6 ธ.ค. 2021 เวลา 12:31 • ความคิดเห็น
17 ข้อคิดจาก The Psychology of Money หนังสือเปลี่ยนชีวิตแห่งปี 2021
4
ผมมักจะได้อ่านหนังสือที่ "เปลี่ยนวิธีการมองโลกและการกระทำไปแบบไม่หวนกลับ" ปีละไม่เกิน 1 เล่ม
2
2015: The Life-Changing Magic of Tidying Up by Marie Kondo
2016: Sapiens, a Brief History of Humankind by Yuval Noah Harari
2017-2018: ไม่มี
3
2019: Why We Sleep by Matthew Walker
1
2020: The Black Swan by Nassim Nicholas Taleb
ปีนี้โชคดีที่ได้เจอหนังสือ The Psychology of Money ของ Morgan Housel ครับ
2
จำได้ว่าตอนนั้นกำลังจะเดินออกจากร้าน Asia Books ที่ห้างพาราไดซ์ แต่เหลือบไปเห็นหนังสือเล่มนี้บนชั้นพอดี เลยหยิบมาพลิกอ่านแล้วน่าสนใจ แถมยังได้คะแนนถึง 4.4 ดาวบน Goodreads อีก จึงเดินไปเคาท์เตอร์จ่ายเงินซื้อทันที
อ่านจบอย่างรวดเร็ว เป็นหนังสือที่เขียนสนุก อ่านง่าย ใจกว้าง ไม่โอ้อวด และเชื่อว่าจะมีประโยชน์กับชีวิตไปอีกหลายสิบปี ผมเลยไปตามฟัง Morgan Housel บน Youtube อีกหลายคำรบ ก่อนจะนำข้อคิดที่ได้มาบันทึกไว้ในบล็อกนี้ครับ
4
.
1
1. Wealth คือรถปอร์เช่ที่เราไม่ได้ซื้อ
2
ภาพจำของคนร่ำรวยคือการได้เห็นเขาขับรถสปอร์ต แต่สิ่งเดียวที่เรารู้คือตอนนี้เขาจนลง 7 ล้านบาทเมื่อเทียบกับตอนก่อนที่เขาจะซื้อรถปอร์เช่ (พอร์ช) คันนั้น
เวลาเราเห็นคนที่เล่นฟิตเนส เราจะเห็นว่าร่างกายเขาฟิตแอนด์เฟิร์ม ดูก็รู้ว่าแข็งแรง แต่เมื่อเรามองไปที่คนรวย เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเขามีเงินเก็บเท่าไหร่หรือพอร์ตการลงทุนใหญ่แค่ไหน
1
เพราะความมั่งคั่งคือสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น ส่วนสิ่งที่คนมองเห็นมักไม่ใช่ความมั่งคั่งเพราะของเหล่านั้นไม่ใช่ assets ที่ทำเงินได้ แต่เป็นเพียงสัญลักษณ์อวด status ที่จะเสื่อมค่าไปตามวันเวลา
4
หลายคนบอกว่าอยากเป็น millionarie พอถามว่าเพราะอะไร เขาก็มักจะตอบว่าจะได้เอาไปซื้อรถหรู ซื้อบ้านหลังใหญ่
อย่างนั้นไม่เรียกว่าอยาก "มีเงิน 1 ล้านดอลลาร์" อันนั้นเรียกว่าอยาก "ใช้เงิน 1 ล้านดอลลาร์" ต่างหาก ซึ่งจริงๆ แล้วมันตรงข้ามกับการเป็น millionaire โดยสิ้นเชิง
5
.
2. เราคิดว่าถ้าเราขับรถปอร์เช่เราคงเท่น่าดู แต่เวลาเราเห็นรถปอร์เช่ เราไม่สนใจด้วยซ้ำว่าคนขับหน้าตาเป็นยังไง
2
ผู้เขียนเรียกมันว่า Man in the car paradox คือเวลาเราซื้อของแพงๆ เราก็มักจะนึกว่ามันจะทำให้เราดูดี และคนจะชื่นชมเรา แต่เมื่อเราได้ซื้อปอร์เช่มาขับจริงๆ คนอื่นเขาเอาแต่จ้องมองรถและฝันหวานอยู่ว่าวันหนึ่งอยากจะขับรถเท่ๆ อย่างนั้นบ้าง น้อยคนนักที่จะสนใจมองมาที่เรา
ถ้าอยากได้รับการชื่นชมและยอมรับ สิ่งที่น่าจะช่วยได้มากกว่า คือทำงานหนัก รักษาคำพูด และมีน้ำใจ
2
.
3. การลงทุนอาจเป็นหนึ่งในไม่กี่ศาสตร์ที่ "มือสมัครเล่น" จะเอาชนะ "มืออาชีพ" ได้
โลกการลงทุน (อย่างน้อยก็ในอเมริกา) เต็มไปด้วยเรื่องราวของภารโรงหรือเลขาที่ไม่มีใครสนใจ แต่พอตายไปกลับมีเงินเก็บหลายล้านดอลลาร์ เพียงเพราะว่าทยอยซื้อกองทุน (DCA - dollar cost averaging) และใช้ชีวิตอย่างสันโดษไม่โลดโผน
3
ในขณะเดียวกัน ก็มีนักลงทุนมากมายที่จบมหาลัยดังๆ ความรู้ทางการเงินระดับเทพ แต่กลับต้องล้มละลายหรือติดคุก
การลงทุนจึงเป็นหนึ่งในไม่กี่ศาสตร์ที่ "มือสมัครเล่น" ทำผลตอบแทนได้ดีกว่า "มืออาชีพ" ซึ่งเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในศาสตร์อื่นๆ - คนที่ไม่เคยเรียนหมอมาไม่อาจผ่าตัดหัวใจได้ดีกว่าด็อกเตอร์ที่จบฮาร์วาร์ด คนข้างบ้านไม่อาจเตะบอลเก่งกว่าโรนัลโด
ดังนั้น แม้จะไม่ได้ลงทุนเป็นอาชีพ แต่เราสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากกว่านักลงทุนคนอื่น
เพราะการที่คุณรู้อะไรนั้นไม่สำคัญเท่ากับว่าคุณทำตัวยังไง (what you know is less important than how you behave)
13
.
1
4. คุณค่าสำคัญที่สุดของการมีเงิน คือการได้เป็นนายของเวลา
3
แม้เราจะได้ทำงานที่ตัวเองรัก แต่หากเราไม่สามารถคอนโทรลเวลาตัวเองได้เลย อันนั้นก็ทำให้เราทุกข์ใจได้เหมือนกัน
3
ส่วนสิ่งของต่างๆ แม้ว่าจะเป็นของแพงดีมีคุณภาพมากแค่ไหน พอได้เป็นเจ้าของสุดท้ายเราก็เบื่อ
4
แต่การได้เป็นนายของเวลา และการที่เราสามารถเลือกได้เสมอว่าจะทำอะไร ทำกับใคร ทำตอนไหน นั่นคือสิ่งที่เราจะไม่มีวันเบื่อ
6
.
5. นิสัยที่ทำให้เราร่ำรวยกับนิสัยที่จะช่วยให้เรารักษาความร่ำรวยไว้ได้นั้นไม่เหมือนกัน (Getting wealthy and staying wealthy are two different skills)
คนที่ร่ำรวยขึ้นมาได้นั้นมักจะเป็นเพราะเขา "กล้าได้กล้าเสีย" จนสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาได้
แต่เมื่อมีเงินทองแล้ว การจะรักษาเงินทองให้อยู่ได้ต่อไปนั้นจำเป็นต้องมีอีกทักษะหนึ่งซึ่งแทบจะตรงข้ามกัน นั่นคือความระมัดระวังและความคิดหน้าคิดหลัง
3
เราจึงได้ยินเรื่องราวอันหวือหวาของคนที่ร่ำรวยขึ้นมาแล้วไม่หยุดทำอะไรเสี่ยงๆ จนล้มละลายไปอีกครั้ง (และอาจจะกลับมารวยได้อีกครั้ง - และล้มละลายอีกครั้ง)
หนังสือแนะนำให้ใช้ยุทธการ Barbell นั่นคือเราต้องมองโลกในแง่ดีและมีความเชื่อมั่นในอนาคต (เราจึงกล้านำเงินไปลงทุน) แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้อง paranoid และหาทางป้องกันทุกความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เราไปไม่ถึงอนาคตที่วาดเอาไว้
.
6. คนที่อยู่ในตลาดอาจกำลังเล่นเกมคนละเกมกับเรา
เวลาสำนักต่างๆ บอกว่า หุ้นตัวนี้ราคาดีควรเข้าซื้อ เขากำลังแนะนำใคร?
1
แนะนำให้นักลงทุนวัยกลางคนที่กำลังเก็บเงินเพื่อวัยเกษียณ หรือแนะนำเด็กวัยรุ่นที่คิดจะซื้อวันนี้และขายพรุ่งนี้?
แต่ละคนเข้ามาในตลาดด้วยเหตุผลที่ต่างกัน สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่ไป "จับสัญญาณผิดๆ" ที่มาจากนักลงทุนที่มีเป้าหมายต่างจากเรา ไม่อย่างนั้นเวลาเราเห็นหุ้นราคาขึ้น เราอาจจะนึกว่าคนอื่นรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ แล้วก็เลยเฮตามไปซื้อบ้าง เพียงเพื่อจะเห็นราคาร่วงในวันถัดมาเพราะคนที่เล่นคนละเกมกับเราเขาเทขาย
3
.
7. เรามีมุมมองต่อเรื่องการเงินอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าเรามีชีวิตวัยเด็กแบบไหน
คนรุ่นปู่ย่าตายายของเราที่ผ่านช่วงสงครามโลกและยุคข้าวยากหมากแพงมานั้นมองเรื่องการเงินและการลงทุนแบบหนึ่ง
1
คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ของเราที่ผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งมา ก็มองเรื่องการเงินการลงทุนอีกแบบหนึ่ง
เด็กรุ่น Gen Z, Gen Alpha ที่มีช่องทางทำเงินมากมาย ก็มองการเงิน การลงทุนอีกแบบหนึ่ง
1
Daniel Kahneman ผู้ได้รางวัลโนเบลจากงานวิจัยด้าน behavioral economics เคยบอกผู้เขียนไว้ว่า เขาเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายสุดๆ ไม่ใช่เพราะว่าเขาทำวิจัยมาเยอะ แต่เพราะว่าตอนเด็กๆ เขาอาศัยอยู่ในปารีสช่วงที่ฮิตเลอร์และนาซีเข้ามายึดครองพอดี
1
เรามีมุมมองต่อโลกอย่างไร จึงมักไม่ได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาหรือความฉลาด แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราโตขึ้นมาในยุคสมัยแบบไหนมากกว่า
5
.
1
8. ปัจจัยสำคัญที่สุดในการลงทุนคือ "เวลา" ที่เราอยู่ในตลาด
95% ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของ Warren Buffett นั้นเพิ่งงอกเงยหลังจากบัฟเฟตต์พ้นวัยเกษียณมาแล้ว
มีนักลงทุนหลายคนที่ทำผลตอบแทนปีต่อปีสูงกว่าบัฟเฟตต์เสียอีก แต่เขาก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่เท่าบัฟเฟต์เพราะไม่ได้ลงทุนมานานเท่า
เพราะ "เวลา" หรือ "t" นั้นคือ "ตัวเลขยกกำลัง" ในสมการผลตอบแทนการลงทุน
ผลตอบแทนต่อปีจะเยอะเท่าไหร่ จึงอาจไม่สำคัญเท่าเราอยู่กับมันยาวนานแค่ไหน
อีกอย่าง ผลตอบแทนนั้นควบคุมยากเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก แต่เราจะลงทุนยาวนานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับเราเป็นหลัก
ดังนั้น เพื่อจะอยู่ในตลาดให้ได้นานที่สุด เราจำเป็นต้องเป็นคนที่ "ฆ่าไม่ตาย" (financially unbreakable) เพื่อที่ว่าต่อให้เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร โลกจะผันผวนแค่ไหน เราก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดต่อไปได้
1
.
9. เงินสดในบัญชีเงินฝากที่ดอกเบี้ยเรี่ยดิน บางทีก็ให้ผลตอบแทนสูงล้ำ
เพราะเงินสดนั้นมอบ flexibility ให้กับเรา เมื่อเจอสถานการณ์ฉุกเฉิน เราจึงไม่จำเป็นต้องขายหุ้นหรือขายทรัพย์สินของเราเพื่อหมุนเงินมาใช้ (เพราะการขายหุ้นทำให้เราสูญเสีย "เวลาที่เราอยู่ในตลาด" ที่พูดถึงในข้อที่แล้ว)
การมีเงินเย็นอยู่กับตัว ทำให้เราสามารถที่จะเลือกงานที่เหมาะกับเราได้ ไม่จำเป็นต้องรีบรับงานที่ไม่ใช่หรือไม่ทำให้เรามีความสุข
1
ดังนั้นอย่ามองการถือเงินสดว่าให้ผลตอบแทนต่ำ เพราะเวลาที่เราจำเป็นต้องใช้มันจริงๆ สิ่งที่ได้รับกลับมาจะคุ้มค่ามาก
.
10. แทนที่จะพยายามทำผลตอบแทนให้ชนะตลาด กลับมาคุมค่าใช้จ่ายกันดีกว่า
1
มีนักลงทุนมืออาชีพหลายคนทำงานสัปดาห์ละ 80-100 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนชนะผลตอบแทนตลาดเพียง 2-3%
แต่ในความเป็นจริง เราจะสามารถมีเงินเพิ่ม 2-3% ได้ง่ายดายกว่ามาก หากเราใช้จ่ายให้น้อยลง
4
.
11. อยากมีเงินเก็บมากขึ้น บางทีไม่ต้องเพิ่มรายได้ แต่ให้เพิ่มความถ่อมตัว
เงินที่เราเก็บได้คือช่องว่างระหว่างอีโก้กับรายได้ของเรา (Saving money is the gap between your ego and your income.)
3
เราจะซื้อของน้อยลงถ้าเราอยากน้อยลง เราจะอยากน้อยลงถ้าเราแคร์สายตาคนอื่นน้อยลง
5
การทำอะไรเกินตัวเพียงเพื่อหวังจะได้เงินมากมายนั้นเป็นเรื่องไม่ฉลาดเอาเสียเเลย
1
"To risk money they didn't have and didn't need, they risked what they did have and did need. And that's foolish. Just plain foolish. If you risk something that's important to you for something that is unimportant for you, it just does not make any sense."
-Warren Buffett
1
.
12. ทักษะที่ยากที่สุดในการลงทุนคือการหยุดเขยิบเป้าหมาย
The hardest but most important financial skill is getting the goalpost to stop moving.
พนักงานกินเงินเดือนจะเจอปัญหาที่ว่า พอได้โปรโมต หรือเงินเดือนเราสูงขึ้น เราก็ขยับ lifestyle ของเราขึ้นตามไปด้วย อาจจะขับรถแพงขึ้น กินข้าวนอกบ้านบ่อยขึ้น ซื้อของมียี่ห้อมากขึ้น เลยกลับกลายเป็นว่ารายได้เพิ่มขึ้นแต่เงินเก็บไม่กระเตื้อง
2
ดังนั้น สิ่งที่ยากที่สุดคือเราจะหยุดความอยากของเรายังไง เราสามารถพอใจกับ lifestyle ปัจจุบันของเราได้หรือยัง ถ้าเราทำได้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นเงินเก็บหรือเงินลงทุนที่พร้อมจะงอกเงยในอนาคต และพาเราถึงจุดที่มี financial freedom ได้จริงๆ
3
.
13. การตัดสินใจทางการเงินของเราไม่ได้เกิดขึ้นหน้าจอคอม
เวลาเรียนวิชาการเงิน ภาพจำของเราคือสูตรต่างๆ ตาราง กราฟ และไฟล์ Excel ที่เอาไว้คิดทุกอย่างเป็นตัวเลข
แต่ในชีวิตจริง เวลาเราจะตัดสินใจเรื่องเงินๆ ทองๆ เราไม่ได้เปิด Excel ขึ้นมาดูอย่างละเอียด เรามักจะตัดสินใจตอนที่เรานั่งคุยกับแฟนบนโต๊ะอาหาร หรือนั่งคุยกับเพื่อนในร้านเหล้า
1
เพราะเราไม่ใช่เครื่องจักรที่คิดทุกอย่างเป็นตัวเลข เราก็เป็นแค่มนุษย์คนหนึ่งที่อยากได้การยอมรับและอยากทำให้คนที่เรารักมีความสุข
"Personal finance is more personal than it is finance"
-Tim Maurer
.
14. สมเหตุสมผลนั้นสำคัญกว่าการมีเหตุมีผล (Reasonable > Rational)
ผู้เขียนยกตัวอย่างว่า แม้ดอกเบี้ยผ่อนบ้านจะถูกมาก แต่เขาก็เอาเงินไปโปะบ้านจนหมดเรียบร้อยแล้ว ทั้งที่หากเขาเอาเงินก้อนนั้นไปลงทุนอย่างอื่น ย่อมจะได้ผลตอบแทนสูงกว่า
2
ถ้ามองกันที่ตัวเลขเพียวๆ การตัดสินใจเอาเงินก้อนมาโปะบ้านนั้นไม่เมคเซ้นส์เอาเสียเลย แต่จริงๆ แล้วคนเราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือจะลงทุนอย่างไรเพื่อที่จะได้ไม่ต้องนอนกระสับกระส่ายในยามค่ำคืน
6
เราไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกับทุกเรื่อง (rational) เราแค่เอาให้มันสมเหตุสมผลก็พอ (reasonable)
4
การโปะบ้านเสร็จเรียบร้อย ทำให้ผู้เขียนสบายใจว่าอย่างน้อยบ้านหลังนี้ก็เป็นของเขาและภรรยาแล้ว ไม่มีใครจะมายึดบ้านหลังนี้ไปได้
3
เพราะแนวทางการลงทุนที่ดีที่สุดนั้นเป็นเรื่องของใครของมัน ไม่มีสูตรตายตัว ดังนั้นจงเลือกทางที่เหมาะกับเป้าหมายและจริตของเรา
.
15. ความผันผวนและความไม่แน่นอนของตลาดเป็น "ค่าตั๋ว" ไม่ใช่ "ค่าปรับ"
นักลงทุนหลายคนไม่ชอบความผันผวนของตลาด เลยพยายามจะหาทางหลีกเลี่ยง
แต่ถ้าเรามองว่าความผันผวนนั้นคือ "ค่าตั๋ว" (fee) ไม่ใช่ "ค่าปรับ" (fine) เราก็จะยอมรับมันได้ดีขึ้น เหมือนเราจะไปเที่ยวดิสนีย์แลนด์ เราก็ต้องยอมจ่ายค่าตั๋ว เพื่อแลกกับความสนุกและประสบการณ์ดีๆ
ความผันผวนและความไม่แน่นอนของตลาดคือราคาที่เราต้องจ่าย ดังนั้นจงจ่ายมันอย่างเต็มใจ มองว่ามันคือค่าเข้าสวนสนุก ไม่ใช่การลงโทษที่เราทำอะไรผิด
เราจะได้ไม่หลงกลคนที่กล่าวอ้างว่าสามารถให้ผลตอบแทนสูงและความแน่นอนสูงเกินจริง ไม่อย่างนั้นเราจะกลายเป็นเหยื่อของคนอย่าง Bernie Madoff ที่ทำ Ponzie scheme ฉ้อโกงเงินจากนักลงทุนไปหลายพันล้านเหรียญ
.
16. โลกนี้ถูกขับเคลื่อนด้วย tail events เราอาจจะตัดสินใจผิดเกินครึ่งนึงแต่ก็ยังมั่งคั่งได้
1
Tail events หรือ Black Swans นั้นคือเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เมื่อเกิดแล้วก็ส่งผลอย่างมหาศาล
ซึ่ง tail events นั้นมีทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย เรื่องดีก็เช่นอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ส่วนเรื่องร้ายก็คือเหตุกาณ์อย่าง 9/11 และ COVID-19
พูดในอีกภาษาหนึ่งก็คือกฎ 80/20 ที่ต้นเหตุส่วนน้อยจะส่งผลต่อผลลัพธ์ส่วนใหญ่
ในปี 2018 นั้น ผลตอบแทนของ S&P 500 Index ถูกขับเคลื่อนด้วย Amazon 7% และ Apple 8% อีกนัยหนึ่งก็คือ 15% ของผลตอบแทนมาจากบริษัทแค่ 2 ใน 500 บริษัทเท่านั้น
1
ใน Russell 3000 index มีบริษัทถึง 40% ที่มูลค่าสูญหายไปถึง 70% แต่ index นี้ก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดี โดยผลตอบแทนเกือบทั้งหมดมาจากบริษัทเพียง 7% หรือสองร้อยกว่าบริษัทเท่านั้นเอง
ดังนั้น You can be wrong more than half of the time and still win - เราอาจจะเลือกผิดมากกว่าครึ่งหนึ่งแต่เราก็ยังสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ เพราะโลกถูกขับเคลื่อนด้วย tail events และกฎ 80/20
4
.
17. สิ่งที่เราควรเรียนรู้จากเรื่องที่ไม่คาดฝัน คือโลกนี้เต็มไปด้วยเรื่องที่ไม่คาดฝัน ไม่ใช่พยายามไปทำนายเรื่องที่ไม่คาดฝัน
ตอนปลายปี 2019 มีกูรูมากมายออกมาทำนายว่าอะไรจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2020 บ้าง
ไม่มีแม้แต่สำนักเดียวที่บอกว่าปัจจัยสำคัญที่สุดของเศรษฐกิจปี 2020 คือโรคระบาด
เพราะความเสี่ยงคือสิ่งที่ยังเหลืออยู่หลังจากที่คุณคิดว่าคุณคิดมาอย่างรอบคอบแล้ว
"Risk is what's left over when you think you've thought of everything."
-Carl Richards
1
สิ่งใดที่ถูกคาดการณ์ได้ สิ่งนั้นมักจะถูกป้องกันหรือลดความเสี่ยง
ส่วนสิ่งที่จะสร้างความเสียหายได้มากมาย ก็คือสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้และไม่มีใครพร้อมรับมือนั่นเอง
หน้าที่ของเราจึงไม่ใช่การทำนายว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่จะบริหารจัดการการเงินของเราอย่างไรให้ financially unbreakable เพื่อให้แน่ใจว่าจะยังเป็นผู้เหลือรอดเมื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝันต่างหาก
"The most important part of any plan is planning for your plan not going according to plan."
-Morgan Housel
2
ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ The Psychology of Money: Timeless Lessons on Wealth, Greed, and Happiness by Morgan Housel & คลิปสัมภาษณ์ของ Morgan Housel ใน Youtube
โฆษณา