Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความลับทางการเมือง
•
ติดตาม
29 พ.ย. 2021 เวลา 16:06 • การเมือง
บทที่ 1
ปฐมบททางการเมืองของประเทศไทยต้องขอกล่าวย้อนไปถึงปีพุทธศักราช 2475 ในรัชกาลที่ 7ซึ่งเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองไปสู่การปกครองรูปแบบใหม่จากเดิมเป็น 'ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์' หรือการปกครองโดยกษัตริย์เพียงองค์เดียว ไปเป็นการปกครองที่ถูกกล่าวขานกันว่าเป็น 'ระบอบประชาธิปไตย'
ขังรวมไก่
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประชาชนคนไทยก็รับมรดกจากคณะปฏิวัติที่ทำการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเรื่อยมา..
หลายอย่างถูกเปลี่ยนแปลงโดยคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติในสมัยนั้น กับการที่ต้องรีบร้อนเร่งรีบเพื่อทำหลายสิ่งหลายอย่างให้ทันต่อเหตุการณ์และเพื่อหยุดยั้งการต่อต้านที่จะก่อเกิดขึ้นได้ในทุกขณะ ณ เวลานั้นนับว่าไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายอย่างแน่นอน
ระบบหลายอย่างถูกปรับเปลี่ยน กระบวนการระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน และแน่นอนว่าทุกอย่างต้องอยู่ในการควบคุมของคณะปฏิวัติในสมัยนั้น
สัญลักษณ์ต่างๆมากมายที่ตรงกับเลข 6ได้ถูกสรรสร้างและก่อกำเนิดขึ้นเพื่อจะต่อสู้กับสัญลักษณ์ของระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พวกเขาได้ทำการปฏิวัติการปกครอง
เราไปดูตัวอย่างแรกของการสร้างสัญลักษณ์เพื่อต่อสู้และยกชูให้ประชาชนได้เห็นอย่างเป็นรูปประธรรม
2
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ตรงใช้ออกแบบให้มีความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ปฏิวัติการปกครอง
อย่างที่กล่าวมาสัญลักษณ์ที่เป็นรูปประธรรมเพื่อให้ปรากฏแก่สายตาของประชาชนมีความเกี่ยวข้องกับเลข 6 เป็นอย่างมากโดยเฉพาะ 6 พระขรรค์ที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอันไม้ถึงหลัก 6 ประการของคณะราษฎรในสมัยนั้นอันได้แก่
1.
จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.
จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.
ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.
จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกันไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิมากกว่าเช่นที่เป็นอยู่
5.
จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพมีความเป็นอิสระเมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
6.
จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
1
เราลองถอดรหัสหลัก 6 ประการของคณะราษฎรว่ามันคืออะไร
1
✓
1) เอกราช
✓
2) ความปลอดภัย
✓
3) เศรษฐกิจ
✓
4) เสมอภาค
✓
5) เสรีภาพ
✓
6) การศึกษา
เริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีหลักการ 6 ประการที่คณะราษฎรในสมัยนั้นได้ดำเนินการและบัญญัติขึ้นมาซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากที่หลัก 6 ประการนี้มิได้เป็นรัฐธรรมนูญ
แต่คณะราษฎรได้กระทำการดำเนินการสร้างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ขึ้นเป็นฉบับแรก
และน่าเศร้าใจที่สุดที่คณะราษฎรในสมัยนั้นได้ลดระดับหลัก 6 ประการให้เหลือเป็นเพียงแค่อุดมการณ์หรือปรัชญาทางการเมืองการปกครองและใช้เป็นแนวปฏิบัติ
แย่ไปกว่านั้นได้ใช้ความพยายามในการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักการให้สอดคล้องกับการเป็นอยู่ของคนไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้เข้ากับครรลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอารยธรรมประเทศ
รัฐธรรมนูญไทย เป็นหลักการ หรือ วิธีการ
ถ้าเรามาทำความเข้าใจเรื่อง 'หลักการ' ซึ่งมีความหมายว่าเป็น สาระสำคัญที่กำหนดไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ
ภาษาอังกฤษพูดว่า principle ซึ่งหมายถึงความคิดรวบยอดที่ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงสามารถใช้เป็นหลักในการอ้างอิงและเป็นที่เข้าใจตรงกัน
นอกจากนี้มันยังมีความหมายว่า เป็นหลักธรรม หรือ หลักความถูกต้องชั่วดี ซึ่งคือกฎทางศีลธรรม หรือหลักความเชื่อเกี่ยวกับความถูกต้องชั่วดีที่ควบคุมพฤติกรรมของคนหนึ่งไว้
พูดกันให้ชัดขึ้น principle หมายถึง หลักการ ซึ่งคือแนวคิดพื้นฐานที่ยึดถือเป็นแนวในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
1
และเมื่อเราใช้คำประสมเป็น 'หลักการของประชาธิปไตย' หรือ the principle of democracy ซึ่งแปลได้ตามนั้น
ซึ่งสิ่งนี้ควรจะเป็นปฐมบทเบื้องต้นของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง เพราะว่า หลักการนั้นย่อมนำไปสู่วิธีการ หรือการนำไปสู่ หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ซึ่งประเทศไทยของเรานั้นควรจะแยกหลักการออกจากวิธีการปกครองให้ชัดเจน แต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในปีค.ศ 2564 ที่เรายังใช้กันอยู่ณขณะนี้ รวมสิริอายุของรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขยกร่างกันใหม่เรียนอายุกันแล้วก็เป็นเวลา 89 ปี
ดังนั้นประเทศไทยของเราจึงมีรัฐธรรมนูญที่ผสมปนเป เต็มไปด้วย 'หลักการ' ที่ปะปนกับ 'วิธีการ' นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา ฉะนั้นรัฐธรรมนูญของประเทศไทยจึงมีจำนวนหน้ากระดาษที่มากมายมหาศาลเมื่อนับรวมทุกฉบับที่เคยได้เกิดขึ้นและมีใช้ในประเทศนี้
หลักการ ต้องนำ วิธีการ
เจาะให้ลึกดูกันให้นานๆว่ามีมาตราไหนใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 279 มาตรา เข้าไปอ่านกันทีละมาตราซิว่ามาตราไหนมีอะไรที่เป็นหลักการและมีส่วนไหนที่เป็นวิธีการ
ซึ่งเป็นที่มาของคำกล่าวก่อนหน้านี้ว่ามันเป็นรัฐธรรมนูญที่เต็มไปด้วยการปะปนผสมด้วยหลักการและวิธีการจนทำให้เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดความวุ่นวายของประเทศนี้
เราจะยกตัวอย่างใน 'มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้' จะเห็นว่าข้อความในมาตรา 1 มี 2 ประโยค
จะเห็นได้ชัดว่าข้อความประโยคแรกเป็นข้อความที่เป็น "หลักการ" ส่วนข้อความท่อนที่สองชัดเจนว่ามันเป็น "วิธีการ"
ท่านเห็นหรือยังว่าเมื่อเริ่มต้นเขียนรัฐธรรมนูญเอาหลักการปะปนกับวิธีการ ก็เป็นการเริ่มต้นก่อให้เกิดปัญหาให้กับระบอบการปกครองที่กล่าวอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย
1
ไปดูกันอีก 1 ตัวอย่างในมาตรา 279 ซึ่งเป็นมาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
มาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
เมื่ออ่านในเนื้อหาสาระส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการแทบทั้งสิ้นแทบจะไม่มีส่วนใดเลยที่เป็นหลักการเพราะมันผสมปะปนจนหาหลักการมิได้เลยและเป็นที่เข้าใจกันดีว่ามาตรานี้ก็คือหนึ่งในการนิรโทษกรรมของคณะรัฐประหารที่ผ่านมานั่นเอง
เมื่อประเทศไทยของเราไม่สามารถแยกเอาหลักการ มาเขียนเป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้นประเทศของเราจึงหนีไม่พ้นของวัฏจักรหรือที่นักการเมืองหลายคนเรียกมันว่าวงจรอุบาทว์ นั่นก็คือการทำรัฐประหาร ซึ่งมีความหมายว่า การยึดอำนาจการปกครอง จากผู้มีอำนาจปกครองเดิม นั่นเอง
ผลดี-ผลเสีย
มันมีเหตุผลมากมายว่าทำไมต้องเขียนรัฐธรรมนูญให้มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้ตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับที่ใช้ในการปัจจุบันนี้
เมื่อเราสันนิษฐานทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ในการทำการปฏิวัติการปกครอง ซึ่งการจะทำให้คณะปฏิวัติดำรงอยู่และสามารถครอบครองประเทศนี้ได้มันมีเงื่อนไขและความลับมากมายซ่อนอยู่อย่างน่าฉงนสนเท่ห์ และไม่มีตำราการปกครองฉบับใดกล้าพอที่จะเขียนถึงความลับที่น่าสะพรึงกลัวเหล่านั้น
ยุทธวิธีในการดึงศัตรูเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศจึงเกิดขึ้น รัฐธรรมนูญฉบับแรกจึงบูดเบี้ยวบิดเบี้ยวด้วยกระบวนการหลายอย่างที่เกิดการแทรกซ้อนเบียดบังอย่างแทรกซึม
ในการปฏิวัติครั้งแรก อยากให้ท่านผู้อ่านลองนึกถึงสภาวะที่ต้องเข้าไปอยู่ในห้อง ICU มีความเป็นและความตายอยู่เคียงข้างตลอดเวลา ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากที่ต้องตัดสินใจว่าจะผ่าตัดเพื่อรอดหรือไม่ผ่าตัดเพื่อรอด
ความกระอักกระอ่วนความกดดันในสถานการณ์คงมีมากมายมหาศาล ยากเกินกว่าที่คนสมัยนี้ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์จะเข้าใจและเข้าถึงสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ณ ขณะนี้
แรงกระเพื่อมจากผู้มีอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พร้อมกระชากอำนาจจากคณะปฏิวัติให้คืนกลับดังเดิมนั้นก็มีทุกเมื่อเชื่อวันในทุกๆ นาทีที่คณะปฏิวัติได้เข้ากุมอำนาจและครอบครองอยู่นั้น
สันนิษฐานว่าเหตุการณ์เหล่านี้คงเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นแบบฉบับของประเทศไทยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ผลเสียที่เกิดขึ้น หลายคนก็ประจักษ์รู้อยู่ในความคิดตลอดเวลาว่า ใครที่เป็นคณะรัฐบาลก็คือคณะผู้บังคับใช้รัฐธรรมนูญ เมื่อเป็นเสมือนผู้บังคับใช้รัฐธรรมนูญจึงเป็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นผู้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง
ส่วนการกล่าวอ้างว่าทุกคนอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญในฐานะคนไทย สิ่งเหล่านี้เราก็ถือว่าเป็นจริง แต่ว่า..คนๆ นึงที่มีสถานะเป็นคนไทยและมีตำแหน่งในการบริหารประเทศเพิ่มพ่วงขึ้นมา แน่นอนว่าย่อมมีสถานะมากกว่าประชาชนคนธรรมดาทั่วไป และสถานะเรานั้นจะอยู่เหนือกฎหมาย อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ก็แล้วแต่สติปัญญาของผู้ใดจะสามารถวิเคราะห์และสามารถสรุปข้อมูลเหล่านี้ ก็ย่อมเป็นผนึกของความคิดของแต่ละคนที่จะสามารถคิดวิเคราะห์เอาเองได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นส่วนหนึ่งของความลับมากมายทางการเมืองที่สร้างความวุ่นวายให้กับประเทศไทยมาโดยตลอดและไม่สามารถหลุดพ้นวงโคจรแห่งความอุบาทว์ของบ้านเมืองได้นั่นคือการทำให้ประเทศหลุดพ้นจากการทำรัฐประหารนั่นเอง
ผู้เขียนอยากชี้แจงเพิ่มเติมว่า ทุกๆประโยคหรือทุกๆคำพูดคำเขียนคำอ่านแล้วแต่ว่าใครจะเรียกอย่างไรนั้น ทั้งหมดที่ได้บันทึกเอาไว้นี้เป็นเพียงแค่แนวคิดวิเคราะห์ส่วนเล็กๆ ในอีกแง่มุมความคิดที่บางคนอาจจะคิดได้คิดเหมือนคิดต่าง แค่มีเจตนาในการแบ่งปันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
และแน่นอนว่าข้อความทั้งหมดไม่ได้พยายามกล่าวหาว่าใครดีใครเลวหรือใครผิดพลาดหรือบกพร่อง แต่อยากให้มองภาพรวมและมองเห็นปัญหาปมเงื่อนที่มันมีอยู่และสมควรจะถูกขจัดหรือกำจัดออกไปเพื่อให้ประเทศนี้หลุดพ้นจากความวุ่นวายทางการเมือง
ทั้งหมดนี้เขียนด้วยเจตนารมณ์ที่ดีต่อประเทศไม่ได้จะโค่นล้มระบอบการปกครองอะไรทั้งสิ้นเพราะเชื่อว่าถ้าเราเห็นจุดบอดของประเทศก็ควรจะนำมาบอกกล่าวแล้วได้นำไปแก้ไขเพื่อให้ประชาธิปไตยของประเทศเจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างมั่นคง
ท้ายสุดก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่านจะให้ความเมตตาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหรือไม่อย่างไร ผู้เขียนก็ยินดีชี้แนะในข้อสงสัยหรือประเด็นอื่นๆที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป
ขอบคุณที่ติดตามและเป็นกำลังใจให้ผู้เขียน ได้โปรดกดติดตามและแบ่งปันบทความเหล่านี้ไปสู่สังคมให้ได้วิพากษ์วิจารณ์กันต่อไปด้วยนะครับ
กราบขอบพระคุณท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้
29/11/64
1
การเมือง
การเมืองการปกครอง
รัฐประศาสนศาสตร์
2 บันทึก
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย