2 ธ.ค. 2021 เวลา 02:09 • ประวัติศาสตร์
“โรคระบาด” ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ในทุกวันนี้ โลกถูกปกคลุมด้วยโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกด้านและทุกประเทศบนโลก ทำให้ผู้คนต้องปรับตัว ไม่เพียงแค่เรื่องเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงวิถีชีวิตของผู้คน
แต่ถ้าพูดถึงโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก็เห็นจะไม่พ้น “กาฬโรค” และเหตุการณ์ “กาฬมรณะ (Black Death)” ซึ่งเป็นเหตุการณ์การระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่
ผมเคยเขียนเรื่องราวของกาฬมรณะไว้หลายบทความ รวมทั้งเคยเขียนเรื่องของเหตุการณ์นี้เป็นซีรีส์ หากแต่เรื่องราวของโรคระบาดนี้ก็มีหลายแง่มุม หลายเรื่องให้นำมาเล่าได้อยู่เรื่อยๆ
เรามาทบทวนและดูเรื่องราวของเหตุการณ์ระบาดของโรคร้ายนี้กันเถอะครับ
สำหรับเจ้าไวรัสที่เป็นต้นเหตุของกาฬโรคและนำไปสู่กาฬมรณะ คาดว่าน่าจะมาจากแบคทีเรียซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเอเชียเมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว
ไวรัสตัวใหม่นี้แพร่กระจายไปทั้งบนบกและทางน้ำ แพร่กระจายไปถึงแอฟริกา เอเชีย และยุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 14 โดยพาหะสำคัญที่เป็นตัวแพร่เชื้อคือเห็บและสัตว์จำพวกหนู
เป็นไปได้ว่าในต้นศตวรรษที่ 14 ได้เกิดโรคระบาดในจีนและอินเดีย หากแต่บันทึกถึงเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคในจีนและอินเดียก็ไม่แน่ชัด ตัวเลขก็ไม่ชัดเจน แต่โรคระบาดก็ได้แพร่ไปถึงตะวันตก
กองคาราวานของผู้คน ซึ่งมีทั้งคนและสัตว์ ได้เดินทางไปตามเส้นทางการค้าทางบก และนำพาไวรัสกระจายออกไป ส่วนเรือก็ทำหน้าที่ขนส่งสัตว์และสินค้าต่างๆ ไปยังหลายดินแดน ซึ่งบนเรือก็มีหนู ทำให้โรคระบาดแพร่กระจายบนเรือ และกระจายไปยังดินแดนอื่นๆ ที่เรือเดินทางไปถึง
1
ในเวลานั้น รอบๆ ทะเลดำได้เกิดนครรัฐต่างๆ ในอิตาลี และในปีค.ศ.1344 (พ.ศ.1887) ก็ได้เกิดสงครามระหว่างพ่อค้าเจนัวและกองทัพมองโกล โดยโรคระบาดได้เข้าโจมตีกองทัพมองโกล ทำให้กองทัพมองโกลต้องยกเลิกการปิดล้อมเมืองสำคัญ
แต่ในไม่ช้า โรคระบาดก็ได้แพร่กระจายไปยังตะวันออกกลางและยุโรป
1
ในยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สรุปว่ากาฬโรคได้ระบาดจากเห็บและหนู จากนั้นก็ติดผ่านคนด้วยกันผ่านทางอากาศ แต่ในเวลานั้น การแพทย์ยังไม่ก้าวหน้าเช่นปัจจุบัน และโรคระบาดนี้ก็เหมือนกับจะเป็นจุดจบของโลก
อาการของโรคนั้นก็น่ากลัว โดยไวรัสจะทำให้ระบบน้ำเหลืองมีปัญหา ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต
อาการเริ่มแรกของโรคคือการที่ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างบวมโต โดยเฉพาะบริเวณที่รักแร้และขาหนีบ ตามมาด้วยอาการเลือดออกตามจุดต่างๆ
อาการอื่นๆ ก็เช่น มีไข้ ท้องเสีย อาเจียน และเจ็บปวดอย่างรุนแรง
1
ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรืออย่างดีก็อยู่ได้แค่ไม่กี่วัน สุสานเต็มไปด้วยซากศพผู้ติดเชื้อ บางครั้งก็มีศพนอนกองอยู่บนถนน สร้างความอนาถต่อผู้พบเห็น
2
ในเวลานั้น การรักษาก็ยังไม่ก้าวหน้าเช่นปัจจุบัน มีการรักษาแบบผิดๆ หลายวิธี ทำให้ผู้ป่วยยิ่งแย่ลง ก่อนจะมีการกักตัวเพื่อตรวจโรคในเวลาต่อมา
2
ผู้ที่ยังสุขภาพดีจะไม่เข้าใกล้ผู้ป่วย แต่ละครอบครัวก็เก็บตัวอยู่ในบ้าน ผู้คนบางส่วนก็เดินทางออกจากเมืองเพื่อไปยังบริเวณที่คนน้อย หากแต่โรคก็ยังคงระบาดไปทั่ว
1
เมื่อเป็นอย่างนี้ ผู้คนจำนวนมากก็หันไปหาไสยศาสตร์และความเชื่อ โดยเชื่อว่าโรคระบาดคือการลงโทษจากพระเจ้า
ได้เกิดการล่าแม่มด โดยในช่วงที่โรคระบาดอยู่ในช่วงพีคเมื่อค.ศ.1348 (พ.ศ.1891) และค.ศ.1349 (พ.ศ.1892) ชาวยิวนับพัน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของความวิบัติทั้งปวง ก็ได้ถูกสังหาร
1
สำหรับจุดสิ้นสุดของการระบาด ต้องบอกก่อนว่าโรคนี้ไม่เคยหายไปไหน หากแต่การระบาดหนักซึ่งเป็นเหตุการณ์กาฬมรณะก็ค่อยๆ เบาลงในช่วงกลางศตวรรษที่ 14
สำหรับสาเหตุที่การระบาดเบาบางลง หลักๆ ก็เป็นเพราะว่าผู้ที่รอดจากโรคเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ อีกทั้งการกักตัวเพื่อตรวจโรคในหลายๆ พื้นที่ก็ใช้ได้ผล
2
ท่าเรือต่างๆ ก็ไม่อนุญาตให้เรือเข้าเทียบท่าในทันที โดยเรือที่จะเข้าเทียบท่า ต้องทำการกักตัวบนเรือเป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน จึงจะขึ้นฝั่งได้ ซึ่งนี่ก็น่าจะทำให้การระบาดนั้นช้าลง และอาจทำให้การระบาดของโรคอยู่ในวงจำกัด
ตัวเลขผู้เสียชีวิตในยุโรปนี้เข้าขั้นเลวร้าย โดยไม่ทราบถึงตัวเลขที่แน่ชัด โดยมีการประเมินว่าระหว่างค.ศ.1347 (พ.ศ.1890) ถึงค.ศ.1353 (พ.ศ.1896) ประชากรโลกลดลงไประหว่าง 30%-60%
1
ก่อนหน้าเหตุการณ์ระบาดของโรคร้าย ประชากรโลกมีประมาณ 450 ล้านคน และเมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 14 ประชากรโลกก็ลดลง เหลือเพียงประมาณ 350 ล้านคน เท่ากับลดลงไปประมาณ 100 ล้านคน และต้องใช้เวลาเกือบ 100 ปี ประชากรโลกจึงกลับมาเท่าเดิม
2
เศรษฐกิจและการเมืองก็ล่มสลาย ธุรกิจต่างๆ ต้องปิดตัว ความต้องการสินค้าต่างๆ ลดลงอย่างมาก แรงงานก็ขาดแคลน
1
เมื่อขาดแคลนแรงงาน ทำให้ค่าแรงปรับตัวสูงขึ้น และทำให้ระบอบทาสเสื่อมลง
1
รัฐบาลของแต่ละดินแดนก็ให้ความสำคัญในเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ก็พยายามจะหาวิธีการใหม่ๆ ในการต่อสู้กับโรคร้าย
1
บางทีบทเรียนจากอดีต ก็อาจจะมีค่าและนำมาปรับใช้ในยุคปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตโรคระบาด
1
โฆษณา