30 พ.ย. 2021 เวลา 03:47 • สุขภาพ
ทำไมต้อง โอไมครอน? Why name Omicron?
ใครเป็นคนตั้งชื่อ?
และ ทำไมข้ามตัวอักษรมาตั้ง 2 ตัว
เรียบเรียบโดย : Ezy management by Sipnarong B. SK
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมการตั้งชื่อไวรัส Covid-19 ต้องตั้งชื่อตามตัวอักษรกรีก วันนี้เราจะพักทฤษฎีการบริหารการตลาด มาทำความเข้าใจเรื่องของการตั้งชื่อไวรัส Covid-19 กัน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับโรคระบาดกันก่อน องค์กรดังกล่าวคือ องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (W.H.O.) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลโดยตรงโดยเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆเป็นไปในทิศทางเดียวกันในระดับสากล
องค์การอนามัยโลก หรือ W.H.O. จึงมีบทบาทมากในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในครั้งนี้รวมถึงฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสด้วย
เราจะเห็นได้ว่า เชื้อไวรัส Covid-19 ได้มีการแพร่กลายพันธุ์ไปในประเทศต่างๆ โดยองค์การอนามัยโลก หรือ W.H.O. ก็ได้มีการตั้งชื่อการกลายพันธุ์นี้ด้วยอักษรตามภาษากรีกโบราณ ด้วยเหตุผลต่างๆดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
1. ทำไมไม่ตั้งชื่อตามสถานที่ที่เกิดอย่างเมื่อครั้งเคยเกิดการแพร่ระบาดมาในอดีต เช่น ไข้หวัดสเปน Spanish flu (จริงๆแล้วไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศสเปน) หรือไวรัสอู๋ฮั่น Wuhan Virus หรือแม้กระทั่งมีผู้นำประเทศบางท่านได้เรียกว่า ไข้หวัดจีน Chinese flu ซึ่งการตั้งชื่อดังกล่าว W.H.O. มองว่าเป็นการสร้างตราบาปให้กับประเทศนั้นๆหรือพื้นที่นั้นๆ โดยที่ความเป็นจริง ต้นตอการแพร่ระบาดอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากสถานที่แห่งนั้นจริงๆก็ได้ (ในครั้งต่อไปจะเล่าถึงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของ “ไข้หวัดสเปน” Spanish Flu)
2. การตั้งชื่อ ตามรหัสพันธุกรรม เช่น B.1.1.7 คือสายพันธุ์ แอลฟ่า Alpha หรือ B.1.531 คือสายพันธุ์ เบต้า Beta เป็นต้น ซึ่งหากตั้งตามรหัสดังกล่าว คงมีความสับสนกันไปทั่วโลก
จากเหตุผลดังกล่าวเบื้องต้น องค์การอนามัยโลก หรือ W.H.O. จึงได้ตกลงให้ใช้ชื่อตามตัวอักษรกรีกโบราณ(ดูภาพประกอบ)
แต่ทั่วโลกคงจะคุ้นเคยสายพันธุ์ต่างๆกันมาตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของไวรัส Covid-19 ว่า เราเจอ สายพันธุ์ แอลฟ่า (Alpha) ,เบต้า (Beta) และที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยมากที่สุดคือการระบาดของสายพันธุ์ เดลต้า (Delta)และอีกหลายสายพันธุ์ที่เรียงลำดับตามตัวอักษรมา แต่ไม่มีการแพร่ระบาดไปหลายพื้นที่
1
แต่ล่าสุดสายพันธุ์ที่เพิ่งพบและน่ากังวลที่สุดคือ สายพันธ์ โอไมครอน (Omicron) ที่พบการระบาดที่ประเทศ แอฟริกาใต้ หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า ถ้าไล่เลียงตามตัวอักษรดีๆ จะพบว่า องค์การอนามัยโลก หรือ W.H.O. ได้กระโดดข้ามตัวอักษรมาถึงสองตัว คือ Nu อ่านว่า นิว และ Xi อ่านว่า ซิ หรือ ชิ เรามาดูเหตุผลกันว่า ทำไมถึงมีการตัดสินใจข้ามกันแบบนี้
ตัวอักษรแรก คือ Nu อ่านว่า นิว หรือ new ซึ่งคำว่านิว ไปตรงกับภาษาอังกฤษว่า New ที่แปลว่าใหม่ ซึ่งหากใช้ตัวอักษรนี้ อาจจะทำให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่า คือไวรัสตัวใหม่ ไม่ใช่ไวรัสที่กลายพันธุ์ (ลองนึกภาพว่าเรียกไวรัสว่า นิวโควิด หรือ โควิดนิว)
ตัวอักษรที่สองคือ Xi อ่านว่า ซิ หรือชิ่ ซึ่งการออกเสียงดังกล่าว ไปพ้องเสียงกับชื่อหรือแซ่ของชนชาวเอเชียเราอย่างมาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อหลายๆคนในหลายภูมิภาค
ตัวอักษร O หรือเรียกว่า โอไมครอน หรือ Omicron จึงถูกนำมาตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น
ตัวอักษรตัวต่อไป คือตัว Pi (ตัวเดียวกับสัญลักษณ์ทางสูตรคณิตศาสตร์เรื่องการหาเส้นรอบวงกลม) ซึ่งหวังว่าโลกเราจะไม่ต้องยก ตัวอักษรนี้มาใช้อีกต่อไป
หากชอบในบทความที่เรานำมาฝาก หรือสามรถนำไปปรับใช้กับองค์กรหรือการศึกษาได้ ฝากช่วยกด ไลค์ กดแชร์ และติดตามได้กันในทุกช่องทาง
Facebook : www.facebook fanpage@Ezy Management
Blockdit : www.Blockdit@Ezy Management
โฆษณา