4 ธ.ค. 2021 เวลา 06:55 • สุขภาพ
วันนี้ว่าด้วยเรื่อง การป้องกันอันตรายจากรังสี สำหรับผู้มาใช้บริการตรวจทางรังสี
ขออภัยสภาพไม่สมประกอบของนักรังสีนะคะ เพิ่งตกรถเอกซเรย์มา แต่ยังทำงานได้ค่า นักรังสีมีน้อย ใช้สอยอย่างประหยัดนะคะ 😘
มีหลักง่ายๆ 3 ข้อ สำหรับประชาชนทั่วไปจะปฏิบัติได้คือ
1. ระยะห่าง ยิ่งห่างมาก รังสียิ่งลดลงแบบยกกำลัง เพราะฉะนั้น สมมติว่าต้องไปเฝ้าญาติ แล้วมีเจ้าหน้าที่มาเอกซเรย์บนห้อง ให้ญาติหลบห่างๆ เลยค่ะ (ปกติเจ้าหน้าที่จะบอกอยู่แล้วว่า ให้หลบรังสี)
2.สิ่งกำบัง ผนังคอนกรีตหนา ฉากตะกั่ว เสื้อตะกั่ว ถ้ามีญาติต้องมาเอกซเรย์ และเจ้าหน้าที่ขอความช่วยเหลือ ให้ช่วยจับญาติ จับอุปกรณ์ขณะเอกซเรย์ ให้ร้องขอ เสื้อตะกั่ว แต่ถ้าหากไม่ต้องช่วยขณะเอกซเรย์ ก็ให้หลบห่างๆ หรือมีฉากตะกั่วก็เข้าไปหลบหลังฉาก หรือออกจากห้องไปเลยค่ะ
3. ระยะเวลา อันนี้ เจ้าหน้าที่จะควบคุมให้ เพราะเราจะใช้เวลาในการปล่อยรังสีน้อยมาก(ในงานรังสีวินิจฉัย) เป็นเวลา milliseconds เรียกได้ว่า เสี้ยววินาทีเท่านั้น ในช่วงระหว่างนั้น ห้องจะปลอดภัย เพราะงานรังสีวินิจฉัย ไม่ได้ปล่อยรังสีตลอดเวลาค่ะ
สงสัยอะไร ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ดูได้นะคะ แต่ขอแจ้งนิดนึงตรงนี้ว่า เจ้าหน้าที่นั้น ได้รับรังสีอยู่เรื่อยๆ ตลอดการทำงานอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จึงมีแนวทางปฏิบัติที่ออกเป็นข้อบังคับ ไม่ให้เจ้าหน้าที่ทางรังสี จับผู้ป่วย หรืออุปกรณ์ในขณะเอกซเรย์ค่ะ เพื่อป้องกัน ไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีเกินจนเกิดอันตรายนะคะ
ถ้าหากท่านผู้อ่านเห็นว่ามีประโยชน์ ฝากแชร์ เพื่อนเป็นกำลังใจด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่า 🥰
โฆษณา