Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
26 พ.ย. 2021 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
สรุปเทคนิค บรีฟงานอย่างไร ไม่ต้องแก้กันยืดยาว
คนทำงานหลายคน น่าจะเคยเจอกับเหตุการณ์ทำนองว่า ได้รับคำสั่งให้ไปทำสิ่งหนึ่ง โดยที่ไม่ได้บอกว่า จะเอาไปทำอะไร หรือบางครั้งคนที่สั่งหรือบรีฟงานมา ก็บอกสิ่งที่ต้องการแล้ว แต่บอกไม่ครบถ้วนแต่แรก
1
โดยเหตุการณ์ทำนองนี้ ก็มักจะนำไปสู่การแก้งานไม่จบไม่สิ้น หรือแก้งานกันไปมาหลายครั้ง
ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ เสียเวลาและอารมณ์กันทั้งคนสั่งและคนทำงาน
วันนี้ THE BRIEFCASE จะมาสรุปสิ่งที่เราต้องทบทวนกันให้ดี ตั้งแต่กระบวนการบรีฟงาน ทั้งฝ่ายที่เป็นคนสั่งงาน และฝ่ายรับงาน เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
1. ให้ข้อมูลเบื้องหลังของงาน หรือที่มาของงาน
ข้อแรกเราจำเป็นที่จะต้องแนะนำเรื่องราวของแบรนด์ หรืออธิบายเบื้องหลังการเกิดขึ้นของงานนี้ เพื่อให้คนที่รับงานเข้าใจ Insight ของเจ้าของงานว่าเขาตั้งใจทำอะไรกับโปรเจกต์นี้ หรือมีวิสัยทัศน์อย่างไร
2. เคลียร์กันให้ชัด ว่าวัตถุประสงค์หรือความสำคัญของงานนี้คืออะไร ?
ทั้งคนสั่งงานและคนรับงาน ควรจะต้องรับรู้ว่าเป้าหมายของงานนี้คืออะไร ให้ตรงกัน
โดยคนที่บรีฟจะต้องถ่ายทอดเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ต้องการให้ลูกค้ารู้ว่าแบรนด์ของเรากำลังอยู่ในช่วงสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) ซึ่งยังไม่จำเป็นต้องเน้นดึงให้คนเข้ามาซื้อของเยอะ ๆ ในตอนนี้
1
และควรจะระบุ Key Message เป็นข้อ ๆ ว่าอยากให้ผู้ที่รับงานไป ถ่ายทอดสิ่งสำคัญเหล่านั้นออกมาผ่านตัวงานให้ชัดเจนให้ได้
3. ใครบ้างคือกลุ่มเป้าหมาย
การที่คนสั่งงานกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัด เช่น งานนี้จัดทำขึ้นเพื่อผู้บริหาร, งานนี้จัดทำขึ้นเพื่อกลุ่มวัยรุ่นอายุ 18-30 ปี
ซึ่งการระบุกลุ่มเป้าหมายคือเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของภาษา หรือรูปแบบของงาน เพราะคนแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมและความสนใจที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก
หากเราเป็นคนบรีฟงานที่มีกลุ่มลูกค้า (Persona) อยู่ในใจ ก็ควรจะแจ้งให้ผู้รับงานทราบอย่างชัดเจนตั้งแต่แรก
4. การกำหนดสไตล์ Mood & Tone ควรแนบอ้างอิงตัวอย่าง
หลังจากที่เขียนจุดประสงค์ของการทำงานและกำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว สิ่งต่อมาก็คือ แจ้ง Mood & Tone ของงาน เช่น ต้องการให้งานนี้ดูอบอุ่นหรือจริงจัง น้ำเสียงของการเล่าเรื่องราวเป็นคนที่ดูโต มีความเป็นผู้ใหญ่ หรือสดใสแบบวัยรุ่น รวมไปถึงภาพประกอบที่เราอยากจะให้เป็น
และถ้าเรากลัวทีมงานที่รับงานไม่เห็นภาพ ก็อาจจะยกตัวอย่างงานอื่น ๆ ที่เคยมีมาก่อน เป็นส่วนประกอบในการช่วยอธิบายไอเดียของเรา หากเรากำหนดรายละเอียดเหล่านี้ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ กระบวนการในการแก้งานก็มีโอกาสที่จะลดน้อยลง
5. แจ้งสิ่งที่ควรระวัง
ในกระบวนการทำงานจริง คนที่รับงานอาจจะโฟกัสแต่บรีฟที่ให้มา ไม่ทันได้ระวังข้อกังวลบางอย่างของแบรนด์หรือคนที่สั่ง เช่น ห้ามทำสีของคู่แข่ง (ควรระบุด้วยว่าคู่แข่งเป็นใคร), ห้ามพูดข้อเสียของแบรนด์อื่นที่อยู่ในตลาด
ดังนั้นแบรนด์ควรจะเขียนระบุให้ชัดถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่อย่างไรก็ตาม ในฝั่งของคนที่รับงานก็ควรจะพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยว่า ถ้าเรารับงานนี้แล้วจะเกิดผลเสียต่อใครบ้าง เกิดผลเสียต่อเราหรือเกิดผลเสียต่อแบรนด์เองหรือไม่
ถ้าหากคนรับงานรู้สึกว่างานนี้ มีบรีฟบางอย่างที่อาจจะมีผลเสียเกิดขึ้น ก็ควรที่จะพูดคุยกับคนที่สั่งงานอย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยกันหาทางออกตั้งแต่เนิ่น ๆ
6. คุยเรื่องตารางเวลาให้ชัด กำหนดระยะเวลาการส่งงาน และการฟีดแบ็กเพื่อแก้ไขให้เหมาะสม
ข้อสุดท้ายควรคุยให้เคลียร์ว่า แต่ละงานที่ได้รับคำสั่งมา จะมีการคอมเมนต์ ฟีดแบ็ก และแก้ไขได้กี่ครั้ง เพราะการไม่ระบุไทม์ไลน์ให้ชัดเจนตั้งแต่ทีแรก ก็จะทำให้คนรับงานแก้งานไม่จบไม่สิ้น หรือคนที่สั่งงานอาจจะต้องเจอกับความยุ่งยาก และงานไม่ถูกปล่อยเสียที
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ควรทำเบื้องต้น เพื่อลดปัญหาการสื่อสารที่ผิดพลาด และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำคัญที่สุดคือ หากคนที่รับงานได้รับบรีฟมาไม่ชัดแต่แรก
ก็ควรพูดคุยกับคนที่สั่งงานอย่างตรงไปตรงมา เพราะสุดท้ายการไม่พูดคุยกันให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น มันอาจสร้างความเสียหาย ให้ทั้งคนสั่งและคนรับงาน ในตอนจบ..
บรีฟงาน
14 บันทึก
6
9
14
6
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย