3 ธ.ค. 2021 เวลา 04:11 • ประวัติศาสตร์
ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค(Romano Germanic)
ที่มาของคำว่า "โรมาโน" หมายถึง กรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลี
ส่วนคำว่า "เยอรมันนิค" หมายถึง ชาวเยอรมัน
ดังนั้นการตั้งชื่อระบบกฎหมายเช่นนี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศทั้งสอง
เพราะอะไรจึงต้องตั้งเพื่อเป็นเกียรติ?
เพราะว่าอิตาลีเป็นชาติแรกที่รื้อฟื้นกฎหมายโรมันในอดีตขึ้นมาใหม่
แล้วเหตุใดจึงต้องฟื้นฟูกฎหมายที่ล่มสลายไปพร้อมกับอาณาจักรโรมันแล้วด้วย
เพราะเมื่อปี ค.ศ1110 ประเทศอิตาลีเริ่มมีการพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ทำให้กฎหมายท้องถิ่นเดิมใช้บังคับไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้บังคับกับข้อเท็จจริงในระบบเศรษฐกิจที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน จึงได้มีการฟื้นฟูกฎหมายโรมัน
เยอรมันเป็นประเทศที่สองได้รับเอากฎหมายโรมันมาใช้เช่นเดียวกับอิตาลี
ต่อมาประเทศต่างๆในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส โปรตุเกส ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ สเปน สวิส ได้ดำเนินรอยตาม
ปัจจุบันระบบกฎหมายนี้มีอิทธิพลแผ่ขยายไปทั่วโลกในทวีปต่างๆ
ใดๆก็ตาม ก็มีผู้ให้ความเห็นว่าหากจะให้เกียรติ ควรให้เกียรติกฎหมายโรมัน สมัยนั้นใช้บังคับได้ เฉพาะชาวโรมัน
ในทางกฎหมายมีศัพท์กฎหมาย เรียกกันว่า Jus Civlie หรือที่คุ้นกันดีว่า
Civil Law หมายถึง กฏหมายที่ใช้ได้กับชาวโรมันหรือเป็นต้นกำเนิดของกฎหมายโรมันแท้ๆ
jus gentium เป็นแนวคิดของกฎหมายระหว่างประเทศภายในระบบกฎหมายโรมันโบราณ
ลักษณะของกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค
มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ
คำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐาน แบบอย่างในการตีความกฎหมาย
#ก็"เล่า"ปายยย
โฆษณา