2 ธ.ค. 2021 เวลา 13:11 • สุขภาพ
😎เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)
โดยมากเกิดจากเชื้อ Staphylococcus อาจเป็นรุนแรงหรือเรื้อรังได้
มีสาเหตุนำต่าง ๆ ได้แก่
1. ความเป็นอยู่สกปรกและอนามัยไม่ดี
2. มีโรคหัด อีสุกอีใส เกิดขึ้นก่อน
3. ความระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ควันไฟ ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง หรือจากเครื่องสำอาง
4. อาจเกิดร่วมกับต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) ​
5. อาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น เยื่อตาอักเสบเรื้อรัง สิว เป็นต้น
😻อาการและอาการแสดง
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไม่เป็นแผล (Non-ulcerative) และชนิดเป็นแผล (ulcerative blepharitis)
ชนิดไม่เป็นแผล (Non-ulcerative blepharitis หรือ Squamous blepharitis)
1. มีอาการร้อนนัยน์ตา และระคายเคืองที่นัยน์ตา อาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย
2. ขอบของเปลือกตาบวมแดง มีสะเก็ดเล็กๆติดอยู่รอบๆโคนขนตา
ในรายที่รุนแรง ขอบของเปลือกตาจะหนาและแบะออก
3. ขนตาร่วง แต่ส่วนมากงอกขึ้นใหม่ได้
ชนิดเป็นแผล (Ulcerative blepharitis)
1. ขอบของเปลือกตาบวมแดง และมีแผลหนองเล็กๆ (multiple suppurative lesions) ที่แผลมีหนองเหลือง ๆ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นสะเก็ด
2. ถ้าแกะสะเก็ดออกจะมีแผลเล็กๆ ซึ่งมักมีเลือดออกง่ายอยู่รอบๆ ขนตา
3. ขนตาร่วงและมักจะไม่งอกขึ้นมาใหม่ หรืองอกขึ้นมาแต่มีลักษณะผิดปกติ เช่น คุด (invert) เข้าข้างใน (trichiasis)
4. ในรายที่เป็นเรื้อรัง ขนตาอาจร่วงจนหมด (madarosis) หรือขอบของเปลือกตาหนา (tylosis) หรือขอบของเปลือกตาแบะออก (ectropion)
🏵️การรักษา
1. บำรุงสุขภาพ รักษาอนามัยความสะอาดและให้อาหารมีประโยชน์
2. รักษาตามสาเหตุ เช่น โรคหัด ขี้รังแค หรือเยื่อจมูกอักเสบ
3. ใช้สำลีชุบน้ำยาบอริค 3% เช็ดสะเก็ด หรือหนองที่ติดอยู่รอบๆขนตาออกให้หมด แล้วใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่หยอดหรือป้ายตา
4. ในรายที่เรื้อรัง อาจให้ยาสเตียรอยด์​ชนิดหยอดหรือป้าย (local steroid eye drops หรือ ointment) ร่วมกับยาปฏิชีวนะจะได้ผลดีขึ้น เนื่องจากเปลือกตาอาจถูก sensitised ด้วย exotoxin ของเชื้อ Staphylococcus ทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะ เมื่อให้ steroids ด้วยจะช่วยไม่ให้เกิด sensitised ขึ้น
5. ในผู้ป่วยที่มีสายตาผิดปกติ (error of refraction) ควรแก้ไขโดยการให้ใช้แว่นสายตาที่เหมาะสม
เปลือกตาอักเสบมักจะรักษาโดยการทำความสะอาดเปลือกตาเป็นประจำ ใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตาที่มียาปฏิชีวนะ หากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ผล ก็จะใช้ยาปฏิชีวนะแบบกิน อย่างไรก็ตาม ไม่มีแนวทางว่าควรให้ยาปฏิชีวนะชนิดใด ใช้ขนาดใด หรือรักษานานแค่ไหน​ การให้ยาปฏิชีวนะชนิดกินสำหรับเปลือกตาอักเสบเรื้อรัง​อาจช่วยให้อาการดีขึ้น แต่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากขึ้นได้เช่นกัน
เพิ่มเติมเทคนิค #สครัปขอบตา
.
ให้ใช้ cotton bud ฝนปลายให้แบนเป็นพื้นที่หน้าตัด (อันขวา) แล้วค่อยจุ่มโฟม มาสครัปตั้งฉากกับขอบตา จะทำให้เข้าถึงขอบตาได้ดีกว่าการใช้นิ้วถู ไขมันออกได้หมดจดมากขึ้น แนะนำคนไข้ไปแล้วหลายราย ได้ผลดีจริง
.
การดูแลเปลือกตา 3 ขั้นตอนนี้ มีความสำคัญมาก ไม่ใช่การรักษาเสริม แต่เป็นการรักษาหลัก ในโรค #ต่อมไขมันเปลือกตาอุดตัน
.
มีคนไข้หลายท่านหายขาดจากโรคนี้ หยุดการใช้น้ำตาเทียมได้ถาวร แค่เพียงดูแลเปลือกตาตามนี้อย่างเคร่งครัด ทำทุกวันเช้า-เย็น ต่อเนื่อง 3 เดือน บางท่านตั้งใจทำอย่างดีเยี่ยม หายขาดตั้งแต่ 1 เดือนแรกที่ทำ โดยไม่ต้องมาทำที่ รพ. แม้แต่ครั้งเดียว
.
อย่างไรก็ตาม โรคนี้จำเป็นต้องดูแลต่อเนื่อง หลังจากหายแล้ว ให้เว้นระยะห่างการดูแลได้ เช่น เหลืออย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะหากหยุดดูแล มีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูง
.
พญ.ศศิ ใหญ่สว่าง MD FICO
▪️ จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านตาแห้ง
🤓ยาหยอดตาที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบัน มีมากมายหลากหลายชนิดและยี่ห้อ ซึ่งแต่ละตัวมีคำแนะนำในการเก็บรักษาแตกต่างกันออกไป
☃️ในกรณีที่เป็นยาหยอดตาชนิดที่ควรเก็บรักษาในตู้เย็น (อุณหภูมิ 4-8 องศาเซลเซียส) เช่น ยาหยอดตาคลอแรมฟินิคอล หรือ ยาตาปฏิชีวนะบางตัว ให้เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา
☁️ส่วนยาหยอดตาที่ควรเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส) ไม่ควรเก็บในตู้เย็น เว้นแต่ได้รับการรับรองจากผู้ผลิตให้เก็บได้ เนื่องจากอาจส่งผลให้สภาพของยาเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เกิดผลึกหรือตะกอน หรืออาจส่งผลต่อค่าความเป็นกรดด่างของยา ทำให้อายุยาเปลี่ยนไป
สำหรับยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น​ ถ้าเอาไปเก็บที่อุณหภูมิ​ห้องจะทำให้อายุของยาสั้นลงมาก​ จากที่เก็บได้นาน18เดือนในตู้เย็น​ จะลดเหลือแค่​ 2.5​ เดือนเท่านั้น​ (3)
😎ส่วนยาหยอดตาที่เปิดใช้แล้ว โดยทั่วไปจะมีการเติมสารกันเสียเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะมีฤทธิ์เต็มที่ภายใน 1 เดือนหลังจากเปิดใช้งานครั้งแรก จากนั้นก็ค่อยๆเสื่อมประสิทธิภาพลงทีละน้อย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาหยอดตาเกิน 1 เดือนหลังการเปิดใช้ครั้งแรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับตา และสามารถเก็บยาหยอดตาไว้ได้ในอุณหภูมิห้อง
⛔ความเชื่อว่าการเก็บยาไว้ในอุณหภูมิต่ำๆ จะทำให้รักษาความคงตัวของยาได้นานขึ้น หรืออาจเข้าใจว่าจะสามารถยืดวันหมดอายุของยาให้นานขึ้นได้ จึงนิยมนำยาเก็บไว้ในตู้เย็นแทบทุกชนิด นั่นอาจทำให้การคงตัวของยาเสียไปได้ เนื่องจากความชิ้นและอุณหภูมิอาจไม่เหมาะสมกับยาบางชนิด เช่น หากนำยาแขวนตะกอนหรือยาน้ำเชื่อมบางประเภทมาแช่เย็น ก็อาจจะทำให้เกิดการตกตะกอนได้ หรือยาแคปซูลบางชนิดที่มีการเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีความชิ้นสูง มักจะทำให้แคปซูลเยิ้มจนติดกันได้
⛔การแช่ยาบางชนิดในตู้เย็น นอกจากอาจจะทำให้เกิดการเสื่อมสลายของตัวยาสำคัญแล้ว ยังทำให้เกิดสารพิษขึ้นได้ด้วย เช่น การแช่ยาเม็ดแอสไพรินในตู้เย็นที่มีความชื้นสูง จะทำให้เกิดการสลายตัวเป็นกรดซาลิไซลิกและกรดอะซิติก ซึ่งจะทำให้ยาไม่มีผลในการต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด รวมทั้งยังทำให้เกิดพิษ
😁ดังนั้น การเก็บยาไว้ในตู้เย็น จึงไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ควรอ่านฉลากยาหรือรายละเอียดบนกล่องยา เพื่อศึกษาถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษายาอย่างถูกต้องดีกว่า
POSTED 2021.12.03
UPDATED 2022.11.14
โฆษณา