6 ธ.ค. 2021 เวลา 11:32 • การศึกษา
สอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรม Python สำหรับมือใหม่ครับ
ภาพหน้าปกเฉย ๆ ครับ ไม่มีอะไร
สวัสดีครับ โพสต์นี้เป็นโพสต์แรกใน Blockdit เลย เลยจะขอแนะนำตัวกันนิดนึงนะครับ
5
ชื่อ ตูมตาม ครับ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ (จบการแนะนำตัว)
4
ก่อนจะเข้าเนื้อหา อยากจะแนะนำสิ่งที่ทุกคนน่าจะสงสัยครับ
คำถาม: การเขียนโปรแกรมเนี่ย มันเอาไปทำอะไรได้บ้าง?
คำตอบ: ทำได้แทบทุกอย่างที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เลยครับ เช่น เขียนโปรแกรมควบคุมเมาส์ เขียนเกม เขียนบอทเทรดหุ้น เทรดฟอเร็กซ์ เขียนเว็บไซต์ เขียนแอปพลิเคชันต่าง ๆ ซึ่ง แต่ละอย่างที่พูดมา ก็จะใช้ภาษาในการเขียนแตกต่างกันไปครับ
คำถาม: อยากเรียนเขียนโปรแกรม ต้องอายุเท่าไหร่? ต้องจบอะไรมา?
คำตอบ: เรื่องของอายุ จะบอกว่าจริง ๆ แค่เราพอรู้ภาษาอังกฤษพื้นฐาน เราก็เริ่มเรียนได้แล้วครับ ไม่เกี่ยวว่าเราจะอายุเท่าไหร่ สำคัญว่าเราอยากทำได้แค่ไหน มากกว่า
คำถาม: อยากเขียนโปรแกรม ต้องใช้อะไรบ้าง?
คำตอบ: ควรมีคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเตอร์เน็ทได้ ซักเครื่องนึงครับ ไม่ต้องแรงมากก็ได้ ถ้าอยากลองเริ่มเขียน
สำหรับใครที่มีคำถามเพิ่ม มากกว่าที่ผมเขียนไว้ ก็คอมเมนท์ไว้ได้นะครับ เดี๋ยวว่าง ๆ เข้ามาตอบให้ครับ
มาเข้าเนื้อหากันครับ แนะนำให้ ใช้ Google Chrome แล้ว ล็อคอิน "GMAIL" ให้เรียบร้อยนะครับ
ก่อนอื่น อยากให้ทุกคนเข้า Google แล้วค้นหาคำว่า "Google Colab"
ตามรูปนี้ครับ
เลือกตรงนี้เพื่อสร้างสมุดใหม่
เมื่อกดสร้างแล้ว ก็จะได้หน้าตาตามรูปข้างล่างพร้อมกับเมนูต่าง ๆ
ซึ่งวันนี้เราจะมาเริ่มกันแค่ 3 อย่างตามที่เขียนเลขไว้ให้นะครับ
หน้าแรกหลังจากสร้างสมุดใหม่
1. + Code : ใช้สำหรับเพิ่มบรรทัดสำหรับเขียน Code หรือที่เราเรียกว่า "เขียนโปรแกรม" นั่นเองครับ เดี๋ยวจะอธิบายเพิ่มทีหลังนะครับ
2. + Text : ใช้สำหรับจดบันทึก สิ่งที่เราต้องการ เช่น เราเขียนโปรแกรมไปเรื่อย ๆ บรรทัดเริ่มเยอะ เราก็เพิ่มส่วนของ Text มาเพื่อจดบันทึกว่า ตรงนี้เราเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับอะไรเอาไว้
3. Tools : ตรงนี้เราจะเอาไว้สำหรับตั้งค่าหน้าจอของเราครับ ซึ่งในที่นี้ผมจะพาทุกคนมาปรับให้เป็นสีดำ เพื่อไม่ให้ปวดตามาก 555+
กดตามตัวเลขที่ระบุไว้เพื่อให้ได้หน้าจอสีดำมานะครับ
ถ้าใครไม่อยากได้หน้าจอสีดำ ไม่ต้องทำก็ได้ครับ
อธิบายความต่างระหว่าง Code และ Text
1. ส่วนที่เป็นช่องเขียน Code จะมีวงเล็บ [ ] อยู่ครับ
เมื่อเราเอาเมาส์ไปคลิกตรงช่องนี้ ก็จะเห็นปุ่ม Play (อารมณ์แบบปุ่มเริ่มเล่นวิดีโอ) ซึ่งปุ่มนี้จะเอาไว้สำหรับรันโปรแกรมที่เราเขียน
2. ส่วนที่เป็น Text จะมีให้เลือกปรับรูปแบบตัวหนังสือต่าง ๆ ตามสไตล์ที่เราต้องการ
จะเห็นว่ามีปุ่มเพลย์อยู่ด้านหน้า ตามรูปครับ
เอาล่ะ ถ้าเข้าใจเรื่องช่อง Code และ Text แล้ว มาเริ่มกันเลยครับ
การเขียนโปรแกรมภาษา Python หรือภาษาอะไรก็ตาม ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจเรื่องประเภทของข้อมูลที่มีให้เราใช้ก่อนครับ ว่ามีอะไรบ้าง
ในโพสต์นี้เดี๋ยวผมจะเริ่มจากประเภทของตัวแปรง่าย ๆ ที่ทุกคนต้องรู้ก่อนแล้วกันนะครับ
1. integer ชื่อย่อ int : จะแทนด้วยเลขจำนวนเต็ม เช่น 1, 2, 3 หรืออะไรก็ช่างที่ไม่มีจุดทศนิยมด้านหลัง
2. float ชื่อย่อ ไม่มี : จะเป็นตัวเลขเหมือนกันครับ แต่อันนี้จะมีจุดทศนิยมด้วย เช่น 1.0, 3.123, 9.10 หรือ 1,239.09213 อะไรแบบนี้ครับ ที่มีจุดทศนิยม
3. string ชื่อย่อ str : จะเป็นข้อมูลประเภทตัวหนังสือหรือข้อความ อาจจะเริ่มจากตัวหนังสือตัวเดียว เช่น 'T' หรือ "o" ลากยาวไปถึงการเขียนเป็นประโยค
เช่น 'He is a man' หรือ "There are 3 books" จะเห็นว่า สามารถใส่ตัวเลขเข้าไปข้างในได้ด้วย
โปรแกรมจะรู้ว่ามันเป็น string ก็ต่อเมื่อ เรามีการเปิดประโยคด้วย ' หรือ "
และจบด้วยสัญลักษณ์แบบที่เราเริ่มต้นไว้ครับ
4. Boolean ชื่อย่อ ไม่มี : จะเป็นการแสดงค่าว่า จริง หรือ เท็จ โดยจะใช้คำสั่งในคอมพิวเตอร์ว่า
True เพื่อบอกว่า อันนี้จริง
และใช้ False เพื่อบอกว่า อันนี้เป็นเท็จ
ทีนี้เรามาดูวิธีการสร้าง "กล่อง หรือ ตัวแปร" เอาไว้เก็บข้อมูลกันครับ
รูปแบบข้อมูลพื้นฐาน 4 แบบ
การสร้าง "ตัวแปร" สำหรับเก็บข้อมูลจะเป็นแบบรูปข้างบนเลยครับ
ทางซ้ายที่เป็นตัวหนังสือสีขาวคือ "ชื่อของตัวแปร" ในที่นี้เราจะตั้งชื่ออะไรก็ได้ครับ
หลังจากได้ชื่อแล้ว ก็ตามด้วยเครื่องหมาย เท่ากับ =
ทางขวาของเท่ากับ ให้ใส่ค่าหรือประเภทของข้อมูลเข้าไปได้เลยครับ
เช่น name = 'ตูมตาม' ตรงนี้เมื่อเรากดรันโปรแกรม คอมพิวเตอร์จะจำไว้ให้เราเลยว่า name เอาไว้เป็นข้อมูลประเภท string ที่มีค่าว่า ตูมตาม
age = 30 ก็คือการกำหนดให้ตัวแปรนี้เก็บค่าเลขจำนวนเต็มมูลค่า 30
hight = 178.3 เอาไว้เก็บค่าของเลขทศนิยม
isMan = True ก็คือบอกว่า ตัวแปร isMan จะมีค่าเป็น True หรือเป็นจริงนั่นเองครับ
มาถึงตรงนี้หลายคนคงถามว่า "เอ๊ะ แล้วเวลาที่เราเอาไปใช้ต่อ จะใช้ยังไงได้บ้าง?"
ก่อนจะถึงขั้นที่ว่าเอาไปใช้งานยังไง ผมขอพาทุกคนมากดปุ่มเพลย์กันซักรอบนะครับ
เมื่อกดแล้วจะมีเครื่องหมายถูกด้านหน้า
หลังจากที่เรากดปุ่มเพลย์แล้ว คอมพิวเตอร์จะจำได้แล้วครับว่า ตัวแปร 4 ตัวที่เราสร้างเอาไว้ มีค่าเท่ากับอะไรบ้าง
ทีนี้ วิธีการใช้งานเบื้องต้น ที่ทุกคนจะต้องรู้ก็คือการเอาตัวแปรเหล่านั้นมาแสดงค่าขึ้นหน้าจอด้วยคำสั่ง print ครับ เช่นรูปข้างล่าง
ในวงกลมคือสิ่งที่คอมพิวเตอร์นำมาแสดงให้เราเห็นครับ
การใช้คำสั่ง print เราจะต้องใส่สิ่งที่เราต้องการให้คอมพิวเตอร์แสดงเข้าไปใน วงเล็บ () นะครับ จะใส่เป็นตัวแปรแบบในรูป หรือจะใส่เป็นประโยคในรูปแบบของ string ก็ได้เช่นกันครับ
จะเห็นว่าเมื่อผมกดปุ่มเพลย์ มันจะแสดงค่าที่ผมเก็บไว้ในตัวแปรทั้ง 4 ออกมาครับ
สรุปสิ่งที่คาดว่าคนอ่านน่าจะได้จากโพสต์แรก
1. การเปิด Google Colab เพื่อเข้าไปเขียนโปรแกรม Python
2. ประเภทของข้อมูลพื้นฐาน 4 แบบ ที่ได้ใช้บ่อย ๆ
3. การสร้างตัวแปรและเก็บข้อมูลเข้าตัวแปร
4. การใช้คำสั่ง print ซึ่งเป็นคำสั่งแรกที่ทุกคนควรรู้จัก ในชีวิตการเขียนโปรแกรมครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ อยากให้ผู้อ่านทุกคนมีทักษะเพิ่มขึ้นครับ จะได้เอาไปใช้ต่อยอดหาเงินไหม หรือจะทำเป็นงานอดิเรก ก็ทำได้ทั้งนั้นเลยครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา