28 พ.ย. 2021 เวลา 01:07 • ข่าวรอบโลก
ประวัติของผู้สมัครกว่า 75% ไม่เคยมีใครได้เปิดอ่าน
.
ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบการจัดการ หรือสมองกลต่างๆ เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เว้นแม้แต่การสมัครงานที่จะมีระบบที่เรียกว่า 𝗔𝗽𝗽𝗹𝗶𝗰𝗮𝗻𝘁 𝗧𝗿𝗮𝗰𝗸𝗶𝗻𝗴 𝗦𝘆𝘀𝘁𝗲𝗺 (𝗔𝗧𝗦) ซึ่งเข้ามามีบทบาททั้งจัดการประวัติผู้สมัคร และติดตามผู้สมัคร
.
ประโยชน์ของเจ้าระบบนี้มันทำให้ HR และ Line manager ทำงานง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องเสียเวลาอ่านประวัติทั้งหมดนั่นเอง
ฟังดูเผินๆ ก็ดูไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ช้าก่อนเพราะไอ้การที่มีระบบเข้ามาช่วยจัดการนี่ล่ะทำให้เราต้องวางแผนและคิดให้มากขึ้น คือนอกจากจะทำให้ประวัติถูกใจคนอ่านแล้ว ปราการด่านแรกที่แสนจะสำคัญก็คือการทำประวัติ (Resume) ให้ถูกใจระบบด้วยและถ้าคุณอยากจะเอาชนะระบบ คุณต้องรู้เรื่องเหล่านี้
.
1. บริษัทขนาดใหญ่กว่า 98% ใช้ในกระบวนการคัดเลือกบุคลากร
.
2. บริษัทขนาดใหญ่จะได้ใบสมัครเข้ามาประมาณมาก เจ้าหน้าที่จึงไม่เพียงพอในการ Screen
.
3. โดยเฉลี่ย 1 ตำแหน่งที่ประกาศรับสมัครจะมีใบสมัครถูกส่งเข้ามากว่า 250 ใบสมัคร!!!
.
4. จากกว่า 250 ใบสมัครนั้น จะมีคนถูกเรียกไปสัมภาษณ์เพียง 4-6 คน
.
ด้วยสาเหตุที่กล่าวไปทั้งหมดด้านบน "ทำให้ใบสมัครกว่า 75% ไม่เคยมีคนได้เปิดดู" เนื่องจากถูกตัดทิ้งโดยเจ้า 𝗔𝗧𝗦 ไปตั้งแต่ต้นแล้วว่าไม่ตรง ไม่ต้องเสียเวลาไปอ่าน (อ้าวทำไมรู้ดีอย่างนี้)
.
อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะบอกก็คือระบบ 𝗔𝗧𝗦 จะใช้การจับคำสำคัญ (Keywords) และมันตาบอดกับรูปภาพ
.
คำว่าตาบอดกับรูปภาพก็คือ ทุกอย่างที่เป็นภาพ, Graphics อลังการ ที่คุณบรรจงทำซะดิบดี หากผ่านเข้าไปในระบบนี้มันจะกลายเป็นเหมือนกระดาษเปล่าๆ มันจะบอกเปอร์เซ็นต์ความเข้ากันระหว่างความต้องการของนายจ้างกับใบสมัครของคุณเป็น 0 (อ่านว่าศูนย์) และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ประวัติของคุณไม่แม้แต่จะถูกเปิดขึ้นมาดู!!!
.
คำแนะนำก็คือหากคุณสมัครงานกับบริษัทใหญ่ที่มีแนวโน้มน่าจะมีระบบ
.
คุณจงทำประวัติให้ถูกใจระบบเอาไว้ด้วย แล้วค่อยแนบ portfolio เสริมท้ายไป
.
อย่างไรก็ตามหากคุณทำประวัติแบบไหนแล้วได้ผลดี ก็ไม่ผิดที่จะทำต่อไปนะ เพราะสายงานที่คุณทำอาจเฉพาะทาง บริษัทที่คุณมองหาอาจเป็นบริษัทขนาดเล็ก ผู้สมัครตำแหน่งคู่แข่งขันนั้นมีน้อย และยังไม่มีการใช้ 𝗔𝗧𝗦 ก็เป็นได้
.
#งานเข้า
ขอบที่มา : งานเข้า
โฆษณา