนาจได้หากฝ่ายอาณาจักรไม่ได้อยู่ในครรลอง ถึงแม้ในทางทฤษฎีดาบฝ่ายศาสนจักรจะมีอำนาจมาแต่ในความเป็นจริงดาบฝ่ายทางโลกกลับมีอำนาจที่มากกว่า ทำให้ราศตวรรษที่11 มีการเคลือนไหวของฝ่ายศาสนจักรที่จะทำให้ตนมีอำนาจที่อิสระมากกว่าเดิมและเหนื่อกว่าอาณาจักรทำให้ พระสันตะปาปานิโคลัสที่ 2 ออกตราสารสันตะปาปา (papal bull) ทำให้พระสันตะปาปาและพระคาร์ดินัลไม่สามารถแต่งตั้งได้จากฆราวาส ต่อมาในสมัย พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 ได้ออก Dictatus Papae ที่ว่าด้วยการแต่งตั้งสมณศักดิ์ และส่วนที่สำคัญคือ ความไม่ผิดพลาดของพระสันตะปาปาเป็นสัจพจน์ ที่สามารถปลดจักรพรรดิได้
ภาพขวา พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 (Gregory VII ) ภาพซ้าย จักรพรรดิไฮน์ริชหรือเฮนรี่ที่ 4 (Henry IV ) ที่มา: https://images.app.goo.gl/LDeqgxJpn3FgQRG5A https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Heinrich_4_g.jpg#/media/ไฟล์:Heinrich_4_g.jpg
ภาพ Henry at Canossaโดย Eduard Schwoiser ที่มา:https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Schwoiser_Heinrich_vor_Canossa.jpg#/media/File:Schwoiser_Heinrich_vor_Canossa.jpg
และสิ่งที่เป็นสิ่งที่ชัดเจนถึงอำนาจของฝ่ายศาสนจักรคือ Walk to Canossa หรือ การเดินไปคานอสซา ของจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 ประกาศบัพพานิชยกรรมหรือขับออกจากศาสนจักร ทำให้รรดิเฮนรี่ที่ 4 ต้องเดินเท้าขึ้นปราสาทคานอสซาในฤดูหนาวเพื่อไปหาพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 ในขณะที่เป็นแขกในปราสาท โดยอำนาจของศาสนจักรเริ่มออนแอลงจากการประกาศ ความตกลงแห่งวอร์มส์" (Concordat of Worms) ระหว่างจักรพรรดิเฮนรีที่ 4 กับ พระสันตะปาปาตาลิกดุสที่ 2 ในปี ค.ศ. 1122 ทำให้ฝ่ายอาณาจักรจะไม่แทรกแทรงการแต่งตั้งบิชอปและสมณศักดิ์ แต่การแต่งตั้งบิชอปและเจ้าอาวาสแห่งเยอรมันต้องผ่านจักรพรรดิ
ภาพ ความตกลงแห่งวอร์มส์" (Concordat of Worms) ที่มา:https://www.britannica.com/event/Concordat-of-Worms
ถึงแม้ต่อมาในสมัย พระสันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 จะพยายามจะสถาปณาอำนาจกลับมาผ่าน Bulle Unam Sanctum หรือ ตราสานแห่งโบสน์ศักดิ์สิทธิ์คือการเข้าไปยุ่งทางโลกหากฝ่ายอาณาจักรไม่อยู่ในครรลองหรือบิดเบือนต่อพระเจ้า แต่เนื่องจากการเริ่มเกิดรัฐชาติและการเคลื่อนไหวภายในตัวของศาสนจักรเองเช่น the Lollard movement ในอังกฤษ ทำให้ไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง ถึงกระนั้นนาจของศาสนจักรเองก็ยังไม่ได้เสื่อมถอยอย่างเห็นได้ชัดเจน
ภาพ พระสันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Pope Boniface VIII ) ที่มา:https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Boniface-VIII.jpg
อ้างอิง:
หนังสือ นิติปรัชญา
หนังสือ นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง
หนังสือ A little history of philosophy
ปล.ผิดพลาดตรงไหนบอกได้เลยนะครับขอบคุณครับ
ปล.2ยาวหนาอยแต่อร่อยนะಠωಠ
โฆษณา