5 ธ.ค. 2021 เวลา 09:58 • การศึกษา
การพิจารณาความรับผิดในมูลละเมิด 🚑
1. ให้พิจารณาว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา 420 หรือไม่ ถ้าไม่เป็นการกระทำละเมิดก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไปว่าบุคคลนั้นและบุคคลที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดในมูลละเมิดหรือไม่ และไม่ต้องพิจารณาเรื่องค่าสินไหมทดแทน เพราะเมื่อไม่ได้กระทำละเมิดก็ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
2. ถ้าหากพิจารณาแล้วปรากฏว่าเป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา 420 ให้พิจารณาต่อไปว่าการ กระทำละเมิดนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร และมีบุคคลใดเกี่ยวข้องบ้าง เช่น
มาตรา 433 ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์
มาตรา 434 ความเสียหายเกิดจากโรงเรือนชำรุดบกพร่อง
มาตรา 437 ความเสียหายเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักร
มาตรา 425 ความรับผิดในมูลละเมิดของนายจ้าง
มาตรา 429 ความรับผิดในมูลละเมิดของบิดา มารดา ผู้อนุบาล เป็นต้น
3. เมื่อทราบแล้วว่าการกระทำละเมิดดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะอะไร และมีบุคคลใดเกี่ยวข้องบ้าง ให้พิจารณาต่อไปอีกว่าการกระทำละเมิดนั้นมีบทยกเว้นความรับผิดอยู่หรือไม่ หรือต้องด้วยบทบัญญัติว่าด้วยกาณนิรโทษกรรมหรือไม่ เพราะหากเข้าข้อยกเว้นความรับผิด หรือ ต้องด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการนิรโทษกรรมแล้ว ก็ต้องจำต้องพิจารณาเรื่องค่าสินไหมทดแทนอีกไป เพราะไม่ต้องรับผิดในมูลละเมิด
4.หากพิจารณาแล้วปรากฏว่าไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิด หรือ ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติว่าด่วยการนิรโทษกรรม แสดงว่าบุคคลผู้กระทำละเมิด และบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดขึ้น จากนั้นให้พิจารณถึงความเสียหายที่เกิดว่าเป็นความเสียหายแบบใดเพื่อนำมาพิจารณาต่อไปว่าต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีใดแก่ใครบ้าง
5. ความเสียหายที่เกิดขึ้น
1. กรณีเสียหายแก่ชีวิต(ตาย)
1) ค่าปลงศพ
2) ค่าใช่จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น
3) ค่ารักษาพยาบาล
4) ค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหาได้
5) ค่าขาดไร้อุปการะ
6) ค่าขาดแรงงาน
2. เสียหายแก่ร่างกาย/อนามัย
1) ค่าเสียหายอันตนต้องเสียไป
2) ค่าเสียหายเพื่อการเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บ้างส่วน
3) ค่าขาดแรงงาน
4) ค่าเสียหายอย่างอื่นอันไม่ใช่ตัวเงิน
3. เสียหายต่อเสรีภาพ
1) ค่าขาดแรงงาน
2) ค่าเสียหายอย่างอื่นอันไม่ใช่ตัวเงิน
6. ข้อสังเกต
1) ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้กันสถานใด เพียงใด ให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และคงามร้ายแรงแห่งละเมิด
2) ค่าสินไหมทดแทนได้แก่
- การคืนทรัพย์สิน
- การใช้ราคาทรัพย์สิน
- ค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ
3) ถ้าผู้เสียหายมีส่วนทำผิดด้วย ค่าสินไหมทดแทนจะใช้แก่กันมากน้อยเพียงใดให้พิจารณาว่าความเสียหายทีาเกิดขึ้นฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
โฆษณา