Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SpacenScience TH
•
ติดตาม
4 ธ.ค. 2021 เวลา 13:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกจากชิ้นส่วนดวงจันทร์
ภาพจากศิลปินแสดงKamo`oalewa เป็นดาวเคราะห์ใกล้โลก(near-Earth asteroid)
รายงานฉบับใหม่ที่เผยแพร่ใน Nature Communication บอกว่า ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกดวงหนึ่งน่าจะเป็นชิ้นส่วนจากดวงจันทร์ของเรา
ดาวเคราะห์น้อย Kamo`oalewa เป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกกลุ่มย่อยที่เรียกว่า บริวารเทียม(quasi-satellite) ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์ในวงโคจรที่ใกล้เคียงกับโลก และจึงอยู่ค่อนข้างใกล้โลก เราทราบเกี่ยวกับวัตถุเหล่านี้น้อยเนื่องจากพวกมันสลัวและยากที่จะสำรวจ Kamo`oalewa ถูกพบโดยกล้องโทรทรรศน์ PanSTARRS ในฮาวายในปี 2016 และชื่อของมันซึ่งตั้งตามคำในบทสวดภาษาฮาวายถึงบุตรผู้ซึ่งมีทางเดินของมันเอง ดาวเคราะห์น้อยนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 50 ถึง 60 เมตร และเข้ามาใกล้โลกได้ถึงระยะทาง 15 ล้านกิโลเมตร วงโคจรของมันที่เอียงกว่าและรีกว่าวงโคจรโลกเล็กน้อย หินจึงนำหน้าและตามหลังโลกเล็กน้อยอย่างคงที่
เนื่องจากวงโคจรของมัน จะสามารถสำรวจ Kamo`oalewa ของโลกได้เฉพาะช่วงไม่กี่สัปดาห์ในเดือนเมษายนทุกๆ ปี ขนาดที่ค่อนข้างเล็กหมายความว่าจะสามารถมองเห็นได้เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สุดบนโลกเท่านั้น ด้วยการใช้ Large Binocular Telescope ซึ่งดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยอริโซนา บนเมาท์แกร์หม ในอริโซนาตอนใต้ ทีมนักดาราศาสตร์ซึ่งนำโดย Ben Sharkey นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ มหาวิทยาลัยอริโซนา ได้พบว่ารูปแบบการสะท้อนแสงของ Kamo`oalewa ที่เรียกว่า สเปคตรัม มีความสอดคล้องกับหินดวงจันทร์ที่นำกลับมาโดยปฏิบัติการอพอลโล่ ซึ่งบอกถึงกำเนิดของมันว่ามาจากดวงจันทร์
วงโคจรของKamo`oalewa รอบดวงอาทิตย์ ในขณะเดียวกัน มันก็โคจรใกล้โลกด้วย
ทีมยังไม่แน่ใจว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าไม่เคยพบดาวเคราะห์น้อยใดที่มีกำเนิดจากดวงจันทร์เลย ผมตรวจสอบสเปคตรัมดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกทุกๆ ดวงที่เราเข้าถึง และไม่พบความสอดคล้องเลย Sharkey ผู้เขียนนำรายงานนี้ กล่าว มีการโต้เถียงกำเนิดของ Kamo`oalewa ระหว่าง Sharkey กับอาจารย์ที่ปรึกษาของเขา Vishnu Reddy ซึ่งนำไปสู่การใช้เวลาสามปีเพื่อหาคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผล
Reddy ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วม เริ่มโครงการสำรวจหินในละแวกใกล้โลกในปี 2016 กล่าวว่า เราเถียงกันแทบเป็นแทบตาย หลังจากพลาดโอกาสที่จะสำรวจมันในเดือนเมษายน 2020 อันเนื่องจากการระเบิดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ต้องปิดกล้องโทรทรรศน์ สุดท้ายทีมก็ได้พบชิ้นส่วนปริศนาชิ้นสุดท้ายในปี 2021 Sharkey กล่าวว่า ฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา เราได้การสำรวจติดตามผลที่ต้องการแล้วก็บอกว่า เออ มันเป็นอย่างนั้นจริง มันง่ายกว่าที่จะอธิบายด้วยดวงจันทร์มากกว่าแนวคิดอื่น
วงโคจรของ Kamo`oalewa ยังเป็นอีกเงื่อนงำถึงกำเนิดจากดวงจันทร์ของมัน วงโคจรของมันคล้ายกับโลก แต่มีความเอียงน้อยที่สุด วงโคจรของมันยังไม่ปกติเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก Renu Molhotra ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ที่มหาวิทยาลัยอริโซนา ผู้เขียนร่วม ซึ่งนำการวิเคราะห์วงโคจรในการศึกษานี้ กล่าว เป็นไปได้ยากที่ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกทั่วๆ ไป จะขยับเข้าสู่วงโคจรแบบดวงจันทร์เทียมอย่าง Kamo`oalewa เธอกล่าว มันไม่น่าจะอยู่ในวงโคจรพิเศษนี้ได้นานนัก ก็อีกเพียง 300 ปีข้างหน้า และเราประเมินว่ามันมาถึงวงโคจรนี้เมื่อ 500 ปีก่อน ห้องทดลองของเธอกำลังทำงานกับรายงานเพื่อสืบสวนกำเนิดของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ต่อไป
นักวิจัยเชื่อมโยงองค์ประกอบของ Kamo`oalewa กับหินดวงจันทร์ที่ปฏิบัติการอพอลโล่นำกลับมา
ถ้าคุณมองดูดวงจันทร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ คุณจะเห็นหลุมอุกกาบาตหลายพันแห่ง วัสดุสารที่ผลักออกมาในระหว่างการชนเหล่านี้ก็น่าจะปลิวไปทั่ว แต่กลับไม่มีใครเคยพบเลย Reddy กล่าว โดยรวมแล้ว มีการค้นพบอุกกาบาตจากดวงจันทร์บนโลกมากกว่า 480 ดวง ซึ่งบอกว่าชิ้นส่วนของดวงจันทร์ออกเดินทางทั่วอวกาศค่อนข้างถี่ Kamo`oalewa อาจจะเป็นหินก้อนใหญ่ดวงแรกที่พบว่าแยกตัวออกจากดวงจันทร์ จากหนึ่งในการชนโบราณเหล่านั้น
Kamo`oalewa มีความสลัวมากกว่าดาวที่สลัวที่สุดที่สายตามนุษย์จะมองเห็นได้ประมาณ 4 ล้านเท่า การสำรวจที่ท้าทายเหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยพลังมหาศาลในการรวบรวมแสงจากกล้องโทรทรรศน์แฝดขนาด 8.4 เมตรที่ Large Binocular Telescope Al Conrad ผู้เขียนร่วมการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ของกล้องนี้ กล่าว นอกจาก Large Binocular Telescope แล้ว ทีมยังใช้กล้องโทรทรรศน์ดิสคัฟเวอรี่โลเวลล์ ในช่วงอินฟราเรด เพื่อดูว่าหินก้อนนี้สะท้อนแสงอย่างไรเพื่อเผยองค์ประกอบของมัน จีนวางแผนที่จะส่งปฏิบัติการไปเก็บตัวอย่างจาก Kamo`oalewa ในปี 2024 และจะนำกลับมาที่โลกในภายหลัง
แหล่งข่าว
phys.org
: Near-Earth asteroid might be a lost fragment of the moon
space.com
: a “quasi-moon” asteroid companion of Earth that may actually be a moon relic
sciencealert.com
: a massive rock orbiting the sun appears to have originated surprisingly close to us
ดาราศาสตร์
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย