1 ธ.ค. 2021 เวลา 02:57 • ข่าว
เมื่อบริษัทแม่ของบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ระดับเป็นอันดับ 2 กับ 3 ของประเทศอย่าง TRUEและ DTAC ประกาศว่ากำลังดำเนินการเพื่อควบรวมบริษัทลูกเข้าด้วยกันในอนาคต จนเป็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากทั้งในมุมของความกังวลว่าจะเกิดการผูกขาดขึ้นในตลาดโทรคมนาคม การแข่งขันที่อาจจะลดลงหรือไม่แข่งขันกันอีกแล้วเพราะเหลือผู้เล่นที่เป็นเอกชนรายใหญ่เพียง 2 เจ้าคือ AIS และบริษัทใหม่ที่จะถูกตั้งขึ้นมาหลังการควบรวมกันของ TRUE - DTAC จนอาจจะเกิดปัญหาด้านคุณภาพและราคาค่าบริการที่อาจจะตกมาเป็นภาระของผู้บริโภค
ทั้งนี้เมื่อพูดถึงการควบรวมกันในธุรกิจด้านโทรคมนาคมที่ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีผู้แข่งขันน้อยรายตามธรรมชาติอยู่แล้วทั้งจากปัจจัยด้านรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีจำกัดและต้นทุนการเข้ามาทำธุรกิจนี้มีค่อนข้างสูง มีสิ่งที่จะเป็นคำถามตามมาคือหลังการควบรวมแล้วจะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อตลาดโทรคมนาคมและเศรษฐกิจ และหากเกิดผลกระทบขึ้นมาหน่วยงานกำกับดูแลจะต้องมีบทบาทอย่างไรเพื่อไม่ให้ผลกระทบมาตกที่ประชาชนที่ต้องพึ่งพาอาศัยบริษัทเหล่านี้ในการติดต่อสื่อสารกัน
แต่ในขณะที่มีความกังวลดังกล่าวเกิดขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมและการแข่งขันทางการค้าทั้ง 2 หน่วยงานกลับมีท่าทีไม่ชัดเจนว่าจะตกลงการควบรวมนี้ใครกันแน่ที่จะต้องเข้ามาตรวจสอบและต้องออกมามาตรการเพื่อกำกับดูแลการควบรวมบริษัททั้ง 2 แห่งเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอย่างที่คนกังวลกัน
สัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาไทจึงได้ขอสัมภาษณ์ พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตเคยเป็นนักวิจัยของโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) ที่มีบทบาทในการติดตามด้านการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและโทรทัศน์และการจัดสรรคลื่นความถี่ของ กสทช. เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการควบรวมธุรกิจครั้งใหญ่ในธุรกิจโทรคมนาคมครั้งนี้และบทบาทที่ กสทช.ควรจะทำเพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดในตลาดโทรคมนาคม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : True-DTAC จะรวมกัน กสทช.ต้องทำอะไร? https://prachatai.com/journal/2021/11/96101
โฆษณา