29 พ.ย. 2021 เวลา 13:45 • ปรัชญา
บทที่ 1 : วิทยาศาสตร์ กับศาสนา(อิสลาม) ไปด้วยกันไม่ได้จริงหรือ ?
พูดถึงวาทกรรมหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายปฏิเสธพระเจ้า(Atheist) มักจะกล่าวว่า "วิทยาศาสตร์กับศาสนาไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้" ทั้งที่จากบทก่อนหน้าทั้งความหมายของวิทยาศาสตร์ และศาสนา ไม่ได้มีความขัดแย้งกันแต่อย่างใด วิทยาศาสตร์คือเรื่องของการพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ "เท่าที่วิทยาศาสตร์จะสามารถไปถึงได้" ดังน้้น เราจึงไม่เคยเห็นนักวิทยาศาสตร์พยายามหาทางพิสูจน์นรก สวรรค์ เพราะนักวิทยาศาสตร์ทุกคนทราบอยู่แล้วว่า "ศาสตร์นี้มันไปไม่ถึงจุดนั้นตั้งแต่แรกแล้ว" (อ.อามีน ลอนา) ส่วนศาสนาเป็นเรื่องของ จริยธรรม การกำหนดความดี ความชั่ว ผลตอบแทนในโลกหลังความตาย บอกถึงเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ ซึ่งศาสนาอิสลามไม่ได้ปฎิเสธ สิ่งที่พระเจ้า สร้างมาว่ามันไม่มีเหตุ ผล และกลไกต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เช่น เรื่องการกำเนิดมนุษย์ การโคจรของดวงดาว การที่อัลกุรอ่านกล่าวว่าสเปิร์มของผู้ชายเป็นตัวกำหนดเพศของเด็ก เป็นต้น
ดังที่กล่าวมา วิทยาศาสตร์เป็นแค่เครื่องมือหนึ่งที่พิสูจน์สิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ และการพิสูจน์นั้นไม่ได้หมายถึง การสรุปว่าพระเจ้าที่อิสลามกล่าวไม่มีอยู่จริง เช่น หากคุณพบกับ "นาฬิกา" ซึ่งคุณไม่เคยเห็น หรือรู้จักกลไกมันมาก่อน จนกระทั่งคุณได้แกะ ดูส่วนต่าง ๆ จนทราบหลักการทำงานทั้งหมด แต่ถามว่าการที่คุณทราบว่า กลไกเหล่านั้นมันทำงานอย่างไร จะเป็นคำตอบว่า ไม่มีผู้ที่สร้างนาฬิกานี้อยู่งั้นหรือ
เช่นเดียวกัน การที่วิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ได้หมายความว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง ศาสนาไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ความคิดเหล่านี้อาจมาจากแนวคิด "Secularism" ที่แยกศาสนากับชีวิตออกจากกัน
ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อพระเจ้า เช่น
  • 1.
    บาทหลวง ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ (Georges Lemaître) หรือคือผู้ที่เสนอแนวคิดทฤษฎีบิ๊กแบง ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถูกยอมรับมากที่สุด โดย Georges Lemaître ได้เสนอว่า เอกภพมีจุดเริ่มต้นจากจุดเพียงจุดเดียว จุดเล็กๆ ที่มีความหนาแน่นสูง หรือที่เรียกว่า “อะตอมดึกดำบรรพ์” (Primeval Atom) ก่อนจะเกิดการระเบิดและขยายตัวจนมีขนาดใหญ่แบบปัจจุบัน
  • 2.
    Abu All al-Hasan ibn al-Hasan ibn al-Haytham หรือ อัลฮาเซน(Alhazen) เขาได้ถูกนับเป็นนักดาราศาสตร์ นักเคมี นักฟิสิกส์ นักกลอน นักคณิตศาสตร์ นักธรณีวิทยา นักตรรกศาสตร์ นักจิตวิทยา เป็นผู้รู้ เป็นทหาร เป็นประชาชนที่ดีของรัฐอิสลาม รวมทั้งเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องศาสนา เขาได้เขียนหนังสือในเรื่องทางการแพทย์หลายเล่ม อิบนุซีนา บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นชีคุรฺเราะอีส الشيخ الرئيس (ประธานผู้รอบรู้) ชาวตะวันตกจะนับว่าเป็นผู้นำทางการแพทย์และบิดาแห่งการแพทย์ศาสตร์สมัยใหม่
และท่านอื่น ๆ อีกมากมาย
Georges Lemaître
ภาพหน้าหนึ่งของหนังสือ القانون في الطب (Canon of Medicine) เล่มที่ 5
จากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำตอบว่าทำไม "วิทยาศาสตร์ กับศาสนา(อิสลาม) ไปด้วยกันไม่ได้จริงหรือ ?" ถึงไม่เป็นความจริง ครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงในเรื่อง "มนุษย์มีสามัญสำนึกที่มีมาแต่เกิดว่า..." (โปรดติดตามบทถัดไป อินชาอัลลอฮฺ)
"ยิ่งความลึกลับของพระเจ้าขัดแย้งกันมากเท่าไรก็ยิ่งมีเกียรติมากขึ้นเท่านั้น พระเจ้าก็ยิ่งแสดงให้เกียรติในการเชื่อมากขึ้นเท่านั้น และผู้มีเกียรติคือชัยชนะแห่งศรัทธา"
(Francis Bacon)
وَلَقَدْ خَلَقْنَا الْإِنسَانَ وَنَعْلَمُ مَا تُوَسْوِسُ بِهِ نَفْسُهُ وَنَحْنُ أَقْرَبُ إِلَيْهِ مِنْ حَبْلِ الْوَرِيدِ
"และโดยแน่นอน เราได้บังเกิดมนุษย์มา และเรารู้ดียิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก"
(กอฟ : 16)
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
อ้างอิง
โฆษณา