3 ธ.ค. 2021 เวลา 04:31 • ประวัติศาสตร์
มุฮัมหมัด บิน กอสิม ผู้บุกเบิกชมพูทวีป ตอนที่ 1
ฟัฎล์ อะหมัด เขียน : อันวารฺ รอชี้ด แปล
ประวัติการต่อสู้ของขุนพล มุฮัมมัด บิน กอสิม เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่เราภูมิใจเสนอท่านผู้อ่าน ท่านผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกอนุทวีป หรือชมพูทวีป (อินเดีย-ปากิสตาน) เป็นการเปิดทางให้นักเผยแผ่อิสลามและพ่อค้ามุสลิมมาเผยแผ่อิสลามอย่างกว้างขวางในดินแดนดังกล่าว
บางที หลายๆท่านเคยได้อ่านชีวประวัติของท่านผู้นี้มาแล้วจากหนังสืออื่นที่ผู้เขียนมิใช่มุสลิม เป็นธรรมดาอยู่เองที่หนังสือเหล่านั้นจะแสดงภาพพจน์ให้ผู้อ่านเห็นว่า มุฮัมมัด บิน กอสิม เป็นนักรบที่เหี้ยมโหด หรือดุร้าย ฆ่าผู้คนโดยไม่เลือกหน้า ถ้าผู้คนเหล่านั้นมิใช่มุสลิม หรือไม่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม แต่ถ้าอ่านหนังสือเล่มนี้ หรือหนังสือที่มุสลิมเขียน ท่านจะพบกับความจริงว่า ขอเขียนของฝ่ายตรงข้ามนั้น มันห่างไกลจากความจริงมากนัก
มุฮัมหมัด บิน กอสิม ผู้บุกเบิกชมพูทวีป
“ช่วยด้วย!ช่วยด้วย!ช่วยด้วย!โอ้ ฮะยาต!ช่วยข้าด้วย!” เสียงร้องขอความช่วยเหลือของหญิงชาวอาหรับดังก้องไปทั่วฝั่งทะเลแห่งอาณาจักรสินธุ
“ฮายาตอยู่ไกลเกินไปที่จะได้ยินเสียงร้องของเจ้า เจ้าหน้าโง! และแม้ว่ามันจะได้ยินเสียงร้องของเจ้า ข้าก็จากที่นี่ไปก่อนที่มันจะมาถึง” เสียงขู่ตะคอกของพวกโจรสลัดดังขึ้น ในขณะที่พวกผู้หญิงอาหรับเหล่านั้นร้องขอความช่วยเหลือ จากเสียงร้องขอความช่วยเหลือของหญิงชาวอาหรับนี่แหละที่ทำให้ธงของอิสลามโบกสบัดมาสู่ชมพูทวีป
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ของชาวชมพูทวีปที่ได้ลิ้มรสความสุขแห่งชีวิต และได้สัมผัสกับคำว่ามนุษยธรรม ดั้งนั้นจึงทำให้พวกเขาเคารพ “จอมทัพหนุ่ม”ผู้ซึ่งเต็มไปด้วยความเมตตาปราณี และเปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรม พวกเขาเริ่มรักอิสลามนับเป็นครั้งแรกที่ร่มธงของอิสลามมาสถิตย์อยู่เหนืออาณาจักรสินธุซึ่งมันโบกสบัดมาตั้งแต่ครั้งกระโน้นจนกระทั่งบัดนี้
อาณาจักรสินธุ คือดินแดนส่วนหนึ่งของชมพูทวีป และเป็นดินแดนแห่งแรกของภูมิภาคส่วนนี้ที่ได้สว่างขึ้นด้วยประทีปของอิสลามซึ่งได้นำความเสมอภาค ภราดรภาพของมนุษย์ และยังทำให้ประชาชนในดินแดนแห่งนี้เข้าใจในความเป็นอยู่ในระดับมนุษย์ชาติเพราะประชนในชมพูทวีปมีการแบ่งชั้นวรรณะ แต่เมื่ออิสลามได้เผยแพร่ขึ้นมา ความเป็นอยู่ของประชาชนก็เริ่มเปลี่ยนแปลง
อาณาจักรสินธุ
ก่อนที่อิสลามจะมาฉายแสงอยู่เหนืออาณาจักรแห่งนี้ “เมกราน”*เคยตกอยู่ในสภาพจักรภพ “อิหร่าน” และต่อมาเมื่ออิหร่านได้ตกไปอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของมุสลิมในสมัยเคาะลีฟะฮฺ อุมัรเมกรานก็ถูกผนวกเข้าภายใต้การครอบครองของอิสลามเช่นเดียวกัน “ฮากัม บิน อุมัร” จอมทัพอิสลามผู้ซึ่งพิชิตเมกรานต้องการแผ่อำนาจมาสู่อาณาจักร สินธุ แต่ถูก เคาะลีฟะฮฺยับยั้งไว้ เพราะท่านต้องการสันติสุขมากกว่าการขยายดินแดน มุสลิมพยายามจะกระชับสัมพันธไมตรีอย่างดีที่สุดต่อราชาแห่งสินธุ แต่ทว่าฝ่ายราชากลับตอบแทนอย่างดูไม่ได้ และเมื่อดาฮาร์ได้เถลิงอำนาจขึ้นเป็นราชา พระองค์ก็เริ่มสร้างความเดือดร้อนให้แก่มุสลิมทันที โดยที่พระองค์ได้ทรงวางแผนอุบายให้มุสลิมก่อการขบถขึ้นในเมกราน และยังช่วยส่งทหารของพระองค์ไปช่วยพวกขบถ
แต่ทว่าผู้ว่าการแห่งแคว้นเมกรานไปปราบพวกขบถลงได้และขับไล่พวกของดาฮาร์ออกไปโดยที่ไม่คิดจะแก้แค้นประการใด
ต่อมาไม่นานนัก ฮะยาต บิน ยูสุฟ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น “อุปราช” ในแคว้นตะวันออก ฮะยาตเป็นบุรุษที่เข้มแข็งและเด็ดขาด ดั้งนั้นท่าน เคาะลีฟะฮฺจึงได้มอบอำนาจให้ทำการปกครอง ณ แคว้นตะวันออก ทำการปราบปรามพวกขบถลงเป็นผลสำเสร็จโดยที่พวกขบถบางส่วนได้หนีออกจากเมกรานไปขอลี้ภัยอยู่กับราชาดาฮาร์ซึ่งราชาฮิดูก็ต้อนรับพวกขบถเหล่านั้นซึ่งเปรียบเสมือนกับการตัดสัมพันธไมตรีระหว่างอิสลามกันฮินดู อย่างไรก็ตามฮะยาตก็มองข้ามไปโดยไม่เก็บเอามาคิดเป็นเรื่องบาดหมางแต่ประการใด ดังนั้นจึงทำให้ดาฮาร์ ราชาแห่งฮินดูทรงคิดว่าพระองค์มีอำนาจเหนือกว่ามุสลิมเพื่อนบ้าน
ท่านทราบไหมว่า 5%ของประชากรศรีลังกา สืบเชื้อสายมาจากอาหรับและเกือบจะทั้งหมดของประชากรแห่งหมู่เกาะ "คอแรล (ปะการัง) " แห่ง "ลาเคดิจ" และ "มัลดิฟ" (เป็นหมู่เกาะเล็ก แถบทะเลอาหรับ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย) ก็สืบเชื้อสายมาจากอาหรับเช่นกัน
อาหรับเหล่านี้มาจากไหน ? พวกเขาเหล่านี้สืบเชื้อสายมาจากพวกพ่อค้าซึ่งจากบ้านเกิดเมืองนอน และได้มาอาศัยอยู่ตามดินแดนแถบนี้ พวกพ่อค้าเหล่านี้ควบคุมการค้าทั้งหมดในแถบชมพูทวีป กระทั่งตะวันออกไกลจนจรดตะวันตก สำเภาของพวกพ่อค้าอาหรับเหล่านี้ โต้คลื่นลมอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย,แปซิฟิค<ทะแลแดง และทะเลเมดิเตอเรเนียน สำเภาเหล่านี้แล่นไปมาระหว่างตะวันออกไกล,อินเดียและประเทศจีน
ดังนั้นอาหรับจึงได้ชื่อว่า "เจ้าแห่งทะเล" จนกระทั่งสิ้นศตวรรษที่ 15 อาหรับได้ปกครองมหาสมุทรเหล่านี้ และได้ทำประโยชน์ไว้อย่างมหาศาล โดยการเป็นผู้เชื่อมตะวันออกกับตะวันตก
กลาสีของอาหรับในสมัยนั้น มีอยู่ทุกแห่งในเมืองท่าที่สำคัญทั่วโลกจนกระทั่งสมัยของ เคาะลีฟะฮฺ "มุอาวียะฮฺ" ซึ่งหลังจากนั้นต่อมาก็มีพ่อค้าและกลาสีตะวันตก อาหรับจึงได้หมดอำนาจทางทะเลลง ซึ่งยังผลให้อำนาจของมุสลิมในโลกพลอยหลุดลอยไปด้วย
บางท่านอาจจะเคยเหยียบย่างไปสู่ "การาจี" เมืองหลวงเก่าของปากีสถาน ซึ่งประมาณ 1200 ปีกว่ามาแล้ว ดินแดนแห่งนี้คือทะเล แม่น้ำสินธุได้ไหลผ่านดินแดนแห่งนี้ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางหลายไมล์ เป็นเวลาหลายศตววรษจึงทำให้น้ำทะเลลดถอยไป
ในสมัยของดาฮาร์ ราชาแห่งฮินดู "เดบุล" เป็นเมืองท่าของอณาจักรสินธุ เช่น การาจีขณะนี้ แต่ทว่าบัดนี้เดบุลไม่เหลือทรากให้เราได้เห็นอีกแล้ว เพราะได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายครั้งจึงทำให้เมืองท่าแห่งนี้จมลงไป ดังนั้นจึงไม่มีอะไรเหลือ เมืองท่าเก่าแก่แห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกประมาณ 35 ไมล์ จากการาจี
เดบุลมีวิหารใหญ๋ที่สุด ซึ่งเป็นที่เลื่องลือกันในสมัยนั้น บนยอดหอคอยของวิหาร มีธงสีแดงโบกสบัดอญู่ซึ่งสามารถมองเห็นได้แต่ไกล วิหารนี้มีโดมใหญ่มหึมา ซึ่งมียอดแหลมสูงถึง 40ฟุต ณ.บนยอดแหลมของโดมนี้มีธงผืนหนึ่งโบกสบัดสง่างามด้วยลมทะเล รอบฯเมืองแห่งนี้มีป้อมปราการอันแข็งแรง ณ.ใจกลางของเมือง คือที่ตั้งของวิหารแห่งนี้ ภายในวิหารเต็มไปด้วยหมู่เทวรูปสำหรับบูชา ซึ่งพวกพราหมณ์ประมาณ 300 คน อาศัยอยู่ในวิหารเพื่อดูเเลและทำการบูชาเทวรูปเหล่านั้น
วาลิด เป็นเคาะลีฟะฮฺ (สมัยราชวงศ์อุมัยยะฮฺ) ของอิสลามในดามากัสในขณะที่ดาฮาร์ ปกครองอาณาจักรสินธุ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าอาหรับเป็นจ้าวแห่งทะเลซึ่งส่วนมากได้อาศัยอยู่ตามเกาะต่างฯ ในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอื่นฯซึ่งพวกเขาแล่นสำเภาติดต่อค้าขายไปมาซึ่งการค้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขา ทุกฯปีพ่อค้าชาวอาหรับจะเเล่นสำเภาออกจากหมู่เกาะ ซีลอนมุ่งหน้าไปยังอาราเบีย เพื่อประกอบพิธีฮัจญฺ และทุกฯปีเช่นกันเมื่อพวกอาหรับไปยังมักกะฮฺ ราชาแห่งซีลอนได้จัดส่งของกำนัลไปให้เคาะลีฟะฮฺ และปีนี้ก็เช่นกัน สำเภาของอาหรับก็ออกจากซีลอน ฝ่าคลื่นลมมุ่งหน้าไปยังอาราเบีย และก็เหมือนเช่นเคยราชาเเห่งซีลอนก็ได้จัดส่งของกำนัลไปมอบให้กับเคาะลีฟะฮฺ "วาลิด"
ในขณะที่สำเภาติดใบกำลังมุ่งหน้าไปยัง ''บุชรอ'' ทันใดนั้นเองอย่างไม่คาดฝัน พายุและคลื่นก็เริ่มกระหน่ำอย่างแรง จนทำให้สำเภาเเล่นออกนอกทิศทางมาเกยหาดอยู่ชายฝั่งสินธุ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องจำใจหาที่พักอาศัยชั่วคราว ณ.ชายฝั่งแห่งนี้เพื่อรอให้คลื่นสงบ พวกสลัดเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะทำการปล้น เพราะสำเภาลำนี้เต็มไปด้วยสินค้าและของมีค่ามากมาย และส่วนมากมีพวกผู้หญิงและเด็กผู้ชายเพียงไม่กี่คน ซึ่งพวกมันคิดว่าไม่สามารถจะต้านทานพวกมันได้ ดังนั้นพวกมันจึงลงมือปล้นทันที พวกมันฆ่าผู้ชายส่วนมาก ผู้หญิงและเด็กถูกจับเป็นเฉลยทั้งหมด แต่พวกผู้ชายบางคนสามารถหลบหนีไปได้จนถึงบุชรอและได้บอกเรื่องร้ายที่เกิดขึ้นให้ ฮะยาต ทราบ พวกเขาบอกแก่ "ฮะยาต"
ว่าพวกผู้หญิงและเด็กซึ่งพวกเขาไม่อาจให้ความคุ้มครองได้ ได้ถูกจับเป็นเฉลยและบัดนี้กำลังร้องขอความช่วยเหลือเพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของโจรสลัดผู้ป่าเถื่อนเหล่านี้ !
หลังจากฮะยาตได้รับฟัง เรื่องราวที่เกิดขึ้นท่านก็ไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง และครู่หนึ่งเอ่ยขึ้นว่า "ฉันจะต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กฯเหล่านั้น" และต่อมาม่นานฮะยาตก็ได้ส่งสาส์นไปยังราชาดาฮาร์ โดยกล่าวว่า
'' ปรากฏการณ์ที่พวกโจรสลัดได้ทำการปล้นคนของเราและพวกเด็กฯไปเป็นเชลยศึกนั้น ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ปกครองอาณาจักรสินธุ ดังนั้นข้าพเจ้าคิดว่าเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องพิจรณาการกระทำของพวกโจรสลัดเหล่านั้น และจงให้ความปลอดภัยแก่พวกผู้หญิงและเด็กฯ ของเราที่ถูกจับเป็นเชลย ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าท่านคงจะรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ "
แต่ทว่า ดาฮารฺ หาสนใจต่อสาส์นฉบับนี้เลยเพราะพระองค์คิดว่าฮะยาตอยู่ไกลออกไปลิบฯ มีทะเลทรายอันกว้างใหญ่ไพศาลขวางกั้น ซึ่งเป็นการลำบากที่ฮะยาตจะทำอะไรพระองค์ได้ คิดดังนั้นพระองค์จึงตอบสาส์นปฏิเสธต่อฮะยาตอย่างไม่มีเยื่อใย โดยกล่าวว่า ''เราไม่สามารถจะช่วยอะไรท่านได้ ท่านมีสิทธิที่จะจัดการกับพวกโจรสลัดตามที่ท่านเห็นเหมาะสม ส่วนเราไม่ขอรับผิดชอบใดฯทั้งสิ้น ''
ดาฮาร์ทรงคิดว่าการปฏิเสธของพระองค์เรื่องราวคงสิ้นสุดลง เพราะก่อนฯโน้นพระองค์ก็ทรงได้เคยทำความเดือดร้อนในแคว้นเมกราน ซึ่งฮะยาตก็ไม่สามารถทำอะไรพระองค์ได้ พระองค์ทรงคิดอย่างผยอง !
แต่ทว่าพระองค์ทรงคิดไปผิดถนัดเลยทีเดียว เพราะพระองค์ลืมคิดไปว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับฮะยาตมาก เพราะมันหมายถึงธุรกิจการพานิชย์ของชาวมุสลิม ทะเลคือเส้นทางการค้าของพวกเขา มันหมายถึงหัวใจอันสำคัญของการพานิชย์ ถ้าปล่อยให้ปล่อยให้เรื่องร้ายยังคงดำเนินต่อไป แน่นอนมันหมายถึงว่าความเป็นใหญ่ในทางทะเลของพวกเขาและเส้นทางการค้าของพวกเขาจะต้องสิ้นสุด
อย่างไรก็ตาม ฮะยาต คิดว่าท่านจะต้องรักษาความปลอดภัยในทางทะเลให้ได้เพื่อคุ้มครองพวกพ่อค้าอาหรับ และหากว่าปล่อยให้กลายเป็นเมืองท่าที่มีแต่ภัยคุกคามอย่างนี้ แน่นอนนั่นหมายถึงการสิ้นสุดอำนาจของอาหรับในทะเลตะวันออก เพื่อรักษาความปลอดภัย ฮะยาต จึงตัดสินใจปราบปรามพวกโจรสลัดผู้ก่อความเดือดร้อนเหล่านั้น
ดังนั้นฮะยาตก็ได้ส่งสาส์นไปยังท่านเคาะลีฟะฮฺเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในเดบุล ท่านต้องการให้เคาะลีฟะฮฺอนุญาติให้ท่านจัดการเรื่องนี้
ท่านเคาะลีฟะฮฺทราบดีว่า ค่าใช้จ่ายและการตระเตรียมในการจัดส่งกำลังคนไปยังสินธุนั้น เป็นการสิ้นเปลืองมาก แต่เพื่อความอยู่รอดและเพื่อรักษาเกียรติของอิสลาม ท่านจึงจำเป็นต้องทำ ซึ่งในที่สุด ท่านเคาะลีฟะฮฺก็ได้บัญชาอุปราชแห่ง บุชรอ ให้จัดส่งกองตำรวจหลวงไปทำการปราบปรามพวกโจรสลัดยังเดบุล
ดังนั้นกองตำรวจหลวงอาหรับ ภายใต้การนำของ "อุบัยดุลลอฮฺ" ก็ยาตราผ่านเมกราน กระทั่งเหยียบย่างเข้าสู่อาณาจักรสินธุ
ดาฮาร์ ทรงทราบดีว่า กองตำรวจหลวงอาหรับที่ส่งมานั้นมิได้ส่งมารบกับพระองค์ แต่ส่งมาปราบพวกโจรสลัด ผู้ซึ่งพระองค์ปฏิเสธไม่ยอมจัดการ แต่กระนั้นทั้งฯที่ทรงทราบดี พระองค์ก็คิดเล่นไม่ซื่อ โดยการส่งทหารของพระองค์ไปตีตลบหลังกองตำรวจหลวงอาหรับ ซึ่งแน่ล่ะ อาหรับเพียงหยิบมือเดียวจะสามารถสู้รบกับกองทัพได้อย่างไรกัน อุบัยดุลลอฮฺเสียชีวิตในการรบครั้งนี้ พร้อมทั้งผู้คนของเขาก็สูญเสียอย่างย่อยยับ
อย่างไรก็ตามฮะยาตไม่ยอมท้อถอย ท่านจึงส่งกำลังไปใหม่ภายใต้การนำของ "บุไดล์" ในครั้งนี้อาหรับตระเตรียมอย่างพร้อมสรรพเพ่อเผชิญหน้ากับกองทัพฮินดู บุไดล์เป็นขุนพลที่กล้าหาญซึ่งทำการสู้รบอย่างทรหด แต่ทว่ามันเป็นการลำบากใจแก่ท่านยิ่งนัก เพราะทัพม้าของเขาใช้การไม่ได้เมื่อปะทะกับทัพช้างของฮินดู เพราะม้าตื่นเมื่อเห็นช้าง จนไม่สามารถจะบังคับได้ บุไดล์ถูกสลัดตกจากหลังม้า และเสียชีวิตในการรบครั้งนี้ ส่วนมากทหารที่รอดตายหนีกลับไปยังเมกราน
การพ่ายแพ้ต่อฮินดูถึงสองครั้งสองครายังเป็นผลให้ฮะยาตกำหนดนโยบายใหม่ ดังนั้นในการจัดส่งกำลังไปครั้งนี้ ฮะยาตได้ปรับปรุงกองทัพอย่างเข้มแข็งและพิจรณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยแก่คนของท่าน อย่างไรก็ตามท่านไม่ยอมทำอะไรเพียงครึ่งๆ กลางๆ รบให้มันรู้ดีรู้ชั่วกัน ไปเสียข้างหนึ่ง ซึ่งดาฮาร์หารู้ไม่ว่า การกระทำของพระองค์นั้น มันสร้างความแค้นให้แก่ฮะยาตยิ่งนัก ราชาแห่งฮินดูไม่เฉลียวใจสัีกนิดเลยว่า การกระทำขอ งพระองค์นั้นมันเป็นการเย้ยหยันต่อฮะยาต ผู้ซึ่งสามารถพิชิตพระองค์ได้เพียงเวลาเสี้ยวนาที
การโจมตีดาฮาร์ไม่เป็นการง่ายเท่าไหร่นัก เพราะการพ่ายแพ้ทั้งสองครั้งสองครา และได้เสียแม่ทัพทั้งสองคนมันเป็นสิ่งน่าคิด แต่บุรุษเหล็กอย่างฮายาตก็ไม่ยอมเลิกล้มความตั้งใจ "อา...ตรั้งที่สามคงเป็นทีของเราบ้าง" ท่านคิด เพื่อเป็นการตัดสิ้นอนาคตของกลาสีอาหรับ ถ้าไม่สามารถเอาชนะฮินดูได้นั้นหมายถึงอวสานของพ่อค้าอาหรับในแถบทะเลด้านนี้
ดังนั้นในครั้งนี้ ฮะยาตจึงได้จัดส่งกำลังรบที่เข้มแข็งที่สุดและเลือกสรรค์แม่ทัพที่แข็งแกร่งที่สุด ซึ่งในที่สุดฮะยาตก็ตัดสินใจเลือก มุฮัมมัด บิน กอสิม เป็นแม่ทัพ มุฮัมมัดเป็นหลานชายของท่านเองและซ้ำยังเป็นลูกเขยด้วยขณะนั้นมุฮัมมัด มีอายุเพียง 17ปีเท่านั้น และกำลังรับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการแห่งแคว้น "เรย์" ในอิหร่าน แม้ว่าอายุยังน้อยแต่ มุฮัมมัด ก็ฉายแสงแห่งการเป็นผู้นำตั้งแต่ยังเด็กอยู่ ซึ่งฮะยาตก็ทราบดีว่ามุฮัมมัดสามารถปกครองแคว้น "เรย์" ได้อย่างดี ฮะยาตจึงไม่เห็นใครเหมาะสมไปยิ่งกว่ามุฮัมมัด แม้ว่ามุฮัมมัดจะเป็นเด็กแต่ท่านเต็มไปด้วยปฏิภาณ ไหวพริบ ความเฉลียวฉลาด และมีความสามารถเป็นอย่างยิ่ง และในสมัยก่อนโน้นก็เคยปรากฏว่ามีแม่ทัพอายุน้อยของอิสลาม
เคยแสดงความสามารถเอาไว้ แม่ทัพหนุ่มน้อยก็คือ "อุสามะฮฺ บุตรของชัยดฺฺ" ซึ่งศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้แต่งตั้งขึ้น ฉะนั้นฮะยาตจึงตัดสินใจแต่งตั้งมุฮัมมัด บิน กาสิม ให้เป็นแม่ทัพ
มุฮัมมัดก็เตรียมพร้อมในการที่จะยาตราเข้าสู่อาณาจักรสินธุซึ่งมุฮัมมัดต้องใช้กำลังสติปัญญาอย่างหนักในการรับตำแหน่งเป็นแม่ทัพครั้งนี้ พอได้เวลามุฮัมมัดก็ยาตราทัพมุ่งหน้าเข้าสู่อาณาจักรสินธุ ซึ่งต้องผ่านทะเลทรายอันกว้างใหญ่ไพศาล แต่กระนั้นก็หาได้ทำให้กองทัพของมุสลิมย่อท้อไม่
กองทัพที่ ยะฮาต ได้จัดให้มุฮัมมัดเป็นแม่ทัพในครั้งนี้ นับว่าเป็นกองทัพที่แข็งแกร่งทีเดียว ซึ่งประกอบด้วยทหารม้าซีเรีย 6,000 อูฐขนสัมภาระ 3,000 ตัว พร้อมทั้งเสบียงและสิ่งจำเป็นสำหรับกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำส้ม ซึ่งจำเป็นสำหรับกองทัพที่สุด เพราะพวกอาหรับชอบน้ำส้มและคิดว่าหาได้ไม่ง่ายนักในดินแดนสินธุ ดังนั้นมุฮัมมัดจึงเอาปุยฝ้ายหรือขนแกะจุ่มลงไปในน้ำส้ม เมื่อปุยฝ้ายและขนแกะดูดซึมน้ำส้ม ก็เอาไปตากแห้งและเมื่อต้องการจะดื่มก็เอามันไปจุ่มลงในน้ำอุ่นก็จะดื่มได้ทันที ทั้งนี้เพื่อเป็นการสะดวกแก่กองทัพของท่าน
เมื่อเดินทางมาถึง "ซีรอต" มุฮัมมัดก็ตัดสินใจ ส่งหน่วยปืนใหญ่ไปทางทะเล ซึ่งมันใหญ่มากต้องใช้กำลังเป็นร้อยในการที่จะปฏิบัติการ กระสุนดินดำยังไม่รู้จักใช้กันในสมัยนั้น ปืนใหญ่ในสมัยนั้นก็คือ ปืนใหญ่ที่ทำด้วยไม้ใช้ดีดหินเข้าใส่ข้าศึก
จาก "ซีรอต" มุฮัมมัด บิน กอสิม ก็นำทัพมุ่งหน้าไปยัง เมกราน นักรบที่รอดชีวิตจากศีกคราวก่อน ก็ได้สมทบกับกองทัพของท่าน
ฮะยาตคอยสดับรับฟังข่าวอยู่ทุกระยะ ซึ่งม้าเร็วได้นำข่าวไป-มา ระหว่างกองทัพกับฮะยาต ซึ่งกินเวลาถึงเจ็ดวันกว่าจะถึง "บุชรอ" มุฮัมมัดได้ส่งข่าวให้แก่ฮะยาตทุกฯ 3 วัน ซึ่งยะฮาตก็ได้ส่งม้าเร็วให้คำแนะนำอยู่ทุกระยะเช่นกัน
มุฮัมมัด บิน กอสิม นำกองทัพมุ่งหน้าไปไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งเหยียบย่างเข้าสู่อาณาจักรสินธุ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีวี่เเววจากกองทัพของดาฮาร์ ดังนั้นมุฮัมมัดก็เดินทัพต่อไปยังเดบุล
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 711 ณ.ท่าเรือ เดบุล ผู้คนก็พลุกพล่านไปมาพร้อมด้วยเสียงจอแจฟังไม่ได้ศัพท์ มุฮัมมัดก็เดินทางมาถึงและก็แลเห็นกองทัพทหารปืนใหญ่ของท่านเดินทางมาทางทะเลได้รออยู่แล้วที่ท่าเรือเดบุลพร้อมกับกองกำลังสมทบที่ฮะยาตส่งมาอีกส่วนหนึ่ง
บัดนี้กองทัพอาหรับพร้อมแล้ว ในการที่จะพิสูจน์ให้พวกโจรสลัดผู้ปล้นเรือของชาวอาหรับได้สำนึกและดาฮาร์ผู้หยิ่งผยองไม่ได้เฉลียวใจสักนิดเลยว่า อาหรับจะกลับมาแก้แค้น และบัดนี้สิ่งที่พวกเขาไม่คิดฝันก็กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว
ป้อมปราการของเดบุล ยืนผงาดท้าทายดวงอาทิตย์ในฤดูใบไม้ร่วงอย่างสงบเงียบ ณ.ใจกลางเมืองก็เป็นที่ตั้งวิหาร ภายในวิหารเต็มไปด้วยหมู่เทวรูปสำหรับบูชา ซึ่งมีพราหมณ์ 300 คนเป็นผู้เฝ้าดูแลวิหาร และมีกองทหารราชบุตร รักษาการณ์อยู่ 400 คน และรอบฯตัวเมืองภายในล้อมรอบไปด้วยกำแพงหินทั้งสี่ด้าน บนยอดโดมของวิหารมีธงสีแดงผืนใหญ่กำลังโบกพริ้วและบนกำแพงทุกด้านเต็มไปด้วยรูปปั้นและเทวรูป ซึ่งพวกฮินดูต่างก็เชื่อมั่นว่าเทวรูปเหล่านี้สามารถป้องกันศรัตรูได้
และเเล้วในที่สุด มุฮัมมัดก็ได้สั่งทหารให้ลงมือทำการยึดเมืองในขณะเดียวกันทหารปืนใหญ่ก็สามารถยึดชายฝั่งเอาไว้ได้ ขณะที่ทหารมุสลิมโถมกำลังเข้าตีตัวเมืองนั้น พวกฮินดูก็ได้เตรียมพร้อมเช่นกัน โดยปิดประตูเมืองทุกด้าน ซ้ำยังมีกองทหารราชบุตรทำการตั้งรับอย่างเหนียวแน่น กองทหารมุสลิมก็ได้แต่เพียงล้อมตัวเมืองเอาไว้เท่านั้น โดยไม่สามารถจะตีเมืองได้ ในตอนต้นฯล้อมอยู่เป็นเวลาหลายวัน ซึ่งบางครั้งกองทัพฮินดูก็ออกมาทำการรบบ้างประปราย แต่ทว่าทัพใหญ่ของฮินดูยังคงขังตัวเองเงียบอยู่ในเมือง ซึ่งชาวฮินดูยังคงเชื่อมั่นต่อเทวรูปและเครื่องลางของขลังว่าคงรักษาภัยจากศรัตรูได้
มุฮัมมัด บิน กอสิม ต้องการจะพิชิตเมืองนี้ให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นท่านจึงพยายามทุกวิถีทาง ซึ่งก็บังเอิญโชคเป็นของท่านในเมื่อพาหมณ์คนหนึ่งได้กลับใจออกมาจากวิหาร พราหมณ์ผู้นั้นก็ถูกนำมายังมุฮัมมัด ท่านให้การต้อนรับพราหมณ์ผู้นั้นเป็นอย่างดี จนกระทั่งในที่สุดพราหมณ์ผู้นั้นก็ได้เปิดเผยความลับแก่ท่านทันที
"ท่านไม่สามารถจะตีเมืองนี้ได้ นอกจากท่านจะจัดการทำลายเครื่องลางซึ่งพวกฮินโูบูชานั้นเสียก่อน" พราหมณ์ผู้นั้นบอก
"เครื่องลางอะไรกัน?" มุฮัมมัดถามขึ้นด้วยความแปลกใจ
"ท่านเห็นธงสีแดงที่ติดอยู่บนยอดโดมของวิหารนั้นไหม บนฐานของเสาธงนั้นแหละ ที่พวกพราหมณ์ได้ติดตั้งเครื่องลางเอาไว้ ตราบใดที่ท่านไม่ทำลายเครื่องลางนั้น อย่าหวังเลยว่าท่านจะพิชิตเมืองได้ เพราะผู้คนในเมืองต่างก็ฝากโชคชะตาเอาไว้กับเครื่องลางนั้น" พราหมณ์คนนั้นบอกให้มุฮัมมัดทราบอย่างละเอียดถี่ถ้วน
จากคำบอกเล่าของพราหมณ์ผู้นั้น มุฮัมมัดก็ทราบความจริงว่าความเชื่อมั่นของฮินดูจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ตราบใดที่ธงผืนนั้นยังอยู่ ดังนั้นเขาต้องทำลายธงผืนนั้นให้ได้ ซึ่งมันไม่เป็นการลำบากเลยที่จะทำลายธงผืนนั้น มุฮัมมัดจึงสั่งให้ "ยาวีญา" แม่ทัพคนหนึ่งให้จัดการกับธงผืนนั้น
"ยาวีญา" ยิง(ดีด) กระสุนหินไปยังเสาธง ซึ่งพริบตาเดียวเสาธงนั้นก็หักสบั้นลงทันที บัดนี้เครื่องลางอันศักดิ์สิทธิ์ของฮินดูก็ได้ถูกทำลายลงแล้ว
ฮินดูฝากโชคชะตาไว้กับเครื่องลางที่พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันจะให้ความคุ้มครองได้แต่แล้วในที่สุด สิ่งที่พวกเขาหวังไว้ก็ถูกทำลายลงชั่วพริบตา ทำให้พวกเขาฉงนอย่างกับไม่เชื่อสายตาของตัวเอง อา...ผู้โจมตีมีอำนาจยิ่งกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาเสียแล้ว บัดนั้นเอง ภายในเมืองก็เกิดการโกลาหลอลม่านขึ้นทันที ในขณะที่เหตุการณ์กำลังสับสนอยู่นั่นเอง กองทหารราชบุตรก็ตัดสินใจเปิดประตูเมืองอย่างสิ้นคิด ยกทัพเข้าโจมตีกองทัพมุสลิมทันที แต่ในที่สุดก็ถูกกองทัพอาหรับตีตอบโต้ จนเกิดการระส่ำระส่ายล้มตายเป็นใบไม่ร่วง ส่วนพวกที่ยังมีชีวิตอยู่ก็คุมไม่ติด จนต้องถอยเข้าตัวเมือง มุฮัมมัดนำทัพเข้าตลุมบอนอย่างกระชั้นชิด เพื่อหวังจะเผด็จศึกเสียโดยเร็ว ท่านสั่งให้ทหารยึดตัวเมืองทันที ทหารมุสลิมใช้บันไดพาดปีนกำแพงเมือง ซึ่งในขณะเดียวกันกองทหารราชบุตรก็ทำการ
ต้านทานไว้อย่างเหนียวแน่น แต่กระนั้นก็ตามทหารมุสลิมก็สามารถขึ้นไปบนกำแพงเมืองได้ ในที่สุดการตลุมบอนกับอาวุธสั้นก็เดริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งบนกำแพงเมืองเสียงดาบต่อดาบ เสียงร้องครวญครางของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และเสียงโห่ร้องเหล่าทหารฟังไม่ได้ศัพท์ กลิ่นคาวเลือดคละคลุ้งไปหมดมันเป็นการต่อสู้กันด้วยเลือดและชีวิต ที่ต่างฝ่ายต่างก็โถมเข้าใส่กัน กองทหารราชบุตรและพวกพราหมณ์ทำการต่อสู้อย่างสุดกำลังสู้อย่างยอมตายถวายชีวิต เพื่อหวังที่จะรักษาเมืองเอาไว้ให้ได้ ส่วนทหารมุสลิมก็บุกอย่างไม่คิดคำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น
ดังประหนึ่งว่าเสียงร้องขอความช่วยเหลือของผู้หญิงและเด็กอาหรับกำลังก้องอยู่ในหู สู้เพื่อต้องการความยุติธรรม สู้เพื่อปลดปล่อยเชลย ทั้งสองฝ่ายต่างก็พลีชีวิตหลั่งลงทาแผ่นดิน ตามเชิงเทินบนกำแพงเมืองกลากเกลื่อนไปด้วยทรากศพและแดงฉานไปด้วเลือด ซึ่งส่งกลิ่นคาวคละคลุ้ง ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันด้วยเหตุและผลที่ต่างกัน
ในที่สุดหลังจากการสู้รบกันได้สามวัน ฮินดูก็ขอเจรจาอย่าศึกและในที่สุด มุฮัมมัดก็สามารถยึดเดบุลได้ หลังจากยึดเมืองได้แล้ว แทนที่มุฮัมมัดจะจับชาวเมืองเป็นเชลยศึกหรือยึดทรัพย์สมบัติของชาวเมือง เปล่าเลย ! ตรงกันข้าม ด้วยใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรม มุฮัมมัดกลับปฏิบัติต่อด้วยความปราณีและห้ามมิให้ทหารแตะต้องหรือทำลายวิหารของพวกฮินดูเลย พระผู้สอนศาสนาก็ได้รับอนุญาติให้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เจ้าผู้ครองเมืองซึ่งเจรจาหย่าศึกก็ยังคงให้สิทธิอำนาจ ครองเมืองต่อไป ซึ่งสรุปแล้วมุฮัมมัดได้ใช้พระคุณปฏิบัติต่อเชลยเหล่านั้น
ก่อนที่จะเดินทัพออกจากเดบุล มุฮัมมัดก็ได้สั่งให้ทหารของท่านส่วนหนึ่งอยู่ที่นี่ เพื่อสร้างมัสญิดขึ้นหลังหนึ่ง เป็นมัสญิดแห่งแรกที่ได้ถูกสร้างขึ้นในชมพูทวีป ซึ่งเป็นธรรมดาของชาวอาหรับมุสลิมไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ต้องสร้างมัสญิดขึ้นที่นั่นเพื่อเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ศาสนา
หลังจากพิชิตเดบุลได้เเล้ว แต่ก็ยังไม่มีร่องรยของราชาดาฮาร์ เลย ดังนั้นมุฮัมมัด บินกอ สิมก็สั่งเดินทัพต่อไปเพื่อต้องการเผชิญหน้ากับราชาดาฮาร์ผู้หยิ่งผยอง เพราะมุฮัมมัดคิดว่าท่านไม่อาจจะจากไปสินธุไปโดยไม่เผชิญหน้ากับราชาดาฮาร์ หลังจากได้แบ่งทหารเอาไว้ในเดบุล 4,000 คน ท่นก็เคลื่อนทัพเข้าไปยังใจกลางของอณาจักรสินธุทันที หลังจากพิชิตเดบุลได้แล้วพวกเขาก็ทำการปลดปล่อยพวกผู้หญิงและเด็กอาหรับเหล่านั้นทันที และต่อไปนี้น่านน้ำแห่งนี้คงจะไม่มีภัยอันตรายใดฯอีกต่อไป แต่ดูเหมือนว่าความปลอดภัยยังไม่หมดไปทีเดียว เพราะดาฮาร์ยังมีอำนาจอยู่ซึ่งพระองค์ก็คือศรัตรูคนสำคัญของอิสลาม แม้ว่าจะพิชิตเดบุลได้ แต่มุฮัมมัดก็คิดว่าภาระกิจของท่านยังไม่เรียบร้อยตราบใดที่ดาฮาร์ยังมีอำนาจอยู่ในสืนธุ และขณะเดียวกัน ฝ่ายดาฮาร์ก็ใช้ความคิดอย่างหนักเมื่อทราบว่ามุฮัมมัด บิน กอสิม สามารถยึดเดบุลได้ สุดปัญญาที่จะคิดในที่สุด
พระองค์ก็ส่งสาส์นทำนองข่มขู่มายังมุฮัมมัด หวังจะให้จอมทัพหนุ่มกลัว แต่กลับตรงกันข้ามคำขู่ของพระองค์ยิ่งทำให้มุฮัมมัด บิน กอ สิม อยากจะเผชิญหน้ากับราชา ดาฮาร์ยิ่งขึ้น
มุฮัมหมัด บิน กอสิม ผู้บุกเบิกชมพูทวีป ตอนที่ 2
โฆษณา