6 ธ.ค. 2021 เวลา 10:28 • ธุรกิจ
Cleanroom กับ ธุรกิจแห่งอนาคต "Life Science"
Life science
คุณภาพชีวิตที่ดี มาคู่กับเทคโนโลยีที่กำลังรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการมาของไวรัสและการระบาดใหม่ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การใช้ชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไป
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี หรือโลกอนาคตที่เราเคยจินตนาการแค่ในภาพยนต์ กำลังเป็นโลกที่จับต้องได้จริงอย่าง Metaverse รวมถึงโลกของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและมนุษย์ทุกคนอย่างอาหารและยา
จากเทรนด์ธุรกิจสุขภาพที่ผ่านมา รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังการระบาดใหม่ หลากหลายบริษัทระดับโลก รวมถึงในประเทศไทย ได้เล็งเห็น และริเริ่มพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตยา วัคซีน ไปจนถึงอาหารแห่งอนาคต
ที่มีจุดมุ่งหวังไม่ใช่แค่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์โดยตรง แต่ยังรวมไปถึงการลดปริมาณสารพิษในการผลิต ที่เป็นต้นเหตุของมลพิษที่เป็นการโลกและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อีกด้วย
ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สิ่งนี้คือ Life Science (วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต) ที่เข้ามามีบทบาทพื่อตอบโจทย์คุณภาพชีวิต และความหวังของมนุษยชาติในการมีสุขภาพที่แข็งแรง และมีอายุยืนยาว
Life Science จึงเป็นปัจจัยสำคัญในอนาคตที่จะขับเคลื่อนไปพร้อมกับมนุษย์ ธุรกิจ และเทคโนโลยี
สำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Life Science ประกอบด้วยสาขาต่างๆ เช่น เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ชีวการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีชีวการแพทย์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมการวิจัยและพัฒนาอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือการผลิตยา วัคซีน การวิจัยด้านเภสัชกรรม ฯลฯ ที่นำไปสู่ธุรกิจในวงจร Life Science ได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะ 3 กลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงดังนี้
1.อุปกรณ์ทางการแพทย์
อุตสาหกรรมมีทิศทางเติบโตต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ต่างๆ แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ (Single-use device) ที่ส่วนมากแล้วเป็นการใช้ครั้งเดียวหรือใช้แล้วทิ้ง เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา ถุงมือยาง ฯลฯ
- กลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (Durable medical device) ที่มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 1 ปี เช่นรถเข็นผู้ป่วย เตียงคนไข้ อุปกรณ์การศัลยกรรม ทันตกรรม เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
- กลุ่มน้ำยาและชุดวินิจฉัยโรค (Reagent and test kit) เช่นน้ำยาเก็บตัวอย่างจากร่างกาย อย่าง ATK ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ชุดตรวจการติดเชื้อต่างๆ ทั้งในร่างการมนุษย์ รวมไปถึงอาหาร
ในอดีตประเทศไทยได้มีการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และมูลค่าสูง เมื่อปี 2562 การลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะช่วงการระบาดของ Covid-19 เพราะความต้องการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง เช่นถุงมือยาง หน้ากากอนามัย
รวมถึงกลุ่มน้ำยาและชุดวินิจฉัยในการตรวจหาเชื้ออย่าง ATK ที่เราคุ้นเคย และคาดว่าจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
แม้จะมีภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นของกลุ่มธุรกิจเครื่องมือแพทย์ แต่ธุรกิจโรงพยาบาลใหม่ และการขยายพื้นที่การบริการ รวมไปถึงธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุ (ที่สอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า)
ถือเป็นโอกาสของผู้ผลิตที่มีศักยภาพที่จะนำเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มารองรับความต้องการดังกล่าว รวมถึงการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านจากแผนสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อีกด้วย
ทั้งนี้อุปกรณ์ทางการแพทย์จำเป็นต้องสอดเข้าไปในร่างการมนุษย์โดยตรง กรรมวิธีการผลิตจึงต้องเน้นไปในด้านความปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน โดยการผลิตในห้อง Cleanroom ที่มีการควบคุมคุณภาพอากาศให้เหมาะสมกับการผลิตเครื่องมือแพทย์เท่านั้น
2.ยา/เวชภัณฑ์ชีวภาพ
อุตสาหกรรมยา กล่าวถึงยาแผนปัจจุบัน รวมถึงเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคทุกประเภท ส่วนใหญ่อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ที่เป็นลักษณะของยาต้นฉบับ หรือยาจดสิทธิบัตรนั้น
เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ต้นทุนสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุดิบและการวิจัยและพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยขั้นตอนการผลิตยานั้น โรงงานยาจะเริ่มจากขั้นแรกคือการวิจัยค้นคว้าพัฒนายาตัวใหม่ และสู่ขั้นสองคือการผลิตวัตถุดิบตัวยา สู่ขั้นที่สาม คือการผลิตยาสำเร็จรูป
อุตสาหกรรมโรงงานยาของไทยส่วนใหญ่จึงอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย หรือการผลิตยาสำเร็จรูป โดยนำเข้าวัตถุดิบตัวยาสำคัญจากต่างประเทศมาผสม และผลิตในรูปแบบต่างๆ เช่น ยาเม็ด ยาน้ำ ยาแคปซูล ฯลฯ
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ธุรกิจอุตสาหกรรมยาไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน หรือภาครัฐ ที่มีนโยบายลดการพึ่งพายานำเข้า และสนับสนุนให้มีการผลิตยาต้นตำรับ รวมถึงผลิตยาที่หมดสิทธิบัตร
โดยเฉพาะยาชีววัตถุ ที่มีแนวโน้มจะเป็นวิวัฒนาการสำคัญทางการแพทย์ ที่ทำให้มนุษย์สามารถหลีกเลี่ยงยาจากสารเคมี โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ที่คร่าชีวิตผู้ป่วยในอัตราที่สูงมากขึ้น และมีความเสี่ยงจากการทำคีโม
3.ธุรกิจอาหารสุขภาพ โภชนาการ (Nutrition)
ธุรกิจอาหารและสุขภาพที่อยู่ใน Life Science จะเน้นการศึกษาและวิจัยพัฒนาในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก เน้นไปที่จุดมุ่งหมายพัฒนาคุณภาพชีวิต ทางด้านคุณค่าทางโภชนาการ และเพื่อสุขภาพ สร้างโอกาสการเกิดโรคต่างๆ ให้น้อยลง
โดยเฉพาะด้าน Food Tech เพื่อต้อนรับอนาคตสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย หรือเทรนด์ที่กำลังมาอย่าง Plant-Based Meat หรือโปรตีนทางเลือกอื่นๆ แม้เทคโนโลยีโปรตีนทางเลือกที่ปราศจากเนื้อสัตว์จะมีมาอย่างยาวนาน
แต่อย่างที่ผมกล่าวไปเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนเริ่มให้ความสนใจสุขภาพ และปัญหาโลกร้อน (Global Warming) มากขึ้น จึงเริ่มนำเทคโนโลยีการแปรรูปพืชที่ทดเแทนเนื้อสัตว์ได้ เป็นผลดีกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ไปจนถึงอนาคตอันไม่ไกลนี้ ฟาร์มแนวตั้งหรือ Vertical Farming ก็กำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ
3 ธุรกิจในวงจร Life Science ที่ผมยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงมาตรฐานของการผลิตเป็นสำคัญ เพราะเทคโนโลยี Life Science ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่มนุษย์บริโภคเข้าไปโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือยา
ดังนั้นอุตสาหกรรมเหล่านี้ ต้องการสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอนุภาคให้ต่ำมากที่สุด การผลิตต้องดำเนินการภายในห้องปฏิบัติการ หรือคลีนรูม เพื่อให้พื้นที่ทำงาน และการผลิตปลอดเชื้อ ป้องกันการปนเปื้อนของตัวอย่างทดลอง และวิจัย
สภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับห้องปฏิบัติการ และไลน์ผลิตหลายประเภท จึงต้องได้รับการออกแบบมาให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์แต่ละประเภทอีกด้วย
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจใด หลังจากปี 2021 นี้ ธุรกิจที่มี Priority ในเรื่องคุณภาพชีวิตอย่าง Life Science จะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ถึงเวลาที่เราต้องปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมสู่การแข่งขัน รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคให้มากขึ้นครับ
ขอให้ทุกท่านโชคดี
วนา อนุตรอำไพ l CAI Engineering
▶ ทำความรู้จักเราให้มากขึ้น
Line OA : @caihvac หรือ Click https://lin.ee/O6ZPRuT
โฆษณา