Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WhoChillDay
•
ติดตาม
26 พ.ย. 2021 เวลา 10:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อวกาศไทย..ก้าวเข้ามาอีกขั้น !!
“GISTDA” พร้อมนั่งประธาน CEOS - รุกวิจัยใยกัญชงเสริมทัพเศรษฐกิจอวกาศไทย
ไทยส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์ได้จริงภายในปี 2570 มุ่งหน้าสร้างเศรษฐกิจอวกาศ !? ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ภูมิใจนำเสนอผลงานของกระทรวง อว. ที่นักวิทยาศาสตร์ไทยมีความสามารถในด้านนี้ ปัจจุบันไทยส่งดาวเทียมขนาดเล็ก 1- 5 กิโลกรัม โคจรในประเทศอยู่แล้ว
อวกาศไทยก้าวเข้ามาอีกนิด..ชิดเข้ามาอีกขั้น !!
หลังครม. ไฟเขียวหลักการร่าง พ.ร.บ. กิจการอวกาศ พ.ศ..... ไปเมื่อ ก.ค. 2564 ตามที่กระทรวงอว. เสนอ ให้มีองค์กรด้านนโยบาย - แผนกิจการอวกาศ รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์ – มาตรการสนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของภาครัฐและภาคเอกชน เป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศ (New space Economy) ของไทย
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการวิจัยและทดลองในอวกาศ - บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม –พัฒนาจรวดและยานอวกาศ – การออกเดินทางสำรวจแหล่งทรัพยากร - ท่องเที่ยวอวกาศ ฯลฯ
น่าภูมิใจ !! ประเทศไทย โดย GISTDA (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน)) สังกัดกระทรวง อว.
ได้รับเลือกจากประชุมใหญ่นานาชาติ CEOS Plenary 2021 ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก (Committee on Earth Observation Satellite: CEOS) เริ่มปฏิบัติหน้าที่ในเดือน พ.ย. 2565 วาระ 1 ปี
GISTDA อวกาศไทยบนเวทีโลก !?
“ดร.ปกรณ์ อาภาพันธ์” ผู้อำนวยการ GISTDA เปิดอกว่า ประเทศไทยรับตำแหน่งประธาน CEOS ครั้งนี้ เป็นโอกาสสร้างการรับรับรู้ และตระหนักถึงศักยภาพด้านการสำรวจโลกของไทยบนเวทีโลก เพราะต้องทำงานร่วมกับผู้บริหาร วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก
ซึ่งปัจจุบัน CEOS มีสมาชิกหลัก 34 องค์กร จาก 24 ประเทศที่มีดาวเทียมสำรวจโลกเป็นของตัวเอง และสมาชิกสมทบอีก 29 องค์กรที่เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการใช้ดาวเทียมสำรวจโลก ขณะนี้มีดาวเทียมปฏิบัติการรวมกันถึง 201 ดวง
ส่วนบทบาทของ CEOS ทำหน้าที่กำหนดนโยบายร่วมกัน - แลกเปลี่ยนข้อมูล - พัฒนาเทคโนโลยี - กำหนดรูปแบบการบริการ และประยุกต์ใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
“NASA – สหรัฐอเมริกา เป็นประธาน CEOS ปีที่ผ่านมา ส่วนปี 64 CNES – ฝรั่งเศส และปี 65 GISTDA จากประเทศไทย”
นอกจากนี้ “GISTDA” มุ่งผลักดันการนำเทคโนโลยีอวกาศไปใช้ประกอบการแก้ไขปัญหา และเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก และภัยธรรมชาติที่หลายประเทศให้ความสำคัญ
ถือเป็นแนวทางและภารกิจหลักของ CEOS อยู่แล้ว ที่ต้องการให้คนทั้งโลกตระหนักถึง ความสำคัญของการดำรงอยู่อย่างปลอดภัยในอนาคต
“รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ ในการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกมาตลอด มีนโยบายบริหารจัดการอย่างจริงจัง และตั้งเป้าแก้ปัญหานี้ให้สำเร็จภายในปี 2593”
2 ทศวรรษ GISTDA ไม่เคยหยุดนิ่ง !?
22 ปี “GISTDA” สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) สทอภ. หรือ Geo Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization) เป็นหน่วยงานรัฐ
หัวจักรสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - สร้างบุคลากร - วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ภูมิสารสนเทศ และระบบดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
ยกระดับนิเวศน์เทคโนโลยีอวกาศไทยทั้งระบบ.. เพื่อก้าวเป็นผู้นำอวกาศของอาเซียน เอเชีย และโลก
ไทยไม่ใช่ผู้ซื้อเทคโนโลยีอยู่ฝ่ายเดียว แต่สามารถเรียนรู้ ผลิต สร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นไว้ใช้เอง รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสนเทศในระดับสากลได้
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา “GISTDA” ทุ่มเทความรู้..ลุย 6 ภารกิจหลักหนุนการพัฒนาประเทศ ในด้านแผนที่ - เกษตรกรรม - น้ำ - ภัยพิบัติ - ผังเมือง - ทรัพยากรธรรมชาติ จากข้อมูลภูมิสนเทศผ่าน ธีออส 1 (THEOS - 1) ดาวเทียมสำรวจโลกดวงแรกของไทยที่เป็นเครือข่ายดาวเทียมนานาชาติ
ขณะเดียวกันนักวิจัยและวิศวกรไทย กำลังเรียนรู้เพื่อสร้างระบบสารสนเทศอัจฉริยะของคนไทยขึ้นมาภายใต้ ธีออส 2 (THEOS -2)
ประกอบด้วยดาวเทียมสำรวจ 2 ดวง ระบบดาวเทียมภาคพื้นดิน ศูนย์ทดสอบและประกอบดาวเทียม การพัฒนาโซลูชั่น - แอพลิเคชั่น และระบบเอไอพี มาใช้ในงานภูมิสนเทศขั้นสูง และประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย
ผลงานล่าสุด ZIRCON – เซอร์คอนนวัตกรรมอวกาศ ฝีมือคนไทย !! จาก ทีม Astro Lab ร่วมกันพัฒนาระบบจัดการจราจรอวกาศอัตโนมัติ ด้วยระบบแจ้งเตือนการพุ่งชนของวัตถุอวกาศ และปรับวงโคจรดาวเทียมไทยโชต ให้อยู่ในตำแหน่งปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อการชนกับวัตถุอวกาศ ขยะอวกาศ
ดาวเทียมไทยโชต เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก ทำหน้าที่ถ่ายพื้นโลกได้ครอบคลุมเกือบทั้งโลก ทุกวันนี้เราใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ส่งกลับมาในหลายภารกิจ เช่น น้ำ การเกษตร ภัยพิบัติ และทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ
นอกจากนี้ หลังชาวแคนาดาสามารถผลิตเครื่องบินเล็กจากใยกัญชงสำเร็จ และมีผลการทดสอบคุณสมบัติเส้นใยกัญชงสนับสนุนว่า เส้นใยกัญชงมีความแข็งแกร่งกว่าใยไฟเบอร์กลาส และแข็งแรงกว่าเหล็กหลายเท่า ทำให้ลดการใช้พลังงาน ดูดกลืนเสียงได้ดี และลดการแพร่กระจายรังสีจากเครื่องยนต์ของยานยนต์
ทาง “GISTDA” ไม่รอช้า..ระดมสมองวิจัยและพัฒนาใยกัญชงพืชเศรษฐกิจไทย !! ปัจจุบันได้นำใยกัญชงมาทดสอบหาคุณสมบัติ ด้านความแข็งแรงทนทาน ด้านความถี่ ด้านอุณหภูมิ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านโครงสร้างของอากาศยานไร้คนขับ - ชิ้นส่วนภายในเครื่องบิน หรือชิ้นส่วนดาวเทียมดวงต่อ ๆ ไปด้วยฝีมือคนไทย
อนาคต..หากผลการทดสอบคุณสมบัติใยกัญชงได้มาตรฐานการใช้งานบนอวกาศ..นวัตกรรมนี้จะเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจอวกาศไทย..เติบโตขึ้นมาอีกขั้น !!
1
2
.
หลุดจากกรอบเดิม บนฐานหลักการและเหตุผล เดินหน้าสู่อวกาศ ขุมพลังแห่งความรู้ แหล่งทรัพยากรแห่งอนาคต..สู้ ๆ วงการอวกาศไทย
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ !!
ขอบคุณที่เข้ามาติดตามอ่านทุกเรื่องราว
และเข้ามาทักทาย WhoChillDay นะคะ
Credit:
https://www.gistda.or.th/main/
https://www.facebook.com/gistda/
https://gistda.or.th/main/sites/default/files/e-magazine/e-magazine_40.pdf
https://gistda.or.th/main/sites/default/files/e-magazine/gistda_annual_report2020.pdf
#WhoChillDay #อวกาศ #GISTDA
#เอนก เหล่าธรรมทัศน์ #ปกรณ์ อาภาพันธ์
#จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
บันทึก
16
30
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ลัดเลาะทั่วไป
16
30
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย