3 ธ.ค. 2021 เวลา 10:24 • ปรัชญา
“การแก้กรรม”
“ … เอาความรู้สึกของคนทั่วไปก่อน
กรรม คือ การกระทำ ถูกมั้ย
แต่คนทั่วไปในโลกนี้จะมีความรู้สึก
“โอ้ ฉันนี่ซวยจริง ๆ เลย โคตรกรรมเลย”
กรรมเนี่ยมันเหมือนผลที่ได้รับ
อันนี้คือความเข้าใจของคนวันนี้ คนวันนี้ก่อน
“โห เธอนี่กรรมหนักนะเนี่ย ซวยจริง ๆ เลย”
อะไรอย่างนี้
คือถ้าเอาจริง ๆ คำว่า “กรรม”
ที่คนในโลกใช้นี้มันกลายเป็น คือคำว่า “วิบาก” ถูกมั้ย
1
ตอนนี้เราเอาคำว่า กรรม ที่แปลว่า การกระทำ
มารวมกับวิบากไปด้วย
กรรมนี้เลยกลายเป็นมีทั้งการกระทำ
แล้วก็วิบากกรรมก็กลายเป็นคำว่า กรรม
ในวันนี้
ซึ่งมันก็เลยทำให้ธรรมะ ยิ่งอธิบายยากใหญ่
ในเมื่อ กรรม เป็นทั้งการกระทำ
แล้ว กรรม เป็นผลแห่งการกระทำด้วยเนี่ย
มันผิดทันที
ทีนี้ถ้าบอกว่า กรรม และ วิบากกรรม
เอาล่ะ ทีนี้มันคนละส่วน ถูกมั้ย มันคนละส่วน
กรรม ก็คือ การกระทำ
เราตบยุง เค้าก็บอกว่า ระวังนะเดี๋ยวต้องรับวิบาก
เออ อย่างนี้มันชัด
( กรรม คือ การกระทำ
วิบากกรรม คือ ผลของกรรม )
แล้วเกิดสมมติว่ามีใครโดนยุงกัด หรือว่าใครโดนหมากัด
“เธอไปตบยุงก่อน เธอเลยรับกรรม”
รับกรรม คือ รับวิบากกรรม ถูกมั้ย
หนึ่ง คือ กรรม
หนึ่ง คือ วิบากกรรม
มันคนละส่วนกัน
ชาวบ้านก็จะพูด กรรม ไปหมด
เอาล่ะ ทีนี้มาถึงตรงนี้ก็คือว่า
สมมติว่าเราถูกโกงเงิน
ก็จะมีคนบอกว่า
“เนี่ย เธอไปโกงเงินเค้ามา เธอก็เลยถูกเค้าโกง”
ตรงนี้พระพุทธเจ้าเรียก มิจฉาทิฏฐิ
อย่าพูดอย่างนี้เด็ดขาดนะ อย่าพูดอย่างนี้เด็ดขาด
เพราะฉะนั้น เรื่องของกรรมเนี่ย
เมื่อกี้บอกว่า กรรม คือผัสสะ
ผมจะบอกให้เลยว่าคนในโลกนี้ไม่มีใครมองเห็นเลย
ที่วินาทีที่เกิดการกระทบเนี่ย
สมมติว่าเรานั่งอยู่ แล้วมีการกระทบทางหู
อย่างเช่น มีคนนินทาเรา
คือทันทีที่เสียงกระทบเข้ามา
ที่เกิดเป็นวินาทีที่ผัสสะกระทบ สามอย่างทำงานร่วมกัน
ปั๊บ ขึ้นมา เกิดผัสสะ
วินาทีที่ผัสสะกระทบเนี่ย
มีทั้งกรรม และ วิบากในขณะเดียวเลย
มันอยู่ที่จิตจะรับสิ่งนั้นแบบไหน
เพราะฉะนั้น ที่ไปนั่งแก้กรรม
ไปนั่งทำอะไรกัน ไปนั่งจุดธูป ไปนั่งปล่อยปลา
นั่นแค่ ถ้าเป็นของดีก็เรียกว่าไปทำกุศล
ไปทำบุญทำกุศล ไม่ได้แก้กรรม
แก้กรรมจริง ๆ ที่พระพุทธเจ้าบอก
ถ้าอ่านลงไปจนกระทั่งจับหัวใจได้เนี่ย
เมื่อมีการกระทบ เกิดเป็นการกระทบ
สมมติว่า ไม่พอใจ แล้วสวนปั๊งออกไป
กรรมเกิดเลย ก่อกรรมเลยนะ
ถ้าปั๊ง แล้วก็มีสติระลึก แล้วก็สลายไป
นั่นแหละ การดับแห่งกรรม
ไม่ใช่ปล่อยปลา
ผัสสะดับปั๊บ กรรมดับเลย
ผัสสะดับปั๊บ กรรมดับเลย
วิบากก็ดับด้วย
วิบากเกิดจากอะไร
คนด่าปั๊บ “บ้าเอ๊ย แม่ง ..ง “
ทีนี้ฮีทขึ้นละ กิเลสเกิด กรรมเกิด ใจร้อนรนเลย
แต่ถ้าสติระลึกปั๊ง
ผัสสะดับปั๊บ ที่กำลังจะด่าเขาต่อเนี่ย
เงียบ ปั๊บลงไปพร้อมกัน
กรรมดับ วิบากดับ ตรงนั้นเลย
พระพุทธเจ้าบอก แก้กรรม ก็คือแก้ที่ผัสสะเนี่ยแหละ
เพราะฉะนั้น ถ้ามีสติเข้าไปขวาง
ในการที่จะผัสสะ
นั่นน่ะคือการดับแห่งกรรม
เพราะฉะนั้น ขณะที่เรากำลังเจริญภาวนา
เจริญกายคตาสติ กำลังเจริญสัมปชัญญะ
กำลังนั่งสมาธิ
วิบาก เข้าสู่จิตไม่ได้
วิบากอย่างที่พวกเราพูดถึง
อย่างเช่นถูกทำร้าย เดินหกคะล้ม
ซวยจริง ๆ ของการกระทบเนี่ย
สมมติมีคนมาโกงเงินแล้วบอก
"เธอเนี่ยซวยจริง ๆ เลย รับวิบาก"
สมมติว่าสติระลึก เกิดปัญญา
แล้วเราก็ไม่ได้ยึดถือ ของที่มันสูญไปแล้ว
คนที่เสียของไปแล้ว แล้วมานั่งนึกเสียดาย
อ่านป้ายทุกวัน อ่านมั้ย
“เสียงดายจัง” เขียนว่าไง “พวกโง่เลียซาก” ถูกมั้ย
ก็ถ้ามีคนไม่เลียซากเนี่ย
หายปั๊บ “เธอไม่เสียดายเหรอ”
“ก็หายไปแล้ว”
“หูว ฉันยังเสียดายแทนเลย”
นี่โง่กว่ากูอีก ของ ๆ กู ยังไม่เสียดายเลย
มาเสียดายแทน นี่บ้าหรือเปล่าเนี่ย
ใช่มั้ย ? ก็เลยต้องเลิกคบกัน
เพราะว่าเราบ้าแล้ว
เราไม่เสียดาย เราก็บ้าแล้ว
เพราะฉะนั้น วิบากแทนที่จะเกิด ไม่เกิด
เกิดไม่ได้ เกิดไม่ได้เห็นมั้ย
เมื่อมีสติ เมื่อมีปัญญา เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ
วิบากไม่เกิดนะ
ผมถึงถามว่า วิบากที่กำลังรับอยู่เนี่ย
มันพูดไม่ถูกนะ … “
.
ธรรมบรรยายโดยอ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
วันที่ 4 เมษายน 2564
ณ สวนยินดีเกาะพะลวย จ.สุราษฏร์ธานี
ข้อความจาก อ.ประเสริฐ เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2564
"ผม อ.ประเสริฐนะ แวะเข้ามาเยี่ยม
อนุโมทนานะหมอเพ็ชร
เมื่อมีสติ มีปัญญา จนเข้าใจความจริงของธรรมชาติ
กรรมจึงกลายเป็น "กิริยา"
ถึงจุดนี้ปัญญาก็ไม่ต้องใช้แล้วล่ะ
วิบากคือทุกข์ในใจคน จึงไม่มี
เพราะไม่มีตัวตนผู้ยึดถือ
การกระทำจึงว่างจากผู้กระทำ
แต่ทุกการกระทำนั้นยังคงมีอยู่บนสัมมาทิฏฐิ
จึงเหลือแต่การกระทำดีๆ
นั่นล่ะ "กรรมดับ วิบากดับ ที่สุดแห่งทุกข์"
ไม่มีผู้กระทำแต่ยังคงมีการกระทำดีๆในโลกต่อไป"
Photo by : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา