Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Nack Siwakorn
•
ติดตาม
6 ธ.ค. 2021 เวลา 01:00 • การศึกษา
## ไม่เคยมีใครบอกว่าอ่านหนังสือเยอะๆแล้วจะทำให้คุณความจำดี ##
.
.
การเรียนรู้ที่ดีมันต้องมีทั้ง input และ output นั่นก็คือเมื่อคุณได้รับความรู้อะไรเข้าไป คุณจะต้องถ่ายทอดมันออกมาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่อย่างนนั้นคุณก็จะลืมมันไปในที่สุด
.
.
ในสมัยที่ผมเรียน หลายคนเจอปัญหาเดียวกันซึ่งก็คือเรื่องการจดจำเนื้อหา การอ่านหนังสือสอบไม่ทัน และทำให้ทุกคนลงเลยด้วยการอ่านหนังสือข้ามวันข้ามคืน แต่ต่อให้เป็นแบบนั้น ก็ยังจำอะไรไปสอบไม่ได้อยู่ดี
.
.
ผมไม่เคยเจอปัญหานั้นเลย เพราะก่อนสอบผมจะอ่านทบทวนแค่นิดเดียวเท่านั้น บางวิชาอ่านแค่ไม่กี่ชั่วโมง เพราะว่าเนื้อหามันฝังอยู่ในหัวอยู่แล้วพอสมควร เมื่อไปอ่านซ้ำมันจึงใช้เวลาไม่มากในการทบทวน ในขณะที่หลายคนต้องใช้เวลาทั้งคืน เพราะมันไม่ใช่การทบทวน แต่เป็นการเรียนรู้ใหม่ พวกเขาไม่มีความจำของเนื้อหาตุนไว้ในหัวเลย
.
.
ต่อให้คะแนนสอบผมจะไม่ได้เพอร์เฟค แต่มันก็ไม่ได้ออกมาแย่ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ผมไม่เคยเหนื่อยจากการเตรียมตัวสอบเลยแม้แต่ครั้งเดียว ไม่ว่าจะตอนไหนๆก็ตาม ซึ่งผมคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าคะแนนเสียอีก
.
.
ทำไมทุกคนอ่านหนังสือเหมือนกัน ตอนเรียนก็จดเหมือนกัน แต่ผมจำเนื้อหาในห้องได้เกือบทั้งหมด ตอนอ่านก่อนสอบก็เลยว่องไว และใช้เวลาทบทวนแค่นิดเดียวก็ทำคะแนนได้มากกว่าค่าเฉลี่ยห้องในเกือบทุกวิชา?
.
.
สาเหตุมันเป็นเพราะหลายคนยังเข้าใจอยู่ว่าการเรียนรู้จะต้องอ่านเยอะๆ จดเยอะๆ นั่งฟังนั่งจำ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่นักเรียนไทยถูกสอนมาตั้งแต่เด็ก และถูกให้ทำมาตั้งแต่เด็กๆ พอครูสอนก็นั่งจดๆๆสิ่งที่อยู่บนกระดาน โดยที่ไม่ได้สนใจด้วยซ้ำว่ามันคืออะไรบ้าง จดตาม 100% ก็พอ
.
.
แต่จริงๆแล้วการเรียนรู้มันไม่เคยเป็นเรื่องปริมาณเลย แต่เป็นเรื่องวิธีการล้วนๆ ถ้าคุณเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ย่างถูกวิธี เนื้อหาเหล่านั้นมันจะฝังลงสมองของคุณได้ง่ายกว่าที่คุณคิด
.
.
วิธีที่ผมใช้มาตลอด ก็คือการอ่านก่อนเรียนคร่าวๆ ซึ่งมันก็ไม่ได้เหนือยอะไรเลย มันเป็นการอ่านคร่าวๆซะจนใช้เวลาแค่ไม่ถึงชั่วโมง และเมื่อถึงเวลาเรียน ต่อให้ผมจะจดเหมือนกับเพื่อน แต่สิ่งที่ผมจดลงไปล้วนเป็นการสรุปทั้งสิ้น ต่างจากเพื่อนที่จดทุกอย่างที่อาจารย์ผู้ และเขียนตามทุกอย่างที่อาจารย์เขียน ผมจะจับใจความและจดให้กระชับที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
.
.
อย่างที่บอกครับ การเรียนรู้มันมีทั้ง input และ output ถ้าคุณรีบข้อมูลเข้าอย่างเดียวเยอะๆ แต่ไม่เคยถ่ายทอดออกมา มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ความรู้เหล่านั้นมันจะ overload และสุดท้ายคุณจะจำอะไรไม่ได้เลย
.
.
การที่ผมอ่านก่อนเรียน ทำให้ปริมาณ input ที่ผมรับเข้าไปมันถูกกระจายออกเป็นส่วนเล็กๆ ถ้าผมอ่านก่อนหนึ่งวัน ผมจะได้นอนหลับ และสมองมันจะบันทึกข้อมูลที่ผมได้รับรู้ส่วนหนึ่งลงไปในความจำ
.
.
เมื่อถึงเวลาเรียน การเรียนรู้ของผมมันจะง่ายขึ้น เพราะข้อมูลที่ input เข้าไปมันเบาลง เนื่องจากเนื้อหาคร่าวๆได้ถูกแบ่งเบาไปบ้างแล้ว ในขณะที่คนอื่นต้องมาเรียนรู้ใหม่ วิธีนี้ช่วยลดการ overload ของข้อมูลในสมองได้
.
.
ส่วนการจดตามที่อาจารย์พูดหรือเขียนลงกระดาน 100% อาจจะดูเหมือน output แต่จริงๆแล้วมันคือ input เช่นกัน เพราะว่าคุณแทบไม่ได้รับรู้อะไรเข้าไปในสมองระหว่างนั้นเลย มันคือการมองและลอกตามเพิ่มเข้าไปๆเพียงอย่างเดียว และสมองก็มารับรู้ข้อมูลเหล่านั้นตอนที่เราเขียนอีกที
.
.
แต่วิธีการสรุปใจความ มันทำให้เกิดการเรียนรู้สองครั้งระหว่างทาง ตอนที่คุณรับข้อมูลเข้าไปในหัว คุณได้ทำความเข้าใจ และกลั่นกรองในสมองก่อน เมื่อสมองเข้าใจระดับนึง คุณถึงเขียนสมรุปใจความสำคัญลงไปเป็น output และเมื่อเขียนเสร็จ สมองก็จะ input สิ่งที่คุณเขียนเป็นข้อสรุปลงไปโดยอัตโนมัติ
.
.
จดก็น้อยกว่า เหนื่อยก็น้อยกว่า แถมได้ประสิทธิภาพมากกว่า และในบทความนี่ยังเป็นแค่เรื่องการเรียนรู้และจดด้วยซ้ำนะครับ ซึ่งจริงๆแล้วมันถือว่าเป็นขึ้นพื้นฐานมากๆในการเรียนรู้
.
.
ถ้าอยากให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากที่สุด output ที่จำเป็นคือการลงมือทำและมีส่วนร่วม ให้ได้ตอบคำถาม ให้ได้สรุปและอธิบาย และให้สอนคนอื่น ให้ได้ลองทำดว้ยตัวเอง สิ่งเหล่านี้เป็น output ที่แข็งแรงมากกว่าการอ่านการจดมากเป็นไหนๆครับ
.
.
นี่เลยเป็นสาเหตุให้คนที่ชอบสอนชอบติวคนอื่นส่วนใหญ่จะทำได้ดีกว่า และคนที่นั่งฟังเพื่อนติวไม่ได้ประโยชน์อะไรเท่าไหร่ เพราะคนที่สอนคนอื่นอยู่เขาได้สรุปใจความ และ output ออกมาเป็นการสอนคนอื่น ซึ่งมันทำให้เขาจำเนื้อหาได้ดีขึ้น แต่คนที่นั่งฟังเพื่อนติวให้ ต่อให้เนื้อหาที่ได้ยินจะเป็นการสรุป แต่สุดท้ายมันก็เป็นแค่ input อยู่ดี ต้องพึ่งพาการท่องจำมากกว่าความเข้าใจ
.
.
จะเห็นได้ว่าเด็กไทยได้รับกระบวนการเรียนรู้แบบผิดวิธีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว มีแต่หลักสูตรที่สอนให้เด็กฟัง จดตามเยอะๆ และอ่านหนังสือเยอะๆ ไม่ค่อยเน้นไปที่การสรุปจับใจความ อธิบาย และลงมือทำ
.
.
การศึกษาที่เน้นให้เด็กท่องจำมากกว่าทำความเข้าใจ มีแต่ input อย่างเดียวเยอะๆ แล้วให้เด็กมา output ออกทีเดียวตอนสอบ ทำให้เด็กขาดความเข้าใจ เรียนเพื่อสอบเสร็จแล้วก็ลืม เพราะเนื้อหาเหล่านั้นมันไม่เคยถูดฝังลงในสมอง มันแค่เป็นความจำชั่วคราวเพื่อไปสอบเท่านั้น
.
.
ถ้าถามผมว่าทักษะอะไรจำเป็นที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ผมคงต้องบอกว่าทักษะการจับใจความสำคัญเป็นหนึ่งในนั้น และก็น่าเสียดายที่ดูเหมือนว่าเด็กส่วนใหญ่จะไม่ถูกฝึกฝนทักษะนี้เลย
.
.
ถ้าชอบบทความนี้ อย่าลืมแชร์สิ่งดีๆออกไปให้คนรอบข้างได้อ่านกัน
เพื่อให้กฎของแรงดึงดูด ดึงสิ่งดีๆกลับเข้ามาหาคุณ
.
.
แจกฟรี! E-Book สูตรสำเร็จแห่งการสร้างวินัย
https://lin.ee/kmjhESB
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย