-ต่อด้วย Easy On Me ซิงเกิ้ลแรกที่อยู่ในลำดับที่ 2 ด้วยความเหมาะเหม็งอีกเช่นกันด้วยท่วงทำนองบัลลาดอันแสนคุ้นเคยของเจ้าตัวเริ่มจะใส่ดีเทลการแยกทางความสัมพันธ์ในแง่ของการพยายามปรับตัวเข้าหากัน สุดท้ายก็ไปกันต่อไม่ได้ แทนที่จะเล่าออกมาด้วยบัลลาดจริงจัง แต่มาในโทนที่สว่างและคลี่คลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ สมชื่อเพลงที่ใส่ความง่ายในการเข้าถึง ไม่ได้ยัดความขมขื่นของการเลิกราให้คนฟัง tense ให้เนือยเปล่า ในที่สุดการแยกทางแทบจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้ใหญ่เลยด้วยซ้ำ
-ขมขื่นของจริงอยู่ที่แทร็คถัดไปอย่าง My Little Love ที่ไม่ได้พูดถึงน้อง Angelo ในเชิงอภิรมย์ในความภาคภูมิใจในตัวลูกชาย ที่ไหนได้เธอยอมคุกเข่าถ่ายทอดความรู้สึกผิดต่างๆนาๆที่ดันเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ ไม่สามารถรักษาครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตาได้ แน่นอนว่าเธอรักลูกชายหัวแก้วหัวแหวนอย่างสุดหัวใจ ชื่อเพลงก็บ่งบอกอยู่ น้ำเสียงที่ถ่ายทอดก็ไปในเชิงประนีประนอม เหนือสิ่งอื่นใดมันคือเพลงๆนึงที่เธอจงใจเป็นหนึ่งในหลักฐานยืนยันให้ลูกชายของเธอได้หยิบขึ้นมาฟังเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดไปมากกว่านี้
-พอผ่านไปสามเพลงแรก เริ่มเข้าสู่โหมดบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ตัวเองได้ออกไปปลดปล่อยบ้าง เริ่มจาก Cry Your Heart Out ที่ขอให้น้ำตามันอาบล้นแก้มเสียก่อน มาในแนว motown-raggae คอรัสที่แปลกกว่าเพลงไหนๆ ไม่ชินเลยครับกับการที่คนขาวมาคอรัสในแนวเพลงคนดำจริงๆ แต่ก็ถือว่าฟังได้ Oh My God เป็นความเซอร์ไพร์สที่อาจต้องอุทานตามชื่อเพลง จังหวะ Afrobeat สุดวูบวาบ ชวนโยกหัวผิดกับภาพจำที่ผ่านมาที่มาแนวโยกลีลาศเสียมากกว่า อย่างไรก็ดีมันคือเพลงที่สร้างสีสันให้กับงานเพลงที่ฉาบด้วยตีม personal อย่างไม่น่าเชื่อ ใครที่คาดหวังให้เจ๊แกทำเพลงแดนซ์ เพลงนี้น่าจะสมประสงค์ไม่มากก็น้อย
1
-ดูเหมือนว่า Oh My God จะค่อนข้างอยากเริงระบำพอสมควร เหมือยถูกดูดเข้าไปในโลกคนโสดสุดเหวี่ยงอีกครั้ง ในขณะที่ Can I Get It มาในเชิงหยอดเชิงเต๊าะ มาในสไตล์อคลูสติคโฟล์ค-ป็อป จังหวะผิวปาก ภายใต้การรังสรรค์โดยคู่หู Max Martin และ Shellback พอมาเป็นสองคนนี้ปุ๊บรู้ทรงเลยว่า เริ่มวนไม่กี่สูตรแล้วจริงๆ เบรคอารมณ์ hangover ด้วยเพลงที่ไม่แน่ใจว่าจะแฮงค์กว่าเดิมรึเปล่า ที่แน่ๆเมาอย่างมีรสนิยมอย่าง I Drink Wine ขับเคลื่อนด้วยพลังบวกเปี่ยมสุขประหนึ่งนั่งจิบไวน์ชื่นชมคุณค่าตัวเอง โดยไม่ต้องไขว่คว้าที่จะเป็นคนอื่นให้มากนัก จริงๆแล้วแกไม่ได้จงใจที่จะให้คนฟังจิบไวน์ตาม แค่เปรียบเปรยถึงการใช้ชีวิตสำเริงสำราญก็เท่านั้น แก่นแท้จริงๆของเพลงนี้ก็คือการยอมลดทอนอีโก้ของตัวเองลงต่างหากที่สำคัญ มีประโยคที่เราโคตรเออออตามเลยก็คือ
They say to play hard, you work hard, find balance in the sacrifice
And yet I don’t know anybody who’s truly satisfied
2
-ท่อนนี้แม่งใช่เลย คนวัยทำงานน่าจะชอบ (แค่เอ่ยถึง อุปทานความแก่ของผู้เขียนทันที 😩) เหมือนเจ๊แกมองมาที่ตัวเองและคนอื่นๆเหมือนกันว่า ไอ้ที่ work life balance เนี่ยมันไม่มีจริงหรอก ใครมันจะทำได้ซักกี่คนเชียว เป็นอีกหนึ่งเพลงฟีลกู๊ดที่แทรกมาได้จรรโลงใจมาก 6 นาทีกว่าก็อิ่มเอมพอ 12 นาทีจะยืดเกินมั้ยหว่า ต่อมา All Night Parking อันนี้ก็เซอร์ไพรส์ตรงที่ไม่ได้มาเวย์เปียโนแจ๊สเรียบหรูแซมเปิ้ลจากศิลปินผู้ล่วงลับชั้นครู Erroll Garner เพียงอย่างเดียว ยังมีบีท trip-hop ตึบๆเจือด้วย ประหนึ่งเจ๊แกเพิ่งเจอรักใหม่ที่ทำให้ใจเต้นรัว บรรยากาศส่วนตัวภายใต้ฝนพรำ นานๆทีจะเห็นเจ๊แกทำเพลงสไตล์ฝันหวาน ร้องเพลงด้วยเสียงสองแอ๊บแบ๊ว อย่างว่ามันเป็นความรู้สึกดีที่เกิดขึ้นเพียงชั่ววูบเท่านั้น
-หลังจากที่ออกไปท่องราตรี hang out ปิ๊งรักใหม่แค่แป๊บเดียว กลับถึงบ้านปุ๊บ ภาพเก่าของความสัมพันธ์ครั้งก่อนก็แว๊บขึ้นมา เธอก็ตัดพ้อสามีเก่าทันทีในเพลง Women Like Me มาในสไตล์บอสซ่าโนว่าสุดแห้งแล้งอิงบริบทใจที่เปล่าเปลี่ยว หาเหตุผลต่างๆนาๆของการเฟลในความสัมพันธ์ โทนการร้องยังคงประนีประนอมดูไม่เกรี้ยวกราด แต่แอบมาในเชิง diss ถ้าคนที่เธอกล่าวถึงโดยนัยได้ยินเพลงนี้อาจมีสะดุ้งได้ เพราะเล่นด่าสันดานดิบโต้งๆเลย ซึ่งเธอก็กลั่นความรู้สึกนี้ออกมาหลังจากหย่าร้างใหม่ๆด้วย
-ส่วน Hold On ที่เธอยกให้เป็น centerpiece ในอัลบั้มชุดนี้ก็มีแนวทาง self-worth จรรโลงใจไม่ต่างจาก I Drink Wine เช่นกัน เพียงแต่เพลงนี้เป็นการให้กำลังใจ มอบความหนักแน่นในตัวเองให้ใจเย็นเรื่องความรัก ให้เวลาเยียวยา ซักวันต้องเป็นของเรา ทั้งนี้เธอชวนเพื่อนๆของเธอในชีวิตจริงมาร่วมร้องเพลงนี้ด้วย มันเลยห้อมล้อมด้วยกลิ่นอายของมิตรภาพมากกว่านั่งคนเดียวจิบไวน์ชิวล์ๆ ความยาว 6 นาทีไม่แพ้กัน เอื้อนเยอะกว่า ช้าๆยืดๆสมชื่อเพลงเข้าไปอีก
1
-อีกหนึ่งแทร็คที่ยืดพอกัน แต่โชว์พลังเสียงได้จักสำคัญอย่าง To Be Loved นี่เป็นเพลงที่โคตร surrender เลยครับ ภายใต้การเค้นพลังเสียงทรงพลังอันหาที่สุดมิได้ ข้างในแม่งแตกสลายมากๆ โอเคชั้นยอมแพ้ดีกว่าหลอกตัวเองไปวันๆ ให้ทุกคนรับรู้ไปเลยว่าชั้นพยายามสุดตัวแล้วโว้ย
Ain’t it funny how the mighty fall?
Looking back I don’t regret a thing
-ชอบประโยคนี้เอามากๆ เป็นการทิ้งชื่อเสียงเงินทองไว้ข้างหลังเลย ยอมรับความล้มเหลวแต่โดยดี เป็นเพลงที่ตีความ “รักคือการเสียสละ” ได้อย่างแตกฉานมากๆ พลังเสียงขั้นสุดของเธอเป็นที่เอกฉันท์จริงๆว่า เธอคือ Diva คนเดียวเท่านั้นที่จะสามารถถ่ายทอดเพลงนี้ได้อย่าง emotional หนักแน่นทุกอณู Tobias Jesso Jr. ที่เคยร่วมงานกับเธอในเพลง When We Were Young ในชุด 25 เหมือนแกจะถนัดให้อเดลเค้นศักยภาพขั้นสุดเหมือนกัน ต่อให้ภาคดนตรีไม่มีอะไรเลยนอกจากบัลลาดเปียโนเปลือยๆ แค่เสียงเจ๊ก็ไปไกลเกินกว่าจะโหมกระหน่ำด้วยดนตรีแล้วจริงๆ เป็นเพลงรองสุดท้ายที่สร้างโมเมนต์โลกหยุดหมุนได้จริงๆ ไม่แปลกใจที่เจ๊แกจะไม่พยายามแสดงสดเพลงนี้ เหมือนเปลือยหมดทุกสิ่งอย่างเพื่อลูกชายและความล้มเหลวในความสัมพันธ์ที่ผ่านมาแบบสัตย์จริงลงในเพลงนี้หมดแล้ว
-ปิดท้ายด้วยโมทาวน์สุดแช่มชื้นอย่าง Love Is A Game ที่ตัดพ้อเรื่องความรักที่ล้มเหลวแบบยิ้มทั้งน้ำตา กลเกมรักมีไว้เพื่อคนโง่อย่างเราหลงกลเข้าไปเล่นก็เท่านั้น มันโหดร้ายเกินไปที่จะก้าวข้าม ซับซ้อนเกินที่จะแก้โจทย์ ฟังดูตัดพ้อความรักในเชิงเข็ดแล้วจ้าที่รัก ทั้งนี้ด้วยโทนดนตรีที่มาในโทนบวก มโหรีออเครสตร้าจัดเต็มประหนึ่งเพลงละครเวทีก็ทำให้บริบทดังกล่าวไม่ได้ถูกย้อนแย้งด้วยสาสน์ของเพลง ต่อให้กลเกมรักที่เธอเข้าไปเล่นจะจบด้วยรักที่เป็นพิษ แต่เธอก็ไม่ปิดกั้นเรื่องความรัก จบอัลบั้มแบบทิ้งเชื้อแห่งความหวัง พร้อมมูฟออน เปิดหูเปิดตาเปิดใจต่อไป
-ย้อนไปที่ Hold On ผมพยายามชอบเพลงนี้ เนื่องด้วยบริบทและไอเดียเพลงที่มอบพลังใจ สามารถซื้อใจผมได้เกินครึ่ง แต่เจ๊แกกลับเอื้อยอิ่งด้วยความ slow motion เกินไปเนี่ยแหละ เลยชอบได้ไม่เต็มที่เท่าไหร่นัก แต่เหนือสิ่งอื่นใด เสียงอันทรงพลังของเธอกลับทำให้ความยืดนั้นดันน่าฟังเป็นพิเศษตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเป็นประจักษ์คือเพลง To Be Loved เนี่ยแหละ ถ้าร้องเพี้ยน ถ่ายทอดไม่ถึงนี่เท่ากับกร่อยโดยอัตโนมัติเลย