26 พ.ย. 2021 เวลา 06:25 • การตลาด
รวมเพื่อลุย ในสิ่งที่ดีกว่า ด้วยหลักกลยุทธน่านน้ำสีคราม W. Chan Kim
เรียบเรียงโดย : Ezy Management
 
ถ้าจะกล่าวถึงข่าวใหญ่ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นดีลใหญ่ของวงการสื่อสาร ICT คือการควบรวมกันของค่ายผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ TRUE และ DTAC ซึ่งข่าวดังกล่าวก็มีการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้กันในหลากหลายมุมมอง
แต่ในบทความนี้ Ezy Management จะขอกล่าวถึง การควบรวมซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นไปตามกลยุทธและหลักการของ กลยุทธน่านน้ำสีคราม Blue Ocean Strategy ของ W. Chan Kim เลยก็ว่าได้ จะเป็นอย่างไรเราลองไปวิเคราะห์และลองปรับให้เข้ากับหลักการไปพร้อมๆกัน
กลยุทธน่านน้ำสีคราม มีหลักการคือ ตลาดที่มีการแข่งขันที่สูงมากอยู่แล้ว จะมีการแข่งขันกันทั้งทางด้านราคา,คุณภาพและสินค้าต่างๆ ซึ่งเมื่อการแข่งขันยิ่งสูงเท่าไหร่ ความเสียเปรียบทางการค้าก็จะตกไปอยู่กับผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการ จึงเปรียบเสมือนน้ำน้ำสีเลือด Red Ocean ที่มีการฟาดฟันเข่นฆ่ากันจนเลือดนองเต็มทะเล และผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการก็จะมีความจำเป็นที่จะแสวงหา ทะเลสีคราม Blue Ocean เปรียบคือตลาดที่ยังมีพื้นที่ (Room)ให้ไปต่อได้ การแข่งขันยังไม่สูง ยังไม่มีการก่อกวน (Disrupt) จากปัจจัยรอบด้าน ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการมีโอกาศที่จะเติบโตหรือมีโอกาศในการทำกำไรได้มากขึ้น
โดยจากมุมมองของ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการกลุ่มทรู ในทิศทางตลาดว่า “ภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ได้เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว การปรับโครงสร้างสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่จะก้าวเป็นฮับของเทคโนโลยีในระดับภูมิภาค
โดยโทรคมนาคมจะยังคงเป็นธุรกิจหนึ่งของโครงสร้าง และจะต้องพัฒนาธุรกิจเพิ่มเติมในส่วนที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ ระบบคลาวด์เทคโนโลยี ไอโอที อุปกรณ์อัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ดิจิทัลมีเดียโซลูชั่น และปรับโครงสร้างเพื่อให้สนับสนุนการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี
ความกลัวเรื่องของเทคโนโลยีที่จะดิสรัปทุกธุรกิจ กลุ่มค่ายมือถือก็จำเป็นต้องปรับตัวครั้งสำคัญ บวกกับทำองค์กรให้ตัวเบา ภาระหนี้ลดลง การลงทุนอะไรที่ซ้ำซ้อน เมื่อควบรวมกันแล้ว จะช่วยลดลงได้พอควร
แต่สิ่งที่น่ากลัวและเป็นตัวเร่งให้ต้องคิดถึงการควบรวม เนื่องจากความแข็งแกร่ง ของเบอร์หนึ่งอย่าง “แอดวานซ์” เมื่อได้ผู้ถือหุ้นใหญ่ “กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์” มาถือในบริษัทแม่ “อินทัช” เพราะมองว่าเบอร์หนึ่งจะเล่นเกมรุกมากขึ้น
แถมโครงสร้างพื้นฐานคลื่น และฐานลูกค้า อยู่ในระดับสูงด้วยแล้ว เบอร์สองเบอร์สาม หากต่างคนต่างเล่นอาจจะยิ่งแย่ลงไปอีก จึงเป็นความกลัวที่เร่งปฏิกิริยาให้ต้องคิดการควบรวม ส่วนผลในทางปฏิบัติก็ต้องลุ้นไตรมาสสองปีหน้าว่าจะสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่”
จะเห็นว่ามุมมองของสองค่ายที่มีการควบรวมนั้น เป็นไปในทิศทางที่สรรหาตลาดใหม่ๆ โดยไม่พยายามต่อสู้อยู่ในสมรภูมิเดิมๆที่เริ่มมีการแข่งขันที่สูง เป็นไปตามหลักกลยุทธ Blue Ocean Strategy ของ W. Chan Kim
1
หากข้อมูลที่เรานำมาฝากกันเป็นประโยชน์ ฝากติดตามกันได้ทั้งช่องทาง
Facebook fan page : Ezy Management
Blockdit : Ezy Management
อ้างอิง : เว็บไซต์
โฆษณา