Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย
•
ติดตาม
27 พ.ย. 2021 เวลา 16:12 • สุขภาพ
น่ากังวลมาก !! ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ตัวล่าสุด โอไมครอน เปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งหนามมากกว่าเดลต้า 3.5 เท่า องค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มรุนแรงสูงสุดแล้ว
8
ขณะนี้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศอย่างเป็นทางการ ให้ไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่ล่าสุดคือ
B.1.1.529 ซึ่งพบเป็นครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นกลุ่มที่มีความรุนแรงสูงสุดหรือกลุ่มน่ากังวล (VOC : Variant of Concern)
7
และตรวจพบว่ามีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่ เป็นส่วนหนามมากถึง 32 ตำแหน่ง
6
ในขณะที่ไวรัสสายพันธุ์เดลต้า กลายพันธุ์ที่ส่วนหนามเพียง 9 ตำแหน่ง
2
รายละเอียดที่ควรสนใจเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ประกอบด้วย
1) ไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 เป็นไวรัสที่กลายพันธุ์ได้ง่ายเป็นธรรมชาติ เนื่องจากเป็นสารพันธุกรรมเดี่ยว อาร์เอ็นเอ (RNA)
1
2) ในช่วงสองปีที่ผ่านมา พบว่ามีไวรัสกลายพันธุ์ไปแล้ว มากกว่า 1000 สายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อย
1
3) ไวรัสมีสารพันธุกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงได้ประมาณ 30,000 ตำแหน่ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปเพียงตำแหน่งเดียว ก็เรียกว่าเป็นไวรัสกลายพันธุ์ได้แล้ว
1
4) องค์การอนามัยโลกได้จัดกลุ่มไวรัสสายพันธุ์ต่างๆเรียงตามลำดับความรุนแรงได้แก่
2
4.1 ไวรัสที่น่ากังวล (VOC) ประกอบด้วย
สายพันธุ์อัลฟ่าหรืออังกฤษเดิม
สายพันธุ์เบต้าหรือแอฟริกาใต้เดิม
สายพันธุ์แกมมาหรือบราซิลเดิม
สายพันธุ์เดลต้าหรืออินเดียเดิม
7
และได้ประกาศสายพันธุ์ที่ 5 คือ
โอไมครอนของแอฟริกาใต้
4.2 ไวรัสที่ต้องให้ความสนใจ(VOI : Variant of Interest) มีสองสายพันธุ์ได้แก่แลมป์ด้า และมิว
1
4.3 ไวรัสที่ควรติดตาม (VUM : Variant Under Monitoring) มีทั้งหมด 7 ตัว
5) การจัดกลุ่มไวรัสดังกล่าวใช้องค์ประกอบ ดังนี้
3
5.1 สารพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไวรัสเกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นของ
5.1.1 การแพร่ระบาดที่กว้างขวางรวดเร็วมากขึ้น
5.1.2 ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น
5.1.3 ความสามารถในการหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันหรือวัคซีนมีมากขึ้น
3
5.2 มีการแพร่ระบาดในชุมชน หรือเกิดเป็นคลัสเตอร์ในหลากหลายประเทศ
6) ไวรัสโอไมครอน มีการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมมากที่สุด เท่าที่เคยมีการกลายพันธุ์มาคือมากกว่า 50 ตำแหน่ง และที่สำคัญคือเปลี่ยนแปลงในส่วนหนามซึ่งใช้ในการก่อโรคในมนุษย์ มากถึง 32 ตำแหน่ง
3
เมื่อเปรียบเทียบกับไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในขณะนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งหนามเพียง 9 ตำแหน่ง
ทำให้ไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอไมครอนมีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมที่ตำแหน่งหนาม มากกว่าไวรัสเดลต้าถึง 3.5 เท่า
1
7) ไวรัสโอไมครอนพบเป็นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564
ตามด้วยประเทศบอตสวานา และอีกหลายประเทศในแอฟริกาใต้ เช่น
นามิเบีย ซิมบับเว เลโซโท เอสวาตีนี่ มาลาวี อังโกลา โมซัมบิก และแซมเบีย
6
8) ขณะนี้มีการแพร่ระบาดออกไปนอกทวีปแอฟริกาใต้แล้ว ได้แก่ ในทวีปยุโรปคือ อังกฤษพบผู้ป่วยสองราย เป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากแอฟริกาใต้ และเบลเยี่ยม
ฮ่องกงพบ 1 ราย ก็เดินทางกลับมาจากแอฟริกาใต้เช่นกัน นอกจากนั้นยังพบในประเทศอิสราเอลด้วย
3
การตรวจพบผู้ติดเชื้อนั้น ส่วนใหญ่จะตรวจพบจากการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และมีการกักตัว
2
10) เหตุที่ในประเทศแอฟริกาใต้ มีการกลายพันธุ์ของไวรัสบ่อยครั้ง เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนได้จำนวนน้อย จึงมีการระบาดของโรคมาก และไวรัสเพิ่มจำนวนบ่อย จึงกลายพันธุ์ได้มากกว่า
3
11) ขณะนี้ประเทศอังกฤษ ได้ประกาศให้ 10 ประเทศในแอฟริกาห้ามเดินทางเข้าอังกฤษ และคนอังกฤษที่มาจากประเทศดังกล่าวจะถูกกักตัวอย่างน้อย 10 วัน เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์
2
12) ส่วนของประเทศไทย ได้ประกาศห้ามพลเมืองจาก 8 ประเทศในแอฟริกา เดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2564
20
2
และคนไทยที่เดินทางมาจาก 8 ประเทศดังกล่าว จะต้องถูกกักตัว 14 วัน
จำเป็นต้องเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิด รวมทั้งติดตามรายงานการศึกษาซึ่งจะมีเพิ่มเติมว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน จะมีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้ามากน้อยอย่างไร
4
รวมทั้งมีอาการโรคที่จะรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นหรือไม่
3
ประการสำคัญที่สุดคือ จะดื้อต่อวัคซีนหรือไม่
1
ถ้าโชคดี การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งส่วนหนามของไวรัสดังกล่าว ทำให้ติดเชื้อแพร่ระบาดน้อยลง มีอาการรุนแรงน้อยลง และวัคซีนป้องกันได้ ก็จะโล่งอกกันไป
4
แต่ถ้าโชคไม่ดี การกลายพันธุ์ในส่วนหนามครั้งนี้ ทำให้มีการแพร่ระบาดรวดเร็วมากขึ้น อาการของโรครุนแรงและเสียชีวิตสูง และดื้อแต่วัคซีนด้วยแล้ว
5
ก็จะเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดครั้งใหม่อีกระลอกหนึ่งทั่วโลก ซึ่งจะกระทบกับประเทศต่างๆ อย่างรุนแรง ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ
7
แม้จะมีบางบริษัทออกมาประกาศว่า สามารถที่จะผลิตพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ เพื่อรองรับโอไมครอนได้ใน 6 สัปดาห์ ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ว่าจะทำได้รวดเร็วภายในเวลาดังกล่าว
3
Reference
3
https://www.who.int/news/item/26-11-2021-classification-of-omicron-(b.1.1.529)-sars-cov-2-variant-of-concern
https://www.cdc.gov/media/releases/2021/s1126-B11-529-omicron.html
1
https://www.newscientist.com/article/2299194-b-1-1-529-how-dangerous-is-the-new-variant-found-in-south-africa/
https://www.5paisa.com//newsfeed/why-this-new-covid-strain-b-1-1-529-is-more-lethal-that-delta-variant/NzI1Ng==
https://www.5paisa.com/newsfeed/why-this-new-covid-strain-b-1-1-529-is-more-lethal-that-delta-variant/NzI1Ng==
55 บันทึก
111
28
197
55
111
28
197
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย