29 พ.ย. 2021 เวลา 00:11 • การตลาด
ทำไมนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงกลัวการแพร่ระบาดของ Covid กลายพันธุ์ Omicron เรื่องนี้มีความเกี่ยวพันการการตลาดอย่างบังเอิญด้วย
Credit: Action News Now
จากการเปิดเผยของ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดเผยว่า "โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่" ที่ชื่อว่า โอไมครอน (Omicron) ซึ่งทางองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้เตือนว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวล (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ 27 พ.ย. 64, "โควิดสายพันธุ์ใหม่" โอไมครอน กับความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อ)
โอไมครอน (Omicron) มีจุดเริ่มต้นจากการแพร่ระบาดในทวีปแอฟริกา ที่เป็นพื้นที่ที่พบว่ามีบุคคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีนครบเพียง 25% ทั้งที่เป็นบุคคลากรด่านหน้าที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อโดยตรง
ในส่วนของประชาชนทั่วไปในทวีปนี้ พบว่ามีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพียง 7% จากจำนวนประชากรทั้งทวีปรวมกันประมาณ 1,200 ล้านคน ที่มีสาเหตุหลักมาจากการส่งมอบวัคซีนที่ล่าช้า ประกอบกับความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ด้วย (ที่มา: เดลินิวส์ 27 พ.ย. 64, บุคลากรการแพทย์ในแอฟริกาได้รับวัคซีนโควิดครบเพียง 25%)
Credit: Africa ramps up vaccine drive as COVID cases surge | Africa | DW |
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 64 มีรายงานว่าตรวจพบเชื้อกลายพันธุ์ครั้งแรกในประเทศบอทสวานา ทวีปแอฟริกา หลังจากนั้นก็พบการระบาดในประเทสแอฟริกาใต้ เพียงไม่กี่วันก็พบการแพร่ระบาดไปที่ฮ่องกง อิสราเอล และเบลเยี่ยม เป็นการระบาดไปกันคนละทิศละทาง
ทั้งที่แต่ละประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย ก็มีการประกาศห้ามผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงนี้เดินทางเข้าประเทศแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสร้างความกังวลอย่างมากให้กับทุกชาติ โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์
ในอดีตที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยเฉพาะไวรัส ไม่เคยสามารถหยุดการแพร่ระบาดได้เลย อย่างมากก็ทำได้เพียงชะลอ สุดท้ายแล้วเชื้อก็เข้ามาแพร่ระบาดอยู่ดี เราสามารถย้อนดูข้อมูลย้อนหลังในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จากการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย
หากจะสามารถป้องกันไม่ให้มีผู้นำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศได้ ต้องมีการควบคุมไม่ให้บุคคลภายนอกประเทศเข้ามาได้ โดยความเป็นจริงแล้วไม่มีทางทำได้เลย แม้ว่าประเทศจะตั้งอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือหรือใต้ จะเป็นเกาะที่ภูมิประเทศไม่ติดกับประเทศใดก็ตาม
Credit: Deccan Herald
นั่นก็เพราะว่าไม่มีประเทศไหนที่สามารถควบคุมไม่ให้มีการเล็ดลอดเข้ามเมืองได้จากช่องทางธรรมชาติต่าง ๆ และหากเขาจะเข้ามาเขาก็สามารถหาช่องทางเข้ามาได้อยู่ดี
แต่ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดแบบบังเอิญ ในเรื่องของการแพร่ระบาดนั่นก็คือ การตลาดรู้ว่าคน ๆ หนึ่งสามารถขยายผลลัพธ์ไปสู่คนอีกจำนวนมากได้ ด้วยการบอกปากต่อปาก จาก 1 เป็น 2 และจาก 2 เป็น 4 เป็น 16 เป็น 32 และต่อไปเป็นแสนเป็นล้าน
1
นักมานุษยวิทยาและจิตวิทยาชื่อ Robin Dunbar (1992) พบว่า “มนุษย์มีเพื่อนได้มากที่สุด 150 คน” ตัวเลขนี้เรียกว่า Dunbar’s Number นั่นหมายถึงว่าคนๆหนึ่งมีโอกาสแพร่เชื้อให้คนอีก 150 คนได้ โดยอาจจะรู้จักกันโดยตรงหรือไม่ก็ตาม
Credit: https://thestatestimes.com/post/2021071707#
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อต่างๆ ในอดีตการรับรู้ของผู้คนจำนวนอาจจะใกล้เคียง แต่จากการเข้ามาของ Social Media และการพัฒนาก้าวกระโดดของอินเตอร์เน็ต จึงทำให้คนๆหนึ่งรู้จักคนได้อย่างไม่จำกัด
แต่ Dunbar’s Number คือการที่คนๆหนึ่งสามารถขยายผลไปยังคนอีก 150 คน จะด้วยการติดต่อโดยตรงหรือไม่ก็ได้ เราลองนึกภาพดูว่าคนหนึ่งคนกระจายเชื้อไปได้ถึง 150 คน แล้วเราลองเอา 150 คูณกันไปเรื่อย ๆ เราจะพบว่าเพียงไม่กี่วันหากไม่มีการควบคุม ตัวเลขนี้จะกลายเป็นหลักล้าน
จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมทั่วโลกไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ หากดูจากทฤษฎีของ Robin Dunbar ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลย ว่า 1 ใน 150 คนไหนที่จะนำเชื้อเข้าสู่ประเทศ ทำได้มากสุดคือการชะลอไว้ เพื่อจะได้หาทางเตรียมตัวรับมือได้ทัน
ที่มา: Twitter
และการแพร่ระบาดจะสามารถชะลอออกไปได้อีก หากผู้คนในประเทศยกการ์ดสูงไว้ตลอดเวลา เพราะลดการ์ดเมื่อไรไม่ใช่แค่เพียงตัวเราที่อาจจะรับเชื้อตัวนี้ แต่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อคนทั้งประเทศก็ได้
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สนใจลงทุนธุรกิจใรธุรกิจด้านสุขภาพ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสูงสุดของโลกของการผลิต Essential Oil ที่สามารถแก้ไขปัญหาไมเกรน แพ้อาการ นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน กระชับสัดส่วน เป็นต้น
ติอต่อได้ที่ http://doterra.myvoffice.com/foryourbeloved/
โฆษณา