4 ธ.ค. 2021 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
4 กองทุนเกาะกระแสรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาด
รู้จักกองทุนที่ได้ประโยชน์จากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาด
ทำไมต้องลงทุนตอนนี้ ?!
#นโยบายสนับสนุนฝั่งสหรัฐ
Joe Biden ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนกระแสเทรนด์รักโลกด้วยการชู EV Made In US เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนรถยนต์ของภาครัฐที่ใช้น้ำมันจะถูกเปลี่ยนเป็น EV
โดยคาดว่าถ้า Biden อยู่ครบ 2 สมัย รถยนต์ของรัฐราว 6.5 แสนคันจะต้องถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเกือบทั้งหมด
แถมด้วย Biden ยังสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปซื้อรถ EV ได้ถูกลงโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีลดราคาลงประมาณ 7,500 ดอลลาร์ต่อคัน (2.2 แสนบาท) แก่ผู้ที่จะเปลี่ยนรถจากที่ใช้น้ำมัน ไปใช้รถ EV ซึ่งถ้าเป็นรถผลิตในสหรัฐและบริษัทมีสหภาพแรงงาน ผู้ซื้อจะได้ลดราคาอีกราว 5,000 ดอลลาร์ต่อคัน (1.6 แสนบาท) ซึ่งแบรนด์เข้าเกณฑ์คือ Ford, GM, Chrysler บริษัทเก่าแก่สัญชาติ US
1
#นโยบายสนับสนุนฝั่งจีน
รัฐบาลกำหนดโควตาสำหรับแบรนด์รถยนต์ว่า
ต้องผลิตรถ EV 16% ของกำลังการผลิตรวมในปี 2022
ต้องผลิตรถ EV 18% ของกำลังการผลิตรวมในปี 2023
พร้อมกำหนดว่าปี 2025 โควตาขายรถ 1 ใน 4 ของประเทศต้องเป็น EV
ปี 2030 โควตาขายรถ 1 ใน 3 ของประเทศต้องเป็น EV
แถมด้วยการใช้ Dual-Credit หรือนโยบายควบคุมการใช้เชื้อเพลิงมลพิษตั้งแต่ปี 2018 ที่ให้ผู้ผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเยอะจะต้องไปซื้อเครดิตส่วนเกินจากผู้ผลิตรถ EV ไม่งั้นต้องจ่ายค่าปรับหรือภาษีเพิ่มเติม
เป็นการเร่งให้ผู้ผลิตรถน้ำมันหันมาผลิต EV เพิ่มขึ้น
ทางด้านเหตุผลที่จีนต้องเร่งการใช้ EV เพราะมลพิษอากาศในเมืองใหญ่ย่ำแย่มาก ถ้าใครจำได้เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ฝุ่นในปักกิ่งทำสถิติเป็นอันดับต้นๆของโลก (แต่ตอนนี้เหมือนกรุงเทพจะแซงแล้ว)
ทำให้รัฐบาลจีนซึ่งดูแลประชาชนคุ้มค่าภาษีเลือกดัน EV ขึ้นมาลดมลภาวะ และอีกเหตุผลคือถ้าจีนหวังจะปั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ขึ้นมาแซงญี่ปุ่น จะต้องข้ามไป EV เลย ซึ่งเหลือตลาดใหญ่กว่ารถน้ำมันมาก
จะเห็นว่านโยบายสนับสนุนทั้ง 2 ฝั่ง เป็นการเพิ่มทั้งกำลังการผลิต (Supply) และความต้องการซื้อ(Demand) ไปพร้อมๆกัน เมื่อรถ EV มีความต้องการมาก ก็จะ Scale กำลังการผลิตขึ้นไปมาก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันเพิ่มประสิทธิภาพและต้นทุนถูกลง เช่น แบตเตอรี่ ซึ่งเป็น Pain Point สำคัญสำหรับ Clean Energy ต่อไป
เรียกว่า EV และ Batterry เป็นตัวเบิกทางให้อุตสาหกรรม Clean Enengy ในช่วง 10 ปีนี้
สำหรับกองทุน รถยนต์ EV และแบตเตอรี่ เรายกตัวอย่างมา 4 กองเน้นๆ
1. ASP-POWER
ลงทุนผ่าน 3 ETF เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรม
1.1) KraneShares Electric Vehicles & Future Mobility ETF
ลงทุนในอุตสาหกรรม EV ทั้งผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตเซมิคอนดักส์เตอร์ และผู้ผลิตแบตเตอรี่
1.2) Global X Lithium & Battery Tech ETF
ลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องและอยู่ในสายการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมเต็มรูปแบบ (The full lithium value chain) ตั้งแต่การขุดค้นและการกลั่นจนถึงการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม
1.3) BNP Paribas Energy Transition
ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด เช่น Electrical grid & Charging Infrastructure
เมื่อมาคำนวณสัดส่วน หุ้นที่ลงทุน 5 อันดับแรก คือ
TESLA ถือ 3.33%
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัฐชาติสหรัฐ เป็น Iconic ของรถ EV
CATL ถือ 3.03%
เจ้าตลาด Lithium-ion Battery ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า
ปัจจุบันมีสัดส่วนตลาดในจีนกว่า 49% และครองตลาดทั่วโลกกว่า 31%
Albemarle ถือ 2.74%
ผู้ผลิตรายใหญ่ในสายการผลิต Lithium แบตเตอรี่ นำแร่ลิเธียมมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อเปลี่ยนไปเป็นลิเทียมที่บริสุทธิ์ ครอง Market Share เป็นอันดับ 1 สำหรับ Lithium Carbonate Equivalent (LCE) ด้วยสัดส่วนประมาณ 22%
Plug Power ถือ 2.44%
ผู้ผลิต Fuel-Cell ที่เติบโตได้เพราะเทรนด์เชื้อเพลิง Hydrogen ในรถบรรทุก
Eve Energy ถือ 2.30%
บริษัทผลิตลิเทียมแบตเตอรี่ชั้นนำของจีน
ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564
2. UEV
ลงกองเหมือนได้ทั้งอุตสาหกรรม เพราะ UEV ลงทุนผ่าน 2 กองทุน
1
2.1) RobecoSAM Smart Mobility Equities
เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น ธุรกิจการขายชิ้นส่วนการผลิต EV ไม่ว่าจะเป็น
- แบตเตอรี่ และเครื่องส่งกำลังไฟฟ้า (EV component suppliers)
- โรงงานผู้ผลิตรถยนต์ EV และระบบ software ในการติดตั้ง (EV car manufacturers & Subsystem suppliers)
- ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เครื่องชาร์ตไฟและเทคโนโลยีการส่งไฟฟ้า (Electrical grid & Charging Infrastructure)
- AI การเชื่อมต่อและการขนส่งสาธารณะ (Vehicle connectivity & Autonomous driving)
2.2) Global X Lithium & Battery Tech ETF เป็นกองทุน ETF ที่ลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวเนื่องและอยู่ในสายการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมเต็มรูปแบบ (The full lithium value chain) ตั้งแต่การขุดค้นและการกลั่นจนถึงการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม
เมื่อมาคำนวณสัดส่วน หุ้นที่ลงทุน 5 อันดับแรก คือ
Albemarle ถือ 6.56%
ผู้ผลิตรายใหญ่ในสายการผลิต Lithium แบตเตอรี่ นำแร่ลิเธียมมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อเปลี่ยนไปเป็นลิเทียมที่บริสุทธิ์ ครอง Market Share เป็นอันดับ 1 สำหรับ Lithium Carbonate Equivalent (LCE) ด้วยสัดส่วนประมาณ 22%
Samsung SDI ถือ 3.95%
บริษัทลูกของ Samsung ที่โฟกัสธุรกิจส่วนของแบตเตอรี่ลิเทียมเท่านั้น
XPeng ถือ 3.40%
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจีน เน้นไปที่ลูกค้าระดับกลางและระดับสูงในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมการจ้างวิศวกรและนักออกแบบจาก Tesla จำนวนมาก มี Xmart OS ที่เป็นระบบควบคุมความบันเทิงในรถและระบบ XPILOT ที่เตรียมพัฒนาเป็น Fully Autonomous
Analog Devices ถือ 3.00%
บริษัทออกแบบและผลิต semiconductor ครบวงจร มีจุดเด่นเป็น ระบบการจัดการแบตเตอรี่ (BMS) สำหรับรถ EV เกาะกระแสได้เป็นอย่างดี
Aptiv PLC ถือ 2.85%
บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564
3. TNEWENERGY
มีกองทุนหลัก คือ Invesco WilderHill Clean Energy ETF
เน้นลงทุนเกี่ยวกับพลังงานสะอาด แต่หุ้นที่ลงเต็มไปด้วยเหมืองแร่และเเบตเตอรี่เน้นๆ
หุ้น 5 อันดับแรกที่ลงทุนมากสุด คือ
3.1) Enovix ถือ 2.57%
ผู้ผลิต 3D Silicon Lithium-ion batteries
3.2) Canoo ถือ 2.28%
บริษัท Startup ผลิตรถตู้, Pickup EV สัญชาติสหรัฐ
3.3) Lithium Americas ถือ 2.18%
เจ้าของเหมืองลิเทียมจากน้ำเกลือ ( Cauchari-Olaroz lithium brine) ที่ประเทศอาร์เจนตินาและ เหมือง Thacker Pass lithiumประเทศสหรัฐอเมริกา หากผลิตเต็มกำลังจะกลายเป็นเหมืองลิเทียมที่มีกำลังการผลิตมากสุดในโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำสุดด้วย
3.4) Standard Lithium ถือ 2.04%
บริษัทสกัดแร่ลิเทียม
3.5) Enphase Energy ถือ 2.04%
บริษัทจัดการพลังงาน ให้บริการ Solar Cell ครบวงจร มีทั้งผลิต ASIC, Microinverters, แบตเตอรี่, และ Software จัดการพลังงานของตัวเองรวมถึง ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เครื่องชาร์ตไฟและเทคโนโลยีการส่งไฟฟ้าด้วย
ข้อมูล ณ วันที่ 1/12/2021
สำหรับใครที่หลงรักกองทุนจีนก็มี กองทุนที่เน้น EV และ Batterry อย่าง
4. P-CGREEN
เน้นลงทุนหุ้นธุรกิจพลังงานสะอาดฝั่งประเทศจีนโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างมากในช่วง 5 ปีหลัง ผ่านกองทุนหลัก KraneShares MSCI China Clean Technology Index ETF ตัวนี้ถึงชื่อว่าพลังงานสะอาดแต่หุ้นที่ลงทุนใน 5 อันดับแรกกลับเป็นรถยนต์ EV และแบตเตอรี่แทบทั้งสิ้น
4.1) LI AUTO ถือ 9.44%
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจีน แบรนด์น้องใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาดปีที่แล้ว พร้อมตัวเลขส่งมอบรถยนต์ที่น่าประทับใจ เดือนกันยายนที่ผ่านมาส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า 7,094 คัน(+103% YoY)
1
4.2) XPENG ถือ 9.33%
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจีน เน้นไปที่ลูกค้าระดับกลางและระดับสูงในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมการจ้างวิศวกรและนักออกแบบจาก Tesla จำนวนมาก มี Xmart OS ที่เป็นระบบควบคุมความบันเทิงในรถและระบบ XPILOT ที่เตรียมพัฒนาเป็น Fully Autonomous
4.3) NIO ถือ 8.55%
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจีน มีจุดเด่นคือ สถานีสลับแบตเตอรี่โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นในการเปลี่ยน Nio ตั้งเป้าที่จะสร้างสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ 500 แห่งในจีนให้เสร็จภายในปี 2022
4.4) BYD ถือ 7.94%
เริ่มจากการทำธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์ เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ที่สุดของจีนและเบอร์ 2 ของโลกในเวลานั้น ต่อมาเริ่มเริ่มผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน และเมื่อโลกได้เริ่มหันหน้าเข้าสู่พลังงานสะอาด BYD ก็กลายมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ของจีน
4.5) CATL ถือ 4.89%
เจ้าตลาด Lithium-ion Battery ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า
ปัจจุบันมีสัดส่วนตลาดในจีนกว่า 49% และครองตลาดทั่วโลกกว่า 31%
ข้อมูล ณ วันที่ 1/12/2021
BottomLiner
โฆษณา