27 พ.ย. 2021 เวลา 02:57 • สิ่งแวดล้อม
SHEDDING: เขากวางสีเลือดและการผลัดเขา 🦌🩸
4
มีใครเคยได้ยินชื่อ “เขากวางอ่อน” บ้างขอให้ยกมือขึ้น 🤚🏻 หลายคนคงจะคุ้นๆ ว่าคือหนึ่งในเครื่องยาจีนที่สำคัญ
1
และมีการใช้เป็นยาบำรุงมานับตั้งแต่โบราณตามนั่นเอง แต่วันนี้เราไม่ได้จะมาพูดถึงสรรพคุณกัน อ่าว…
🟡 รู้หรือไม่ น้องกวางจำเป็นต้องมี “การผลัดเขา” ก่อนถึงจะได้เขาอ่อนที่ว่านี้มานะ
⚠️ เขากวางไม่ได้อยู่ถาวรเหมือนเขาวัว กระบือ‼️
2
  • โดยจะมีการสลัดเขาทิ้งและงอกขึ้นใหม่ทุกรอบปี (Annually casting)
  • ด้านนอกเขากวางอ่อนที่สร้างขึ้นใหม่ก็จะปกคลุมด้วยผิวหนังที่มีขนอ่อนนุ่มเหมือนกับกำมะหยี่ที่เรียกว่า “Velvet”
ยิ่งไปกว่านั้น “เขากวางอ่อน” ยังนับเป็นเนื้อเยื่อที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วที่สุดในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกันเลยล่ะ❗️
เทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ถ้ากว่าผมคนเรากว่าจะยาวถึงกลางหลังต้องใช้เวลาครึ่งปี
สำหรับกวาง Elk เขาที่งอกมาใหม่สามารถเจริญได้ไวมากถึง “1 นิ้วต่อวัน” เลยทีเดียว‼️
2
🟡 Sign of mating season: การผลัดขนกำมะหยี่
  • เดิมทีวงจรการเจริญของเขากวางจะขึ้นกับระดับ Testosterone และปริมาณแสงตามฤดูกาล (Photoperiod)
  • เมื่อฮอร์โมนเพิ่มสูงขึ้นทำให้เส้นเลือดที่เลี้ยงเขากวางอ่อนลดลง ผิวที่อ่อนนุ่มเหมือนกำมะหยี่ก็จะแห้ง และหลุดออกเพื่อเตรียมพร้อมสู่ช่วงฤดูผสมพันธุ์นั่นเอง❗️
  • ภายหลังเขาก็จะแข็งขึ้นและได้ความสวยงามเหมือนที่เราเคยเห็นกัน 👑
พูดได้ว่า พอได้เขาใหม่มางามๆ ก็สามารถกระโจนไปอวดตัวเมีย แถมใช้เป็นอาวุธไว้ต่อสู้แย่งตัวสาวๆ ได้เลยทันที 💨
3
📌 สรุปวงจรโดยรวมก็จะเป็นลักษณะนี้วนไปเรื่อยๆ:
ผลัดเขา 👉🏻 ได้เขากวางอ่อน 👉🏻 ผลัดผิวกำมะหยี่ 👉🏻 ได้เขาแก่
ทว่าการลอกผิวออกมีเลือดติดมาด้วยเนี่ยสิ
ดังนั้นภาพที่เห็นก็จะแอบน่ากลัวนิดนึง 😱
1
บางตัวเก่งหน่อย 2-3 ชั่วโมงก็ลอกออกหมดแล้ว
แต่ช่วงนี้สามารถกินเวลาได้ถึง 1-2 วันค่ะ
🌳 บางตัวใช้เขาขูดกับต้นไม้เป็นตัวช่วย
1
และมีบ้างถ้างับถึงก็กินเข้าไปด้วยเลย นับว่าเป็นการนำสารอาหารกลับสู่ร่างกายอีกวิธีค่ะ ❤️
2
📚 อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพ
โฆษณา