Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ญี่ปุ่นหลากมิติ
•
ติดตาม
3 ธ.ค. 2021 เวลา 14:18 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
■ มองญี่ปุ่นผ่านละครโทรทัศน์ชิ้นเอก "โอชิน" (ตอนที่ 2) ตอนจบ
โคบายาชิ อายาโกะ ในบท "โอชิน"
"โอชิน" ตัวละครเอกของเรื่อง เด็กหญิงผู้เกิด ณ หมู่บ้านที่ยากจนในสมัยเมจิที่มีทั้งหิมะและความหนาวเหน็บ
ละครเล่าถึงเรื่องราวที่เด็กหญิงได้พบเจอ ทั้งการผจญชีวิตเอาตัวรอดอย่างแข็งขัน โดยถูกให้ทำงานพร้อมกินอยู่กับนายจ้างในฐานะคนรับใช้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย อีกทั้งการเติบโตมาพร้อมกับความปั่นป่วนแห่งยุคสมัยของญี่ปุ่นในขณะนั้น
ช่วงระยะเวลาของเนื้อหาในละครมีบทสรุปสิ้นสุดอยู่ภายในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการบรรยายพรรณนาต่อเหตุการณ์แวดล้อมในประวัติศาสตร์ก็มีความเข้มข้นได้เนื้อ
ไม่เพียงแค่ในญี่ปุ่น แม้แต่ในต่างประเทศก็ได้รับความนิยมอย่างมหาศาล(โดยเฉพาะในเอเชีย) ผู้คนในต่างแดนได้ติดตามรับชมโอชินด้วยความหลงใหล การที่ชื่อเสียงของละครได้ถูกกล่าวถึงอย่างมากทำให้คนญี่ปุ่นเองหลายคนถึงกับประหลาดใจ
กระแสโอชินไม่หยุดอยู่แค่ในทีวีเท่านั้น ในสมัยนั้นคำว่า "โอชิน" สื่อความหมายไปในทำนองว่า "อดทน" หรือ "จะไม่ยอมแพ้ให้แก่ความทุกข์ยาก" ซึ่งเป็นคำที่ถูกผู้คนพูดอยู่เป็นประจำ
นักศึกษาบางคนทั้งที่เพิ่งเรียนจบและเข้ามาในโตเกียวโดยที่ยังไม่มีทีวีดูเพื่อรับรู้ข่าวสาร แต่ทว่าชื่อเสียงของโอชินเป็นสิ่งที่พุ่งทะยานขึ้นเทียบเท่ากับเรื่องของไมเคิล แจ็คสัน หรือเทียบเท่ากระแสรายการMTVเลยทีเดียว
ในช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจยุค80 ยุคแห่งความขัดสนของญี่ปุ่นกำลังเป็นประเด็น แต่ในทางตรงกันข้าม ละครเรื่องโอชินกลับเป็นสิ่งที่มีความสดใหม่ ความนิยมของโอชินมีมากขนาดไหนนั้น ใครในฐานะผู้ที่ได้เคยรับชมที่มีชีวิตร่วมสมัยเดียวกันย่อมรู้สึกได้อยู่อย่างเต็มที่
ญี่ปุ่นก่อนยุคฟองสบู่
ผู้รับบทโอชินในสมัยเป็นเด็ก คือนักแสดงรุ่นเยาว์ โคบายาชิ อายาโกะ ถ้าตัวเธอคือโอชิน คิดว่าลักษณะที่น่าเอ็นดูไร้เดียงสาของโคบายาชิ อายาโกะ เป็นมาตราฐานที่สามารถเห็นได้ทั่วไปในเด็กผู้หญิง แต่เป็นเพราะในส่วนของการแสดงนั้นต่างหากที่ทำให้ผู้ชมบ่อน้ำตาแตกแน่นอน
ในละครแนวอัตชีวประวัติแบบนี้ส่วนใหญ่ก็จะมีตัวละครเอกที่ถูกตัวร้ายคอยรังแกเป็นพล็อตเรื่องมาตรฐานที่เห็นได้ทั่วไป
โอชินก็เป็นละครเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ที่แตกต่างจากเรื่องอื่นคือตรงที่โอชินเป็นเด็กที่มีการพูดแสดงความคิดเห็นอยู่บ่อยครั้ง และแสดงความสนและใส่ใจต่อสิ่งต่างๆเสมือนผู้ใหญ่
คำพูดที่โอชินได้กล่าวในละครซึ่งแม้แต่ผู้ใหญ่ยังอายนั้น แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่คุณฮาชิดะ สุงาโกะเป็นผู้เขียนใส่ไว้ในบทละครของเธอ
เธอได้ใส่บทพูดที่เปรียบเสมือนเลือดและเนื้อลงไปในรูปกายของโอชิน ผ่านคำพูดที่เกิดจากโอชินโดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในกรอบของความคิดที่เป็นเด็กสาวเท่านั้น
ฮาชิดะ สุงาโกะ ผู้เขียนบทละครโอชิน
ในที่สุดโอชินได้หนีออกจากที่ทำงานที่แรก และได้รับการช่วยเหลือจากทหารที่หนีทัพในขณะที่โอชินกำลังหลงอยู่บนภูเขาหิมะ หลังจากนั้นก็ได้ไปทำงานเป็นครั้งที่สอง ณ ร้านค้าส่งข้าวสารที่ซาคาตะ ที่นี่เองที่โอชินได้เติบโตและมีโอกาสได้เรียนการอ่านเขียนภายใต้การดูแลจากเจ้าของร้านผู้เป็นนายจ้างที่มีความเห็นอกเห็นใจเธอ
ช่วงต่อมาของละคร โอชินในวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่อันเป็นยุคสมัยไทโชนั้น ผู้มารับบทแสดงในช่วงอายุนี้ได้แก่ ทานากะ ยูโกะ
ทานากะ ยูโกะ
โอชินที่แสดงผ่านสาวน้อยโคบายาชิ อายาโกะมีความสดใสร่าเริงจนคนดูเองเผลอที่จะอดเป็นห่วงไม่ได้ แต่โอชินที่แสดงออกมาผ่านนักแสดงสาวที่เห็นครั้งแรกคนดูก็สัมผัสได้ถึงสเน่ห์ นั่นคือ ทานากะ ยูโกะ นั้นก็เป็นอะไรที่ยอดเยี่ยม ทานากะ ยูโกะ ได้สร้างภาพใหม่ของโอชินขึ้นมาราวกับฉาบทาทับลงบนภาพโอชินสมัยเป็นเด็กสาว แน่นอนว่าฉากยุคหลังสงครามในละครเรื่องนี้ที่ โอโตวะ โนบุโกะ ผู้รับบทเป็นโอชินในช่วงสูงวัย ก็แสดงได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
โอโตวะ โนบุโกะ
■ แนวคิดที่ไม่เปลี่ยนแปลง
แต่ถึงแม้ว่าโอชินจะเป็นเพียง "อะซะโดะระมะ" หรือละครช่วงเช้าซึ่งมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวที่ตัวเอกของเรื่องมักเป็นผู้หญิงและมีกลุ่มเป้าหมายคนดูเป็นเหล่าบรรดาแม่บ้านก็ตาม
แต่ต้องยอมรับว่าละครเรื่องนี้ได้ทำให้เราซึ่งเป็นคนดูสามารถที่จะจินตนาการนึกภาพออกถึงวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นในช่วงก่อนเจเนอเรชั่นที่สองและสามเล็กน้อยว่ามันเป็นเรื่องเจ็บปวดถึงขนาดนี้เลยหรือ กับการพยายามที่จะสืบทอดเรื่องเหล่านั้นสู่คนรุ่นต่อไป
คือทั้งในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เราได้ผ่านประสบการณ์มา ว่าผู้หญิงที่เป็นตัวแทนของแม่ผัวใจร้ายเป็นแบบนี้ ลูกชายคนโตนั้นคือแบบนี้ ส่วนลูกสะใภ้ควรจะทำเรื่องนี้ ทำให้เชื่อว่านี่มันเป็นเรื่องธรรมดา อีกทั้งเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีและแม้กระทั่งเรื่องความเชื่อโชคลาง แนวโน้มแบบที่กล่าวมามีการเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง แต่ในปัจจุบันนี้ยังคงหลงเหลืออยู่อย่างเด่นชัด
ส่วนคนที่ไม่มีข้อสงสัยเนื่องจากเชื่อว่าควรปฏิบัติตามสามัญสำนึกทางสังคมที่สอนกันมาว่า "สังคมจะไม่ยกโทษให้" มีอยู่จำนวนมาก คนแบบนี้จะบังคับคนอื่นด้วยแนวคิดธรรมดาๆที่ใครก็เดาได้ไม่ยาก อย่างเช่นคิดว่าคนเราควรต้องแต่งงานในช่วงอายุที่เหมาะสมเท่านั้นเท่านี้สิ! ถ้าผมหงอกก็ต้องย้อมดำสิ! ในญี่ปุ่นถึงขนาดว่าถ้ามีใครรู้ว่าเรายังโสด ก็จะพูดตอบกลับมาทำนองว่า "เอ๊ะ! ทำไมคุณถึงยังไม่แต่งงานล่ะ? น่าเสียดาย" ถ้าคู่สนทนาเป็นคนญี่ปุ่นล่ะก็ ส่วนใหญ่จะถามคำถามแบบนี้กลับมาแน่นอน
คนญี่ปุ่น(บางคน)นั้นก็รู้สึกว่าวิธีคิดของคนญี่ปุ่นจำนวนมากคับแคบ ถ้าไปที่ที่คนญี่ปุ่นรวมตัวกันก็จะรู้สึกอึดอัดหายใจติดขัดเพราะถูกพินิจพิเคราะห์หรือสอดแนมว่าเราเป็นใครกันนะ จากนั้นจะยัดเยียดความใจดีที่เกินความจำเป็นมาทำนองว่า "เดี๋ยวจะหาคู่แต่งงานให้ทันที" อะไรแบบนี้
สำหรับผู้อ่านหรือใครที่ต่อต้านคนหรือเรื่องแบบข้างต้นนี้อย่างสุดกำลัง ถ้ามาเจอแบบนี้ ในใจคงรู้สึกว่าทนไม่ไหวแน่ๆ
■ กุญแจสู่ความสำเร็จและเติบโตในต่างแดน
กล่าวได้ว่าช่วงเวลานั้นโอชินเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จที่สุดท่ามกลางละครจากญี่ปุ่นที่เติบโตในต่างประเทศ
สำหรับคนต่างชาติในตอนที่ได้ดูละครเรื่องนี้ครั้งแรก คิดว่าฉากที่เข้าใจยากคงจะมีเยอะพอสมควร
แต่โอชินกลับเป็นละครที่ได้รับการบันทึกในต่างประเทศว่าเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมและสามารถก้าวข้ามอุปสรรคแบบนั้นไปได้
ผู้เขียนขออนุญาตนำเนื้อหาบางส่วนจากBBC News ซึ่งมีความน่าสนใจและทำให้พวกเราได้รู้ถึงมิติทางสังคมของญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น ดังข้อความด้านล่างนี้
.
.
" อย่างไรก็ตาม 'สงครามชีวิตโอชิน' ได้รับความนิยมอย่างสูงในญี่ปุ่นภายในระยะเวลาอันสั้น คอลัมนิสต์ชื่อดังของญี่ปุ่นผู้หนึ่งได้เขียนอธิบายปรากฏการณ์นี้ไว้ว่า ภาพของความยากจนขาดแคลนและความลำบากแสนสาหัสในการเอาชีวิตรอดของโอชิน ช่างแตกต่างราวฟ้ากับเหวเมื่อเทียบกับชีวิตของชาวญี่ปุ่นในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ ซึ่งเต็มไปด้วยการใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยทุกหนแห่ง
ชีวิตของชาวญี่ปุ่นในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่
ดร. อารวินท์ สิงหล ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส วิทยาเขตเอลปาโซ บอกกับบีบีซีว่า 'ค่านิยมที่เป็นสากลอย่างความรัก การเสียสละ ความอดทน และการให้อภัย ทำให้ญี่ปุ่นสามารถส่งออกเรื่องราวของโอชินจนเป็นที่นิยมไปทั่วโลกได้ '
นอกจากนี้ ละครสงครามชีวิตโอชินยังช่วยลดทอนความรู้สึกเกลียดชังต่อต้านญี่ปุ่น ลบเลือนภาพลักษณ์อันโหดร้ายทารุณซึ่งมีที่มาจากกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองได้เป็นอย่างดี
ทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ผู้ชมในไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียบอกว่า ละครเรื่องนี้เปลี่ยนทัศนคติของพวกเขาในวัยเด็ก จากที่เคยเชื่อว่าคนญี่ปุ่นโหดร้ายเลือดเย็นตามคำบอกเล่าของคนรุ่นปู่ย่าในยุคสงคราม มาสู่มุมมองที่เป็นมิตรมากขึ้น จนกลายเป็นว่าคนญี่ปุ่นดูจะมีภาพลักษณ์ที่เหมือนศัตรูลดน้อยลงไปมากสำหรับพวกเขา " (ที่มา : BBC News 6 มิถุนายน 2021)
ถึงตอนนี้ เราลองมาค้นหากุญแจไขความลับที่ทำให้โอชินประสบความสำเร็จและเติบโตในต่างประเทศกัน ว่ามีอะไรบ้าง
อย่างแรก สิ่งที่ถูกยกให้เป็นเหตุผลแห่งความสำเร็จอย่างแรกก็คือคาแรคเตอร์ของโอชินที่มีความเป็นสากลเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป(การเอาชนะอุปสรรค การต่อสู้กับความลำบากช่วงสงคราม เป็นต้น)
ถัดมา โอชินไม่ยอมแพ้ต่อทั้งความยากจนและต่อทั้งสงคราม ถึงแม้ความลำบากเหนื่อยยากจะไม่หมดไปแต่ยังมีชีวิตต่อไปด้วยความมุ่งมั่น
ซึ่งตรงนี้เป็นคาแรกเตอร์ที่ถือความเข้มข้นของแก่นสาระของเรื่องไว้
ข้อต่อมา โอชินได้ส่งผลกระทบถึงพื้นที่ทางวัฒนธรรมต่างๆ เช่น พื้นที่เขตจีนแผ่นดินใหญ่และจีนโพ้นทะเล(จีน ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน) พื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น เวียดนาม รวมถึงเขตแดนอิสลามอย่างอิหร่านและอียิปต์ด้วย
ผู้คนในทุกๆประเทศที่ได้ดูโอชิน ต่างบรรยายถึงความทรงจำในความประทับใจต่อภาพลักษณะของโอชิน ตัวละครที่เผชิญหน้าต่อความยากลำบาก
แม้จะมีความแตกต่างทางภาษาหรือวัฒนธรรม แต่สำหรับมนุษย์ที่ใช้ชีวิตด้วยความมุ่งมั่นแล้ว ไม่ว่าเมื่อไหร่หรือที่ไหนก็เป็นที่รักได้ทั้งนั้น
■ โอชินกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชีย
อีกอย่าง ณ ช่วงเวลาที่ละครโอชินกำลังเป็นกระแสนิยม ก็มีจุดที่ควรให้ความสนใจอยู่เหมือนกัน
ช่วงเวลาที่ละครออกอากาศในญี่ปุ่นคือตั้งแต่ปี1983 จนถึงปีถัดมา
ส่วนในต่างประเทศนั้น ตั้งแต่ครึ่งหลังช่วงปี1980 ยาวมาจนถึงช่วงปี1990 ห้วงเวลานี้พอดีที่ละครได้ออกสู่สายตาชาวโลก อันเป็นช่วงที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียมีความชัดเจนเป็นระเบียบแบบแผน
ในญี่ปุ่น โอชินอาจเป็นละครที่ชวนก่อให้เกิดความเศร้าในฐานะเรื่องราวที่เล่าถึงอดีต แต่สำหรับประเทศต่างๆในเอเชียแล้ว โอชินกลับถูกยอมรับในฐานะนางเอกแห่งช่วงเวลาในขณะนั้นที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่การเติบโตและฟื้นตัวจากความลำบากยากจนที่แสนแร้นแค้น
■ บทส่งท้าย
ญี่ปุ่นที่เราเห็นในวันนี้ผู้คนมีการรักษาเวลาที่เคร่งครัด เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น คนมีความซื่อสัตย์ ของกินอร่อย มีการบริการที่ไว้ใจได้ ห้องน้ำสาธารณะที่สะอาดแบบไม่น่าเชื่อมีอยู่ทุกที่
เมื่อเห็นการเปลี่ยนมาเป็นสังคมที่การใช้ชีวิตง่ายขึ้นมาก ทำให้คิดได้ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีของคนญี่ปุ่นที่ส่งต่อมาจากสมัยก่อนนั้นช่างมีอิทธิพลจูงใจอย่างมหาศาล เราจำเป็นต้องยกย่องชื่นชมในวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่รู้จักโดยถูกเรียกว่า "Only in Japan"
ญี่ปุ่นในปัจจุบัน
แต่ในเวลาเดียวกัน คนญี่ปุ่นที่ไม่ทำตามกฎตามธรรมเนียมก็ยังคงมีอยู่มากมายทั้งในสมัยก่อนและในตอนนี้
คิดว่าคนเหล่านี้เป็นคนที่เปลี่ยนสังคมญี่ปุ่น เราเห็นสามีภรรยาคนญี่ปุ่นที่เป็นหนุ่มสาวแชร์การเลี้ยงดูลูกกันอย่างมีความสุขสนุกสนาน ฝ่ายลูกตัวน้อยก็มีท่าทางว่ามีความยินดีพอใจ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงของญี่ปุ่นเองก็ดูจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ คนญี่ปุ่นหลายคนเมื่อหันมาดูตนเองเทียบกับ "โอชิน" พวกเขาคิดว่าอยากขอบคุณที่เกิดมาในยุคสมัยที่โชคดีแบบนี้
ในปี พ.ศ.2563 คุณฮาชิดะ สุงาโกะ ผู้เขียนบทละครเรื่อง "โอชิน" ได้รับรางวัลเกียรติยศสูงสุดทางด้านวัฒนธรรม "Japan Order of Culture " จากรัฐบาลญี่ปุ่น
ขอให้ดวงวิญญาณของคุณฮาชิดะ สุงาโกะผู้ให้กำเนิดละครที่ยอดเยี่ยมเรื่องนี้ ได้ไปสู่สุคติในสัมปรายภพด้วยเทอญ...
ญี่ปุ่น
ประวัติศาสตร์
บันเทิง
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย