นั่นจึงทำให้การที่บริษัทจะเข้าซื้อกิจการอื่นเพื่อสร้างการเติบโตและการออกแบบ Microprocessor หรือ CPU ที่มีพลังในการประมวลผลสูง ซึ่งต้องใช้งบในการวิจัยและพัฒนาที่สูง ให้สามารถแข่งกับคู่แข่งในเวลานั้นเหมือนกับ Intel จึงเป็นไปได้ยาก
2
โดยคุณ Steve Furber ซึ่งเป็นนักออกแบบอุปกรณ์รวมถึง CPU ของ Acorn Computers ได้รับมอบหมายในการออกแบบและพัฒนา CPU ร่วมกับ Sophie Wilson ผู้ช่วยของเขา เพื่อมาทำการแข่งขันในตลาด
4
ในขณะที่คุณ Steve และคุณ Sophie กำลังนั่งคิดถึงวิธีที่จะพัฒนา CPU อยู่นั้น
ซึ่งจะแตกต่างกับแบบ CISC หรือที่เรียกว่า Complex Instruction Set Computing คนละขั้วเพราะ CISC เป็นการออกแบบชิปที่มีความซับซ้อน
จึงทำให้มีความสามารถในการประมวลผลสูง แต่ก็แน่นอนว่าต้องแลกมากับการใช้พลังงานที่มากตามไปด้วย ยกตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันดี ก็เช่น CPU ในตระกูล x86 ทั้งหลายของ Intel
หลังจากค้นพบต้นแบบของชิปที่เขาจะนำมาผลิตแล้ว คุณ Steve Furber กับคุณ Sophie Wilson จึงได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาชิปของ Acorn Computers
หนึ่งในสินค้าที่คิดค้นขึ้นมา ก็คือ “Apple Newton” ซึ่งถือเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเครื่องแรกของโลก และด้วยความที่ Newton เป็นอุปกรณ์พกพา ทำให้ต้องการ CPU ที่เน้นการประหยัดพลังงานมากกว่าการประมวลผล
ซึ่งแน่นอนว่าชิป ARM ซึ่งเป็นชิปที่ถูกออกแบบมาให้มีการประหยัดพลังงานอยู่แล้ว สามารถตอบโจทย์ Apple Newton ได้เป็นอย่างดี
1
แม้ Apple เองจะต้องการชิป ARM ของทาง Acorn Computers แต่ Apple ที่มีรายได้หลักมาจากคอมพิวเตอร์อย่าง Macintosh ก็ได้มองว่าในอนาคต Acorn Computers อาจเติบโตมาเป็นคู่แข่งได้
2
ด้วยเหตุนี้เองทำให้ Apple จึงเลือกที่จะทำข้อตกลงกับทาง Acorn Computers โดยให้ทาง Acorn Computers ทำการแยกหน่วยงานที่พัฒนาชิป ARM ออกมา แล้วตั้งเป็นบริษัทใหม่ร่วมกับ Apple และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น “Advanced RISC Machine” หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า ARM
ซึ่งก่อนหน้านี้ VLSI Technology เองเป็นบริษัทที่คอยผลิต ROM ส่งให้ทาง Acorn Computers
1
นอกจากนี้ก็ยังเคยร่วมมือกับ Apple ในยุคของ สตีฟ จอบส์ ในการออกแบบและผลิตชิปสำหรับคอมพิวเตอร์ Macintosh อีกด้วย
1
หลังจากนั้น ARM ก็มุ่งหน้าพัฒนาชิปของตัวเอง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1993 ทาง Apple ได้เปิดตัว Apple Newton ที่ใช้ชิป ARM610 RISC แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด
5 ปีหลังจากเริ่มทำการวางขาย เครื่อง Newton สามารถขายได้เพียง 200,000 เครื่อง คิดเป็นยอดขายเพียง 4,500 ล้านบาท
ด้วยความล้มเหลวนี้เอง นับเป็นหนึ่งในความล้มเหลวที่ส่งผลให้ John Sculley ถึงกับต้องออกจาก Apple ไป
1
แม้ John Sculley จะออกจาก Apple ไปแล้ว
แต่สิ่งหนึ่งที่เขาทิ้งไว้ให้กับ Apple คือ เทคโนโลยีของ ARM
ซึ่งไม่มีใครคิดว่ามันจะกลายเป็น “ไพ่ใบสำคัญ” ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากกับ Apple ในเวลาต่อมา..
1
ในยุคหลังจากที่ สตีฟ จอบส์ พา Apple ผ่านวิกฤติของบริษัทในช่วงทศวรรษ 1990 มาได้แล้ว
จุดเปลี่ยนสำคัญของ Apple และ ARM ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2008 เมื่อ Bob Mansfield ผู้บริหารด้านฮาร์ดแวร์ของ Apple ได้จ้าง Johny Srouji วิศวกรชาวอิสราเอล เข้ามาทำงานที่ Apple
ซึ่ง Johny Srouji มีประสบการณ์ทำงานมาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง Intel และ IBM
1
โดย Johny Srouji เข้ามามีบทบาทในการออกแบบและพัฒนา “System on Chips” หรือ ระบบบนชิปที่ใช้นวัตกรรมของชิป ARM เป็นหลัก หรืออาจพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการออกแบบทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์บนชิป ให้สามารถทำงานร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2
จนในที่สุด Apple ก็ได้คลอดชิปเซตที่มีการออกแบบทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์