Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Indevisual
•
ติดตาม
5 ธ.ค. 2021 เวลา 09:39 • ประวัติศาสตร์
"Heterotopia in Animation
เข้าใจเรื่องพื้นที่ทับซ้อนและ Utopia ผ่าน Howl’s moving castle"
(2004)-Hayao Miyazaki (director)
#NDOGibliseries
Howl’s moving Castle การ์ตูน Romantic Fantasy ของค่าย Dtudio Gibli
ที่แฝงแนวคิดวัฒนธรรมทางสายตาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดินแดนในอุดมคติ พื้นที่ทับซ้อน โดยพื้นที่นี้เปรียบเสมือนเมืองที่เราอยากมี แต่ไม่สามารถมีได้ จึงเกิดเป็นการซ้อนทับภาพของพื้นที่ในอุดมคติ ซ้อนกับเมืองในจินตนาการที่เป็นไปได้ว่ามีแรงบันดาลใจจากบ้านเมืองตะวันตก
Cr. Netflix
เรื่องราวคร่าวๆ
เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในดินแดนหนึ่งซึ่งกำลังมีภัยสงคราม มีตัวละครเอก คือ Sophie เด็กสาวที่ประกอบอาชีพช่างทำหมวก และ Howl พ่อมดที่ได้ช่วยเหลือเธอจากการถูกทหารลวนลาม Sophie ถูกแม่มดจากทุ่งร้างสาปให้เป็นหญิงชรา และได้เดินทางไปยังปราสาทเวทย์มนต์ของ Howl ซึ่งมีความพิเศษคือสามารถ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่างๆได้ การที่จะเข้าไปภายในปราสาท ต้องได้รับการอนุญาติจาก Calcifer ปีศาจไฟที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน จากนั้น Sophie ก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่างๆของเรื่อง จนถึงเปลี่ยนความคิดของ Howl ที่ยึดติดอยู่กับความงามของรูปลักษณ์ คล้ายกับลักษณะของผู้ที่ยึดติดในอุดมคติ มาเป็นผู้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์ และเสียสละ ใช้อำนาจของตนในการสงบศึกสงคราม
แนวคิดที่เราจะนำเสนอในเรื่องนี้
- ว่าด้วยเรื่อง "พื้นที่ทับซ้อน" (Heterotopia) คือการอยู่ร่วมกันของสองแนวความคิดที่ต่างกันมาทับซ้อนอยู่ในพื้นที่หนึ่ง โดยสื่อผ่านองค์ประกอบ สัญลักษณ์ และวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆ ว่าเป็นของคน หรือแนวคิดในอีกพื้นที่
ในภาพยนต์ พื้นที่ในเรื่อง คือการทับซ้อนที่ชัดเจนระหว่างมนุษย์ธรรมดากับพ่อมด/แม่มด อาจหมายถึงการอยู่ร่วมกันของคนที่มีอำนาจและคนทั่วไป แสดงถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่ไม่อาจเป็นUtopia ได้ และในปราสาทของ Howl ที่เดินทางข้ามเมืองต่างๆ ทับซ้อนกับเมืองที่ Sophie อาศัยอยู่และเมืองหลักของเรื่อง ผู้ที่อาศัยอยู่ในปราสาทสามารถออกไปไหนก็ได้ โดยมีกลไกอยู่ที่แผ่นสีข้างประตู ทว่าต้องมี "เงื่อนไข" บางอย่างถึงจะเข้ามาอยู่ได้ ดูจากปมของตัวละครในเรื่อง และ "ปีศาจไฟ " (Calcifer) จะเป็นผู้อนุมัติ และเป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่ทำให้ Balloon ลอยได้ ปราสาทแห่งนี้จึงคล้ายกับการเดินทางของ Balloon ที่เดินทางท่ามกลางเมืองในอุดมคติของพ่อมดแม่มด
และอีกแนวคิดคือ
- "พื้นที่ในอุดมคติ หรือ Utopia"
Utopia คือ สังคมในอุดมคติ ที่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่มีอยู่ให้เป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์แบบ หรือชีวิตที่มีทางเลือกมากมายในพื้นที่นั้น
โดยในเนื้อเรื่อง แสดงถึงความเป็นเมืองในอุดมคติ หรือเมืองที่ผู้สร้างจินตนการขึ้นมาเป็นเมืองที่ได้แรงบันดาลใจมาจากชาติตะวันตก เป็นไปได้จากการแต่งกาย ในฉากการเฉลิมฉลองในภาพที่ 2 ยังแสดงถึงการเต้นรำในแบบตะวันตก ซึ่งเป็นการเต้นแบบ Ballroom ไม่พบในวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ว่าเฉลิมฉลองโดยการเต้นรำเช่นนี้ หรือความเป็นตะวันตกในรายละเอียดของเรื่อง อย่างการทานอาหาร การสวมหมวกปีกของสตรี หรือภาพของการมีตัวหนังสือภาษาอังกฤษ
อาจเป็นการแสดงทัศนะที่แฝงในเรื่อง ว่าด้วยความเป็นอุดมคติ เป็นแนวคิดของชาติตะวันตก การสร้างดินแดนในภาพยนต์เรื่องโดยให้มี Theme ของความเป็นตะวันตก ในช่วงคริสตร์ศตวรรรษที่ 19 ซึ่งตรงกับช่วงที่ตะวันตกเข้ามาล่าอาณานิคมในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆในทวีปเอเชีย และแนวคิดเรื่องพื้นที่ที่มีขึ้นมาในช่วงเวลานี้
โดยประเด็นนี้ เรามีความเห็นว่า ผู้สร้างภาพยนต์ คือ Hayao Miyazaki สร้าง Utopia โดยใช้ animation เป็นเครื่องมือในการบอกเล่า เป็นสื่อที่สามารถแสดงถึงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ก่อนที่ภาพยนต์จะมีการทำ Computer Graphic เมืองในจินตนาการของความสมบูรณ์แบบ และยังบอกเล่าถึงปัญหาที่ยับยั้งความสมบูรณ์แบบของเมือง และอาจแฝงแนวคิดเรื่องการไม่มีอยู่จริงของดินแดนในอุดมคติ
ลองมาเชื่อมโยงของทฤษฎีในเรื่องกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน
ความเป็นอุดมคตินั้นจำเป็นต่อชีวิตจริงหรือ? ผู้ที่กำหนดคุณสมบัติของความเป็นอุดมคติแน่ใจหรือว่ามีอยู่จริงและสามารถใช้ได้กับการปกครองบ้านเมือง จากการเชื่อมโยงเนื้อเรื่อง Howl’s moving castle กับความเป็นมนุษย์ หรือ Anthropocene (ตรงนี้สามารถอ่านทฤษฏีนี้ จากบทความก่อนหน้าได้นะฮะ)
ความเป็นอุดมคติอย่างที่ชาติมหาอำนาจนิยมนั้น ทำให้เราหลงลืมความเป็นมนุษย์ ลืมภาพจำธรรมชาติของมนุษย์ที่Bias ความต้องการอิสรภาพ เพียงแต่ควรมีกฎหมายในการการควบคุมจัดระเบียบสังคมเท่านั้น หรืออาจเพราะความเป็นอุดมคตินั้น ง่ายต่อการควบคุมและจัดระเบียบสังคมของผู้นำนั่นเอง
การทับซ้อนทางวัฒนธรรมในญี่ปุ่น
อย่างในภาพยนต์เรื่องนี้ ผู้ศึกษามองว่าเป็นการเข้ามาของชาติตะวันตกในญี่ปุ่น ในคริสตศตวรรษที่ 19 ที่เห็นได้ในปัจจุบันที่เมืองโกเบ เมืองท่าสำคัญ ที่มีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมากมาย เป็นผลจากการเข้ามาของชาติมหาอำนาจ ประกอบกับความเป็นพื้นที่ทับซ้อนทั้งทางประวัติศาสตร์เรื่องของ Colonial ที่สะท้อนผ่านหลักฐานที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อย่างบ้านเรือนที่สร้างแบบ Westernization และสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมอย่างบ้านชาวต่างชาติในเมืองโกเบ ที่เป็นทั้งพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ทับซ้อนกับการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพื้นที่เชิงพาณิชย์ของเมืองท่า
สุดท้ายแล้วจ้า
กลับมาที่เนื้อเรื่องของเรา
ในตอนท้ายเรื่อง ราชินีแม่มดที่ปรึกษาของพระราชา ยังคงอยู่ สั่งให้จบสงคราม อาจหมายถึงคนที่เป็น Dystopia ยังคงอยู่ เป็นนัยน์ว่า Utopia นั้นไม่มีจริง เช่นเดียวกันกับแม่มดแห่งทุ่งร้าง มีคาแรคเตอร์ที่เป็นคนยึดติดในสิ่งต่างๆ ทำให้เหมือนคนไม่มีความสุข คล้ายกับผู้สร้างจะบอกผู้ชมว่า หากมนุษย์ในสังคมยึดติดกับความเป็นอุดมคติก็คงไม่มีความสุข และความสุขก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของดินแดนในอุดมคตินี้ และหากตัวละครเอกอย่างSophie มีนิสัยเช่นนี้ คงไม่สามารถนำพาเรื่องให้จบแบบสุขนาฏกรรมได้ ส่วน Howl เมื่อได้พบกับ Sophie เขามีความคิดที่จะทำเพื่อผู้อื่นมากกว่าที่จะยึดติดอยู่แต่ความงามและตัวเอง เขาต้องการที่จะสงบศึก เสียสละใช้ร่างปีศาจในการต่อสู้กับยุทโธปกรณ์ เปรียบเหมือนการใช้อำนาจของตนในทางที่ถูกต้อง อาจเป็นหนึ่งใน Utopia ที่ผู้กำกับของเรื่องแฝงเอาไว้ในภาพยนต์
และสุดท้าย ปราสาทของ Howl เหมือนกับการอุปลักษณ์วิมานลอย ในภาพยนต์เรื่อง Gone With The Wind ของ David O. Selznick ว่าคล้ายกับการยึดติดในอุดมคติ ความสุข สมบูรณ์เปรียบเสมือนวิมานที่วันหนึ่งได้เลือนหายไป หากยึดติดไม่ปล่อยวางผลลัพธ์ที่ได้มีแต่จะพังทลาย ในขณะที่ Sophie ในตอนท้ายยอมสละปราสาทโดยไม่ยึดติดถึงความสุข สมบูรณ์แบบที่ Howl ตั้งใจมอบให้ แต่กลับเสียสละเพื่อต้องการรักษาชีวิตของ Howl และคนอื่นๆที่อาศัยอยู่ร่วมกัน คล้ายกับจะบอกว่า การเสียสละ จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีเสมอ และหากยึดติดกับอุดมคติ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา อาจตรงกันข้ามกับตอนจบของภาพยนต์
2 บันทึก
8
6
2
8
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย