1 ธ.ค. 2021 เวลา 05:29 • ประวัติศาสตร์
*** สงคราม 6 วัน ศึกตัดสินชะตาอิสราเอล***
2
“สงคราม” คือเส้นทางที่ชาวอิสราเอลต้องเผชิญมาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ...
ในปี 1967 ประธานาธิบดี ญะมาล อับดุนนาศิร (หรือเราจะเรียกว่านัสเซอร์) แห่งอียิปต์ประกาศระดมพลพันธมิตรจากประเทศ จอร์แดน, อิรัก, และซีเรีย มาเพื่อจุดประสงค์เดียวคือ “การลบอิสราเอลออกจากแผนที่!”
5
อิสราเอลในวันนั้นไม่เหมือนวันนี้ ...พวกเขายังเป็นชาติเกิดใหม่ที่โดดเดี่ยว ขาดพันธมิตรมั่นคง แม้อเมริกาซึ่งต่อมาจะเป็นมหามิตร ในตอนนั้นก็ยังช่วยอิสราเอลแบบแทงกั๊กเพราะยังไม่ชัวร์ทิศทางของตะวันออกกลาง
4
...เมื่อมีศัตรูอยู่รายล้อมรอบด้าน ...การเผชิญหน้าด้วยกำลังทหารเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ อิสราเอลจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อรับมือกับศึกครั้งใหญ่ที่จะตัดสินชะตาชาติ
...เพราะหากพวกเขาพ่ายแพ้ย่อมหมายถึงการสิ้นชาติ!
1
นี่คือเรื่องราวของสงคราม 6 วันที่จะพลิกโฉมหน้าภูมิรัฐศาสตร์ของตะวันออกกลางไปตลอดกาล…
2
*** เส้นทางสู่สงคราม ***
1
ในวันที่ 13 พฤษภาคม 1967 สหภาพโซเวียตซึ่งตอนนั้นเข้าข้างอียิปต์ได้ส่งข้อมูลแก่อียิปต์ว่ากองทัพอิสราเอลกำลังวางแผนบุกโจมตีซีเรีย หลังเกิดประเด็นข้อพิพาทในการใช้แหล่งน้ำจืดจากทะเลสาบกาลิลี หลังอิสราเอลสร้างเขื่อนเพื่อผันน้ำไปใช้ในประเทศ แต่ทางอาหรับอ้างว่าโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทางน้ำของตน จนนำไปสู่การปะทะหลายครั้ง (อย่างไรก็ตามยังเป็นที่ถกเถียงว่าข้อมูลชุดนี้จริงหรือไม่)
1
ขณะที่ผู้นำจอร์แดนก็เรียกร้องให้อียิปต์ออกมากดดันอิสราเอลซึ่งส่งกองทัพเข้ามาโจมตีกลุ่มต่อต้านชาวปาเลสไตน์ในเขตจอร์แดน
ขณะนั้นนัสเซอร์ผู้นำอียิปต์กำลังมีบารมีมาก เพราะเคยประสบความสำเร็จในการนำประเทศผ่านวิกฤตคลองสุเอซ ทำให้เขากลายเป็นความหวังของการรวมชาวอาหรับขับไล่อิสราเอล ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นภัยคุกคาม
1
อียิปต์ตอนนั้นมีกองทัพที่มีกำลังพลและอาวุธเหนือกว่าอิสราเอล ซีเรียก็มีความได้เปรียบด้านชัยภูมิเพราะมีที่ราบสูงโกลัน นัสเซอร์เห็นว่าพันธมิตรฝ่ายตนแข็งแกร่ง จึงประกาศระดมพลครั้งใหญ่พร้อมยื่นคำขาดต่อกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติให้ถอนกำลังออกจากคาบสมุทรไซนายในปีเดียวกัน
ภาพแนบ: ช่องแคบติราน
หลังจากไม่มีอุปสรรคใดๆขวางกั้น กองทัพอียิปต์จึงดำเนินการปิดช่องแคบติราน เพื่อขวางกั้นเส้นทางส่งสินค้าของอิสราเอล
1
ก่อนจะเริ่มวางแผนบุกเข้าอิสราเอล ซึ่งมีพื้นที่ติดกับชาติอาหรับต่างๆให้สิ้นซาก!
*** แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ ***
1
ย้อนกลับไปก่อนนัสเซอร์ระดมพล อิสราเอลได้หน่วยข่าวกรองแห่งชาติอิสราเอลหรือมอสสาดที่มีสายลับกระจายอยู่ทั่ว ได้พยายามรวบรวมข้อมูลมาใช้ตั้งรับ และทราบความเคลื่อนไหวของนัสเซอร์และพันธมิตรเป็นอย่างดี
1
วันที่ 1 มิถุนายน 1967 อิสราเอลได้ก่อตั้งรัฐบาลแห่งชาติเพื่อรับสภาวะฉุกเฉิน พร้อมกับแต่งตั้งให้ โมเช ดายัน วีรบุรุษจากสงครามประกาศอิสรภาพ 1948 มารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหม
1
ตอนนั้นฝ่ายความมั่นคงได้เสนอต่อสภาว่า “อิสราเอลควรเป็นฝ่ายชิงโจมตีก่อน!” เนื่องจากกองทัพอิสราเอลมีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าฝ่ายอาหรับ
นอกจากนี้ภูมิประเทศของอิสราเอลก็ไม่อื้อต่อการตั้งรับเพราะมีพื้นที่คับแคบทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการถูกถล่มด้วยข้าศึกจำนวนมหาศาล (อนึ่งยุทธศาสตร์นี้ได้จากการเรียนรู้ที่อิสราเอลเป็นฝ่ายตั้งรับจากสงครามประกาศอิสรภาพ)
1
ภาพแนบ: กำลังสำรองของอิสราเอลระหว่างถูกเรียกระดมพล
เมื่อมาตรการชิงโจมตีก่อน (Preemtive strike) ได้รับการอนุมัติ รัฐบาลแห่งชาติจึงออกคำสั่งระดมกำลังสำรองเกือบทั้งหมดกลับเข้าประจำการ
ตอนนั้นอิสราเอลระดมกำลังพลได้กว่า 200,000 นาย (บางแหล่งอ้างว่ามีมากถึง 260,000 นาย) พร้อมกับประกาศหาอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในการช่วยสร้างหลุมหลบภัย, โรงพยาบาลสนาม, แม้แต่หลุมศพสำหรับรองรับศึกใหญ่ที่กำลังจะมาถึง ขณะเดียวกันชาวยิวในต่างประเทศก็พากันออกมาขับเคลื่อนระดมทุนเพื่อส่งไปสนับสนุนเพื่อนร่วมชาติไม่ขาดสาย
กองทัพอิสราเอลเร่งฝึกฝนนักบินอากาศอย่างหนักให้เหมือนรบจริง โดยให้ฝึกบินขึ้น/ลง, เติมเชื้อเพลิง, โหลดอาวุธ, และบินกลับขึ้นไปปฏิบัติการเป็นเวลาติดต่อกันเฉลี่ยถึง 8 ครั้งในหนึ่งวัน
นอกจากนั้นพวกเขายังเปิดคอร์สโหดกับพวกทหารบก ฝึกซ้อมให้ทำการเคลื่อนกำลังรบบนทะเลทราย ซึ่งทหารส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าฝ่ายบัญชาการให้ฝึกแบบนี้ไปทำไม
...ทั้งหมดนี้เกิดขณะที่หน่วยมอสสาดพยายามปล่อยข่าวลวงผ่านสื่อต่างๆ ให้ศัตรูประมาทว่าทหารอิสราเอลส่วนมากยังอยู่ระหว่างช่วงพักผ่อน
ภาพแนบ: ภาพจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติการโฟกัส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอากาศยานของอิสราเอลบินในระยะต่ำเพื่อโจมตีเครื่องอียิปต์ที่จอดบนพื้นโล่ง
*** Operation Focus ***
ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 5 มิถุนายน 1967 นักบินอิสราเอลทุกนายพึ่งทราบเหตุผลว่าทำไมพวกเขาถึงต้องทำการฝึกกันอย่างหนัก เพราะเมื่อรุ่งสางมาเยือนอากาศยานเกือบทุกลำได้ถูกส่งไปจัดการกับกองทัพอากาศของอียิปต์ภายใต้รหัสปฏิบัติการโฟกัส (Operation Focus)
1
ยุทธศาสตร์ลับของอิสราเอลในครั้งนี้คือให้ฝูงบินแสร้งหลอกล่อเรดาห์ศัตรู โดยแสร้งบินออกไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก่อนจะหันหัวกลับเข้ามาทำการโจมตีฐานทัพอากาศส่วนหน้าของอียิปต์จำนวน 14 แห่ง!
ภาพแนบ: จรวดต่อสู้อากาศยานรุ่น SA2
แม้ว่าทางอียิปต์จะมีกองทัพอากาศขนาดใหญ่ ทว่าพวกเขากลับไม่ได้วางแผนรองรับการโจมตีทางอากาศดีเท่าที่ควร
3
เครื่องบินแทบทั้งหมดของอียิปต์ยังถูกจอดเอาไว้บริเวณพื้นที่เปิดโล่ง และแม้พวกเขาจะมีจรวดต่อสู้อากาศยาน SA-2 ซึ่งถือว่าทันสมัยในยุคนั้น แต่ในวันที่ถูกโจมตีกลับมีการปิดระบบตรวจจับของจรวดต่อสู้อากาศยานดังกล่าว (เชื่อว่าเพราะเช้าวันนั้นจะมีทหารระดับสูงของอียิปต์บินมาเพื่อรับตำแหน่ง จึงมีการปิดระบบไม่ให้สับสน)
"นี่แหละคือจังหวะทองที่มอสสาดสืบทราบได้!"
ภาพแนบ: ซากเครื่องบินอียิปต์
นักบินอิสราเอลที่ถูกฝึกมาอย่างหนัก ได้ใช้โอกาสนั้นบดขยี้ทัพอากาศอียิปต์อย่างโหด!
1
พวกเขาทำลายเครื่องบินขับไล่และทิ้งระเบิดกว่า 197 ลำในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง! จากนั้นอิสราเอลได้ระดมการโจมตีอีกสองระรอกในระยะเวลาห่างกันเพียงครั้งละ 2 ชั่วโมง! แม้อียิปต์จะไหวตัวตอบโต้ได้บ้าง แต่ก็ไม่มากพอจะเปลี่ยนผลลัพธ์ของสงคราม
...เมื่อการรบจบลงกองทัพอากาศอันเกรียงไกรของอียิปต์มลายหายไปกับกองเพลิง..
ภาพแนบ: ภาพจำลองสนามบินของจอร์แดนและซีเรียที่โดนโจมตี (พื้นที่สีเทาเข้มที่ตั้งบนแผ่นดินสีส้ม)
เมื่อจัดการเด็ดปีกกองทัพอียิปต์ได้สำเร็จ อิสราเอลก็หันมาเล่นงานกองทัพอากาศของซีเรียและจอร์แดนที่พยายามส่งเครื่องบินรุกล้ำเข้ามา ด้วยการบินไปถล่มถึงที่!
ผลจากการโจมตีทำให้กองทัพอากาศขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูงของจอร์แดน (สามารถรบกวนปฏิบัติการของอิสราเอลได้ระยะหนึ่ง) และกองทัพอากาศขนาดกลางของซีเรียถูกทำลายลง เช่นเดียวกับกองทัพอิรักที่นำอากาศยานเข้ามาวางกำลังใกล้กับจอร์แดนก็ถูกทำลายเช่นกัน
ภาพแนบ: เครื่องบินขับไล่ Mirage 3 ซึ่งเป็นอากาศหลักที่ใช้ในการต่อสู้กับฝ่ายอาหรับ
เพียงวันเดียวอิสราเอลสามารถเด็ดปีกกองกำลังทางอากาศของศัตรูจนหมดสภาพ โดยความสำเร็จของปฏิบัติการโฟกัส เป็นการประกาศศักดาตั้งแต่เริ่มรบว่าสงครามนี้พวกเขาจะครองน่านฟ้าแต่เพียงผู้เดียว! และนี่จะเป็นสิ่งที่จะตามหลอกหลอนฝ่ายอาหรับต่อมาอีกนาน
1
ภาพแนบ: ภาพจำลองการเผชิญระหว่างทัพอาหรับ (ซ้าย และ ขวาบน) กับอิสราเอล (กลาง) ที่ถูกโอบล้อมจากทั้งสองข้าง
*** แนวรบคาบสมุทรไซนาย ***
แนวรบไซนายถือเป็นการต่อสู้ที่ใหญ่ที่สุดในสงคราม 6 วัน โดยกินเวลาระหว่างวันที่ 5 - 8 มิถุนายน 1967 หรือสี่วันแรกของสงคราม
โดยในช่วงก่อนสงคราม ทางอียิปต์ตั้งใจใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวส่งทหารเข้าไปยังอิสราเอล ทำให้มีการจัดการวางโครงข่ายป้องกันอย่างแน่นหนาทั้งสนามเพลาะ, ปืนใหญ่สนับสนุน, และกับระเบิดต่างๆ เชื่อว่าสามารถตั้งรับการโจมตีของอิสราเอลได้แน่
...แต่ทุกอย่างมันเปลี่ยนตั้งแต่อิสราเอลสามารถครองน่านฟ้าสำเร็จ...
1
ภาพแนบ: รถถัง Centurion Mk.5 (อิสราเอลเรียกตระกูลนี้รวมๆ ว่า Sho't (แส้ในภาษาฮิบรู) และตามด้วยรุ่นแยกย่อย
ตอนนั้นกองทัพอากาศอิสราเอลบินเข้าโจมตีเป้าหมายต่างๆ จนบอบช้ำก่อนจะเคลื่อนพลกว่า 14,000 นายพร้อมรถถังจำนวน 140 คันเข้าเผชิญหน้ากับทหารอียิปต์ ซึ่งแม้จะถูกทำลายหนัก หากกองกำลังอียิปต์ที่เตรียมตัวมาดีก็ยังสามารถปักหลักต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
...แต่นั่นก็อยู่ในการคำนวณของอิสราเอล…
1
...การฝึกโหดให้ทหารบกเคลื่อนทัพในทะเลทรายก็เพื่อใช้ในจังหวะนี้เอง
1
...รถถังอิสราเอลอ้อมเข้าโจมตีตลบหลังแนวตั้งรับอียิปต์ผ่านทะเลทรายแทนการใช้ถนนหลัก จนสามารถเจาะเข้าแนวป้องกันทางเหนือได้เป็นผลสำเร็จ
ภาพแนบ: ภาพจำลองการเข้าโจมตีฐานปืนใหญ่ของอียิปต์ โดยพลร่มอิสราเอลที่ลำเลียงมาด้วยเฮลิคอปเตอร์ H34 (ซ้ายบนภาพ)
ขณะเดียวกันหน่วยพลร่มอิสราเอลก็เริ่มต้นปฏิบัติการหลังแนวศัตรูเพื่อทำลายฐานปืนใหญ่อียิปต์ แม้ถูกต่อต้านอย่างหนักด้วยปืนครก แต่พวกเขายังสามารถสร้างความปั่นป่วนมากพอที่จะทำให้ปืนใหญ่ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2
...ในที่สุดฝ่ายอิาราเอลซึ่งมีกำลังด้อยกว่า ก็เป็นฝ่ายประสบชัยชนะ ด้วยการข่าว และการวางแผน!
1
ภาพแนบ: ขบวนรถทหารอิสราเอล (ซ้าย) ขณะแล่นสวนกับรถเชลยอียิปต์ (ขวา)
ภายหลังรัฐมนตรีกลาโหมอียิปต์ นายอับเดล ฮาคิม อาเมอร์ ทราบข่าวความพ่ายแพ้ จึงได้ออกคำสั่งถอนกำลังจากแนวรบทำให้ทหารอียิปต์ที่อยู่ในภาวะเสียขวัญต่างล่าถอยแบบทุลักทุเล
จนตกเป็นเหยื่อจากการโจมตีทางอากาศและกองทัพอิสราเอลซึ่งยกกำลังมาดักรอบริเวณทางผ่านไปคลองสุเอซ ซ้ำร้ายยังมีกรณีที่ฝ่ายอียิปต์ยิงปืนใหญ่โจมตีฝ่ายเดียวกันเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นกองทัพศัตรู
...ความผิดพลาดทั้งหมดส่งผลให้ กองทัพอียิปต์จำใจทิ้งยุทโธปกรณ์ทั้งรถถัง, ยานเกราะ, และยานยนต์ทางทหารอื่นๆ ที่ยังอยู่ในสภาพดีเอาไว้ให้อิสราเอลเก็บไปใช้เป็นอันมาก
ภาพแนบ: ซากรถถัง T-34 ของฝ่ายอียิปต์
เมื่อฝ่ายอาหรับย่อยยับแล้ว กองทัพอิสราเอลจึงเข้ายึดครองเมืองต่างๆ ในคาบสมุทรไซนาย จนยึดครองได้อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 8 มิถุนายน 1967 ใช้เวลาเพียง 4 วัน
1
อียิปต์ต้องยอมลงนามข้อตกลงหยุดยิงในวันที่ 9 มิถุนายน 1967 ทำให้กองทัพอิสราเอลสามารถเอาชนะกองทัพฝ่ายอาหรับซึ่งแข็งแกร่งที่สุดได้อย่างเด็ดขาด
ก่อนไปชมเเนวรบจอร์แดนเราขอขั้นโฆษณาด้วย Box Set ซีรีส์ “The Wild Chronicles” ครบชุด 7 เล่ม เปิดให้จองแล้ววันนี้!
หลังจากหนังสือชุด The Wilds Chronicles ที่พิมพ์ครั้งก่อนทุกเล่มขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว ผมจึงมีแผนจะพิมพ์ใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น เป็นปัจจุบันมากขึ้น
และนอกจากนั้นแล้ว เพื่อเป็นการขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามกันมานาน ผมได้จัดทำ Box Set ขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อรวมหนังสือทั้งเก่าใหม่ไว้ด้วยกัน
2
หนังสือในเซ็ต มีดังต่อไปนี้นะครับ:
1. พยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ: เรื่องกบฏพยัคฆ์ทมิฬในศรีลังกาเหนือ ต้นกำเนิดของการก่อการร้ายยุคใหม่
2. เชือดเช็ดเชเชน: เรื่องกบฏชาวเชเชนในรัสเซียใต้ ที่ต้องเผชิญการปราบปรามอย่างโหดสัสรัสเซีย
3. อสุราอาหม: เรื่องประวัติศาสตร์ชาวไทอาหมในอินเดียเหนือ บรรพบุรุษสุดโหดของชาวไทยในปัจจุบัน
4. โลหิตอิสราเอล: เรื่องประวัติศาสตร์การดิ้นรนของชาวยิว และดินแดนอิสราเอล แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่นองเลือดมานานกว่าพันปี
5. ประวัติย่อก่อการร้าย: ที่มาที่ไปของการก่อการร้ายตั้งแต่อดีตกาล และสงครามก่อการร้ายที่ยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
6. สุริยันพันธุ์เคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดอิรักที่ลุกขึ้นสู้กับมหาอำนาจตะวันออกกลางเพื่อความฝันในการตั้งประเทศของตัวเอง
7. ดาวแดงแห่งเคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดซีเรียที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของสตรี
3
ทั้งหมดนี้รวมค่าส่งในราคา 3,150 บาทเท่านั้น! (เฉพาะในประเทศนะครับ ส่วนต่างประเทศคิดราคาตามจริง)
ท่านไหนที่สนใจ สามารถชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย (ระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปด้วยแต่ช้าหน่อยนะครับ)
อนึ่งท่านที่ซื้อหนังสือหรือสั่งจองบางเล่มแยกไปแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเซ็ตนี้ สามารถติดต่อทาง Line OA https://lin.ee/fNEO1jr หรือ Inbox ของเพจเพื่ออัพเกรดได้นะครับ โดยจะคิดราคาตามจริงลดหลั่นไปตามเล่ม ส่วนราคากล่องอย่างเดียว 375 บาท (จะส่งไปแบบพับ ลดปัญหากล่องมุมยับ)
1
ภาพแนบ: ทหารจอร์แดนขณะตั้งรับรอการบุกของอิสราเอล สังเกตุเครื่องแบบ, หมวกเหล็ก, และเครื่องสนามได้รับอิทธิพลจากอังกฤษค่อนข้างมากครับ
*** แนวรบจอร์แดน ***
จอร์แดนถือเป็นประเทศอาหรับเพียงชาติเดียวที่ดำเนินนโยบายแบบเหยียบเรือสองแคมคือเป็นพันธมิตรฝ่ายอาหรับแต่ก็แอบเจรจาแบบลับๆ กับอิสราเอลมาตลอด
ทั้งนี้กองทัพจอร์แดนได้รับการฝึกจากอดีตเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษอย่างดี ทำให้แม้เล็กแต่มีประสิทธิภาพกว่าประเทศอาหรับอื่นๆ นี่ทำให้จอร์แดนเป็นอาหรับไม่กี่ชาติที่พอสู้อิสราเอลได้ในสงครามประกาศอิสรภาพปี 1948 และยังสามารถยึดเขตเวสต์แบงก์ไว้ได้
ช่วงหนึ่งปีก่อนเกิดสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดนตกต่ำลง หลังจากอิสราเอลส่งคอมมานโดกว่า 400 นาย รุกล้ำเข้าไปยังหมู่บ้านซามุห์ (Samu) ในเขตเวสต์แบงก์ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ในการปกครองของจอร์แดน
อนึ่งหมู่บ้านดังกล่าวถูกใช้เป็นฐานสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธฟาตาห์ (Fatah) ของยัสเซอร์ อาราฟัต (ที่ลอบเข้าไปก่อวินาศกรรมอิสราเอลเรื่อยๆ)
ซึ่งตอนนั้นฝ่ายอิสราเอลได้บังคับให้ชาวบ้านทุกคนออกจากที่พำนักก่อนจะเริ่มระเบิดบ้านทุกหลัง!
1
เสียงจากแรงระเบิดส่งผลให้ฝ่ายจอร์แดนส่งทหารราว 100 นายเข้ามาสกัดกั้น จนเกิดการยิงปะทะไปทั่วบริเวณ ...จบลงด้วยความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย เดิมทีทางอิสราเอลคาดหวังว่าการโจมตีครั้งนี้จะเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้กษัตริย์ฮุสเซนแห่งจอร์แดนยุติการสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธ ...แต่มันกลับกลายเป็นการทวีความขัดแย้งให้รุนแรงขึ้น
2
แม้ว่าทางอิสราเอลจะพยายามเปิดช่องทางเจรจาอีกหลายครั้ง ทว่าฝ่ายจอร์แดนกลับหันหน้าลงนามข้อตกลงร่วมทางทหารกับพันธมิตรอาหรับในวันที่ 30 พฤษภาคม 1967 รวมทั้งอนุมัติให้อากาศยานอิรักเข้ามาวางกำลังเสริมตรงชายแดน (ปกติจะไม่อนุญาตให้วางใกล้กันขนาดนี้) เพื่อสนับสนุนหากเกิดสงคราม
ภาพแนบ: เครื่องบินขับไล่รุ่น Hawker Hunter ซึ่งเป็นอากาศยานหลักของ ทอ. จอร์แดน ณ เวลานั้น
เมื่อสงคราม 6 วันเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 1967 กองทัพอากาศขนาดเล็กของจอร์แดนได้ถูกส่งออกไปตามการขอความช่วยเหลือของอียิปต์ (ตอนนั้นอียิปต์รู้แล้วว่าเสียท่า แต่กลัวจอร์แดนไม่ส่งกำลังมาช่วย จึงส่งข่าวลวงว่า “กองทัพอากาศอิสราเอลซึ่งเข้ามาโจมตีถูกทำลายไปมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์” เพื่อเรียกจอร์แดนมารุมตี)
1
แต่อย่างไรที่ทราบว่าตอนนั้นกองทัพอากาศจอร์แดนก็ถูกกองทัพอิสราเอลบดขยี้จนสิ้นสภาพ
ก่อนที่ฝ่ายอิสราเอลจะระดมพลปิดล้อมกรุงเยรูซาเลม (ในส่วนที่จอร์แดนปกครอง) และเริ่มโจมตีด้วยทหารราบและรถถัง
ภาพแนบ: ทหารอิสราเอลขณะทำการรบ
จอร์แดนต้านทานโดยการตั้งรับในตรอกซอกซอย พวกเขาใช้อาคารและถนนย่อยต่างๆ สร้างเป็นเครือข่ายป้องกัน จนฝ่ายอิสราเอลต้องสูญเสียรถถังหลายคัน
ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 6 มิถุนายน หน่วยทหารพลร่มของอิสราเอลได้ระดมกำลังเข้าโจมตีที่มั่นของจอร์แดนรอบโรงเรียนนายร้อยตำรวจในเมืองเยรูซาเลม ก่อนจะรุกคืบสู่แนวตั้งรับบริเวณเนินกระสุน (Ammunition Hill) ซึ่งได้รับการป้องกันอย่างแน่นหนา
1
ภาพแนบ: ชัยภูมิของเนินกระสุน ที่ถูกรายล้อมด้วยบังเกอร์ ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนเข้าชมครับ
กำลังพลทั้งสองฝ่ายต่างทำการสู้รบอย่างดุเดือด จนกลายเป็นการตะลุมบอนระยะประชิดที่คร่าชีวิตทหารอิสราเอล 36 นายและฝ่ายจอร์แดนอีก 71 นาย แม้ทางจอร์แดนจะพยายามต้านอย่างสุดความสามารถแต่กองทัพอิสราเอลก็สามารถเข้ายึดครองพื้นที่ีรอบเยรูซาเลมอื่นๆ อาทิมหาวิทยาลัยฮีบรู, นิคมฮาร์ อดาร์, และอดีตที่อาศัยของชาวอเมริกา (American Colony) ได้เป็นผลสำเร็จ
2
ภาพแนบ: รถถัง M47 Patton ของจอร์แดน ซึ่งเข้าทำการรบกับอิสราเอลอย่างดุเดือด จนยิวต้องส่งกองทัพอากาศมาจัดการ!
เมื่อเห็นฝ่ายจอร์แดนถูกรุกไล่อย่างหนัก กองทัพอียิปต์จึงส่งส่งหน่วยคอมมานโดราว 600 นาย เพื่อลอบเข้ามาก่อวินาศกรรมฐานบินของอิสราเอล โดยมีหน่วยลาดตระเวนจอร์แดนนำทาง ทว่าชุดปฏิบัติการดังกล่าวกลับถูกตรวจพบและโดนสังหารไปมากกว่า 400 นาย ทำให้สมาชิกที่เหลือต้องล่าถอยกลับไปยังจอร์แดน
ลุถึงวันที่ 7 มิถุนายน กองทัพอิสราเอลก็สามารถเข้าเผด็จศึกและยึดครองเขตเมืองเก่าเยรูซาเลมได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนั้นอิสราเอลยังสามารถยึดเมืองครองเมืองเฮบรอน, เยรีโค, และนาบลุส เป็นผลสำเร็จ ก่อนเริ่มต้นกระบวนการเจรจาหยุดยิงในเวลาต่อมาหลังการสู้รบผ่านไปเพียง 3 วัน
ภาพแนบ: ภาพจำลองการเผชิญหน้าระหว่างอิสราเอลและกำลังส่วนหน้าที่ซีเรียส่งมาบุกก่อนจะถูกตีจนแตกพ่ายอย่างรวดเร็ว!
*** แนวรบซีเรีย ***
ซีเรียทะเลาะกับอิสราเอลมาตลอด โดยเคยใช้ปืนใหญ่ที่ตั้งบนราบสูงโกลันยิงลงมาโจมตีเขตชุมชนชาวยิวใกล้กับชายแดน
1
และก่อนสงครามหกวัน ฝ่ายซีเรียได้เคยปะทะกับอิสราเอลจนสูญเสียเครื่องบินรบจำนวน 6 ลำในช่วงเดือนเมษายน 1967 ทำให้ทั้งสองฝ่ายพร้อมเปิดสงครามตลอด!
4
เมื่อลูกพี่ใหญ่อย่างอียิปต์เรียกระดมพลเพื่อเล่นงานคู่แค้นเก่า… ซีเรียจึงเข้าร่วมสงครามด้วยการส่งเครื่องบินและกำลังภาคพื้นดินเข้าโจมตีเป้าหมายในอิสราเอลในวันที่ 5 มิถุนายน 1967 โดยไม่ทราบเลยว่า ...กองทัพอากาศอียิปต์ถูกกำจัดไปเรียบร้อยแล้ว (เพราะอียิปต์ปิดข่าว)
แม้อิสราเอลจะยังไม่ได้รุกตีซีเรียอย่างหนักตอนเริ่มสงคราม เพราะให้ความสำคัญกับแนวรบอียิปต์และจอร์แดนก่อน แต่การประสานงานอันไร้ประสิทธิภาพทำให้ซีเรียไม่สามารถใช้โอกาสตอนเริ่มสงครามอย่างคุ้มค่า และยังถูกกองทัพอากาศอิสราเอลโจมตีฐานทัพใกล้กับชายแดนจนสิ้นสภาพ
ภาพแนบ: รถถัง M50 (ขวา) และ AMX-13 กลาง ของอิสราเอลในสมรภูมิที่ราบสูงโกลัน
ภายหลังจากอียิปต์ยอมรับข้อตกลงหยุดยิงในวันที่ 8 มิถุนายน 1967 คณะรัฐมนตรีอิสราเอลได้อนุมัติแผนการเช็คบิลซีเรีย
โดยอิสราเอลระดมสรรพกำลังไปยังแนวรบที่ราบสูงโกลันอย่างไม่ขาดสาย เพราะต้องการจะยึดครองเขตแดนของฝ่ายซีเรียให้ได้มากที่สุดก่อนข้อตกลงหยุดยิงจะบรรลุผล ทั้งนี้อิสราเอลเล็งเห็นว่าการยึดที่ราบสูงโกลันจากซีเรียจะช่วยสร้างความได้เปรียบด้านชัยภูมิ เพื่อใช้เขตกันชนหากเกิดความขัดแย้งครั้งใหม่
อย่างไรก็ตามหน่วยข่าวกรองอิสราเอลก็ทราบดีว่า… ที่ราบสูงโกลันไม่ใช่ปราการซึ่งสามารถเอาชนะได้โดยง่าย เพราะพื้นที่ดังกล่าวถูกวางแนวป้องกันที่เสริมด้วยคอนกรีต, รั้วลวดหนาม, กับระเบิดสังหาร
ภาพแนบ: ภาพการต่อสู้ระหว่าง M50 (ขวา) ของอิสราเอล และ Panzer IV ของซีเรีย (คันที่โดนยิง) อนึ่งรถถังทั้งสองรุ่นเคยเผชิญหน้ากันมาแล้วในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ในช่วงเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน 1967 อากาศยานของอิสราเอลได้เริ่มระดมกำลังเข้าโจมตีที่มั่นทางทหารด้วยอาวุธนานาชนิด ก่อนที่กำลังภาคพื้นดินจะเริ่มต้นการสู้รบ เมื่อหน่วยทหารช่างอิสราเอลกรูเข้าไปทำลายกับระเบิดเพื่อเปิดทางให้รถถังและยานเกราะสามารถเคลื่อนกำลังเข้าไปได้ ขณะที่ทหารราบหลายนายยอมกระโดดใส่รั้วลวดหนามเพื่อใช้ตัวเองเป็นสะพานให้ทหารคนอื่นๆ สามารถรุกเข้าประชิดแนวตั้งรับ (ให้จินตนาการดูนะครับ การถูกลวดหนามมัดตัวจะทำให้เจ็บหนัก แม้ไม่ตายทันที แต่จะทรมานมาก)
ภาพแนบ: รูปโปสการ์ดการสวนสนามแห่งชัยชนะของอิสราเอล
ความฉลาด ความเร็ว และความโหด ทำให้กองทัพอิสราเอลสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันเอาไว้สำเร็จหลังการสู้รบอย่างทรหดเป็นเวลาสองวัน...
1
และนั่นเป็นการปิดฉากสงครามหกวันอย่างหมดจด…
30. *** บทสรุป ***
ภายหลังข้อตกลงหยุดยิงในวันที่ 11 มิถุนายน 1967 อิสราเอลซึ่งเคยเป็นประเทศเล็กก็สามารถครอบครองพื้นที่บริเวณคาบสมุทรไซนายและกาซาจากอียิปต์, เขตเวสต์แบงก์ของจอร์แดน, และพื้นที่ส่วนมากของที่ราบสูงโกลันในซีเรีย นับเป็นความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งผลักดันให้อิสราเอลกลายเป็นขั้วอำนาจที่ฝ่ายอาหรับต้องหวั่นเกรง และทำให้อเมริกาและพันธมิตรตะวันตกเพิ่มความสนใจในการสนับสนุนในยุคต่อๆ มา
ชัยชนะดังกล่าว เกิดขึ้นได้โดยสติปัญญา และความเด็ดขาดจากการเริ่มโจมตีก่อน เพื่อทำลายกองทัพอากาศฝ่ายตรงข้าม จากนั้นแยกคู่ต่อสู้ไม่ให้สามารถรวมตัวกันติดด้วยการเผด็จศึกทีละแนวรบในเวลาจำกัด นอกจากนี้ระบบระดมกำลังสำรองที่มีประสิทธิภาพของอิสราเอลยังช่วยใช้กองทัพสามารถวางแนวป้องกันที่เข้มแข็งเพื่อรอกำลังหลักเข้ามาเสริม ก่อนจะรุกคืบต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1
ระหว่างวันที่ 5 ถึง 10 มิถุนายน 1967 เป็นเวลาหกวันนั้น กองทัพอิสราเอลต้องเผชิญหน้ากับชาติอาหรับ 3 ประเทศในสมรภูมิที่มีปัจจัยแวดล้อมและความท้าทายที่แตกต่างกัน แต่กลับสามารถเอาชนะได้ โดยสูญเสียทหารเพียง 983 นาย, รถถังราว 400 คัน, และอากาศยาน 50 ลำ
นับว่าเป็นความเสียหายที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศคู่ขัดแย้งที่มีผู้เสียชีวิตมากถึง 18,200 นาย, เสียรถถังอีก 2,000 คัน, และเครื่องบินกว่า 500 ลำ!
ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างเราท่านทราบว่านี่ไม่ใช่ความพยายามทำสงครามครั้งสุดท้ายของกลุ่มประเทศอาหรับ หลังจากนั้นพวกเขายังรบกับอิสราเอลอีกหลายครั้ง และหลายครั้งอิสราเอลก็เป็นฝ่ายเสียท่า ...แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสงครามหกวันคือเหตุการณ์ ที่มีผลกระทบต่อประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง...
ภาพแนบ: พลร่มอิสราเอลแสดงอาการตื้นตันเมื่อมาถึงบริเวณกำแพงร้องไห้ ซึ่งเป็นซากโบราณของพระวิหารที่สองอันมีความสำคัญตามศาสนายิว ภาพนี้สื่อนัยยะว่าชัยชนะในสงครามหกวันทำให้ชาวยิวที่ต้องพลัดพรากจากดินแดนแห่งพันธสัญญานับพันปี สามารถกลับมาครอบครองดินแดนนี้ในที่สุด
แหล่งอ้างอิง:
อีกครั้งนะครับ Box Set ซีรีส์ “The Wild Chronicles” ครบชุด 7 เล่ม เปิดให้จองแล้ววันนี้!
หลังจากหนังสือชุด The Wilds Chronicles ที่พิมพ์ครั้งก่อนทุกเล่มขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว ผมจึงมีแผนจะพิมพ์ใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น เป็นปัจจุบันมากขึ้น
และนอกจากนั้นแล้ว เพื่อเป็นการขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามกันมานาน ผมได้จัดทำ Box Set ขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อรวมหนังสือทั้งเก่าใหม่ไว้ด้วยกัน
หนังสือในเซ็ต มีดังต่อไปนี้นะครับ:
1. พยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ: เรื่องกบฏพยัคฆ์ทมิฬในศรีลังกาเหนือ ต้นกำเนิดของการก่อการร้ายยุคใหม่
2. เชือดเช็ดเชเชน: เรื่องกบฏชาวเชเชนในรัสเซียใต้ ที่ต้องเผชิญการปราบปรามอย่างโหดสัสรัสเซีย
3. อสุราอาหม: เรื่องประวัติศาสตร์ชาวไทอาหมในอินเดียเหนือ บรรพบุรุษสุดโหดของชาวไทยในปัจจุบัน
4. โลหิตอิสราเอล: เรื่องประวัติศาสตร์การดิ้นรนของชาวยิว และดินแดนอิสราเอล แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่นองเลือดมานานกว่าพันปี
5. ประวัติย่อก่อการร้าย: ที่มาที่ไปของการก่อการร้ายตั้งแต่อดีตกาล และสงครามก่อการร้ายที่ยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
6. สุริยันพันธุ์เคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดอิรักที่ลุกขึ้นสู้กับมหาอำนาจตะวันออกกลางเพื่อความฝันในการตั้งประเทศของตัวเอง
7. ดาวแดงแห่งเคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดซีเรียที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของสตรี
ทั้งหมดนี้รวมค่าส่งในราคา 3,150 บาทเท่านั้น! (เฉพาะในประเทศนะครับ ส่วนต่างประเทศคิดราคาตามจริง)
ท่านไหนที่สนใจ สามารถชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย (ระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปด้วยแต่ช้าหน่อยนะครับ)
อนึ่งท่านที่ซื้อหนังสือหรือสั่งจองบางเล่มแยกไปแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเซ็ตนี้ สามารถติดต่อทาง Line OA https://lin.ee/fNEO1jr หรือ Inbox ของเพจเพื่ออัพเกรดได้นะครับ โดยจะคิดราคาตามจริงลดหลั่นไปตามเล่ม ส่วนราคากล่องอย่างเดียว 375 บาท (จะส่งไปแบบพับ ลดปัญหากล่องมุมยับ)
ท่านที่สนใจอ่านเรื่องราวแปลกๆ จากรอบโลกสามารถสมัครเข้ากลุ่ม illumicorgi
อนึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ากลุ่มให้ทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้ https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน ให้แจ้งประเภทสมาชิกที่ท่านต้องการสมัคร แอดมินจะส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
::: ::: :::
ประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
โฆษณา