Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่นหุ้นยังไงให้ไม่เจ๊ง
•
ติดตาม
6 ธ.ค. 2021 เวลา 14:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จะเป็น VI ยังไงก็ต้องอ่านงบเป็น ขั้นที่ 1
“หนี้น้อย กำไรดี เติบโตต่อเนื่อง”
เป็นวลีคลาสิคสั้นๆจำง่ายไว้ให้เหล่า VI ได้ใช้เป็นหลักยึดตอนที่ค้นหาบริษัทดีๆเพื่อลงทุน
แต่มันก็ยังดูเป็นนามธรรมอยู่ไม่น้อย เพราะไม่รู้ว่าเท่าไหร่คือน้อย เท่าไหร่คือดี???
เพื่อที่จะตอบโจทย์แหล่งนี้ให้ได้ เราในฐานะนักลงทุนเราควรที่จะอ่านงบการเงินเป็น ย้ำแค่อ่านเป็น ไม่ต้องเขียนเป็น (ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักบัญชี) แต่มันก็ยังถือได้ว่าไม่ง่ายสำหรับคนที่จะเริ่มหัดอ่านงบการเงิน
ด้วยเหตุนี้ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเป็นขั้นแรก โดยผมจะอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆ มากขึ้นในรูปแบบการอธิบายประกอบตัวอย่าง
โดยที่ผมขอแนะนำเว็บตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีข้อมูลเบื้องต้นที่ดีมาก
www.set.or.th
เพื่อแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
โดยที่เราพิมพ์ชื่อหุ้น และเลือก “งบการเงิน/ผลประกอบการ”
หลังจากเห็นหน้าเห็นตาข้อมูลกันแล้ว
เรามาเริ่มกันที่ “หนี้น้อย” กันก่อน
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า “หนี้” ยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะเราไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่เท่าไหร่คือน้อย เท่าไหร่คือดี
บางตำราให้ เท่ากับส่วนเจ้าของ บางที่ให้ 2 เท่า บางตำราให้เทียบในหมวดอุตสาหกรรม
โดยส่วนตัวผมจะชอบบริษัทที่มีหนี้น้อยกว่า 1 เท่า เมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ หรือ D/E น้อยกว่า 1 ซึ่งในการเทียบแบบนี้ผมจะเรียกว่า”เทียบตัวเอง” ส่วนในกรณีที่บริษัทนั้นมี D/E เกิน 1 ผมมักจะเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถ้าไม่ได้เยอะกว่ามากก็เอาเป็นว่าใช้ได้ ซึ่งการเทียบแบบนี้ผมจะเรียกว่า “เทียบชาวบ้าน”
Check point:
เทียบตัวเอง ถ้า D/E น้อยกว่า 1 ใช้ได้
เทียบชาวบ้านในกรณีที่ D/E เกินหนึ่ง
หมายเหตุ:
⚡️จะใช้กับบริษัทที่ต้องใช้หนี้ในการดำเนินธุรกิจไม่ได้ เช่น ธนาคาร
⚡️จะมีหนี้บางอย่างที่เป็นหนี้ดี เช่นเจ้าหนี้การค้าเป็นต้น
(จะอธิบายละเอียดขึ้นในบทถัดไป)
ตัวอย่างการดูหนี้จากงบ
“เทียบตัวเอง”
ขอยกตัวอย่าง หุ้น GPI ตามรูปด้านล่าง
จะพูดกันถึงเรื่องหนี้เพียงอย่างเดียวแล้ว GPI ทำได้ดีในจุดนี้คือ หนี้ลดลงเรื่อยๆ ละสัดส่วนหนี้ต่อทุนน้อย (ไม่ถึง 10%)
“เทียบชาวบ้าน”
ในกรณีที่ อัตราส่วนหนี้ต่อทุนสูง เราอาจจะต้องดูเทียบในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
ในกรณีศึกษานี้ผมขอยกตัวอย่างหุ้น TRUE กับ DTAC ตามรูปด้านล่าง
TRUE
DTAC
จากรูปจะเห็นได้ว่าทั้งคู่มี D/E ที่สูง (เกินสองผมว่าสูง) โดยที่ ทรูมีค่าประมาณ 6.2 และ ดีแทคมีค่า 5.7 ดังนั้นถ้าใช้แบบเทียบกันแล้ว ในเฉพาะเรื่องหนี้ดีแทคนั้นจะดีกว่า
หวังว่าคุณผู้อ่านคงเข้าใจการเลือกบริษัทที่มีหนี้น้อยเป็นแล้วในเบื้องต้น
หัวข้อถัดไป “กำไรดี”
กำไรดี เท่าไหร่คือดี ก็เป็นคำถามที่ตอบยากอีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นต้องดูที่อะไร แล้วเท่าไหร่คือดี ในหัวข้อนี้ผมแนะนำให้ดูที่สองตัวคือ Net profit margin (NPM) หรือ อัตรากำไรสุทธิ และ ROE (Return On Equity) โดยที่สรุปง่ายๆคือ
NPM คือ กำไรที่บริษัทได้ เทียบยอดขาย เช่น ถ้าบริษัทมี NPM 20% หมายถึง ถ้าขายของราคา 100 บาท จะได้กำไร 20 บาท
ROE กำไรที่บริษัทได้ เทียบกับส่วนของเจ้าของเช่น ถ้าบริษัทมี ROE 20% หมายถึง ลงทุน 100 บาท จะได้กำไร 20 บาท
สรุปสั้น
ทั้งสองอัตราส่วนนั้นมีความใกล้เคียงกัน ต่างตรงที่ตัวตัวหนึ่งเทียบกับราคาขาย อีกตัวเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนทั้งสองนี้ ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ ให้ค่ามาตรฐานอยู่ที่ “20”
หมายเหตุ จะมีอัตราส่วนอีกตัวที่สำคัญคืออัตรากำไรขั้นต้น หรือ gross profit margin หาจากกำไรที่ยังไม่หักอะไรเทียบราคาขาย ถ้าได้มากกว่า 40% คือดีงาม แต่เนื่องจาก SET ไม่ได้ให้ข้อมูลตัวนี้ไว้ ในเบื้องต้นเราจึงเริ่มดูกันเฉพาะ NPM และ ROE ก่อน
มาดูตัวอย่างกันครับ โดยที่การดูก็เหมือนกัน คือ เทียบตัวเอง และ เทียบเพื่อนบ้าน
เทียบตัวเอง
ตัวอย่างแรกผมให้เราเริ่มดูที่หุ้น EASTW กันก่อนตามรูปด้านล่าง
EASTW
จากข้อมูลจะเห็นว่า EASTW ทำได้ดีในเรื่องของ NPM ที่มากกว่า 20% แต่ ROE ยังทำได้ไม่ดีเพราะได้ที่ประมาณ 10%
ผมขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีกหนึ่งบริษัทคือ MTC ตามรูปด้านล่าง
MTC
ซึ่งจากข้อมูลจะเห็นได้ว่า MTC ทำได้ดีมาก คือ ROE ประมาณ 24% (มากกว่า 20) และ NPM ประมาณ 33%
เทียบเพื่อนบ้าน
เราลองมาดูตัวอย่างแบบเทียบเพื่อนบ้านกันบ้าง
ผมขอใช้ตัวอย่างหุ้น SAWAD ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ MTC มาเปรียบเทียบให้ดู ตามรูปด้านล่าง
SAWAD
เมื่อดูจากตารางจะเห็นว่า SAWAD มี ROE ที่ 22 และ NPM ที่ 40% ซึ่งถ้าเทียบกับ MTC ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วถือว่า SAWAD ทำได้ดีกว่านิดนึง แพ้ ROE หน่อย แต่ NPM มากกว่าเยอะ
ในหัวข้อต่อไป
“เติบโตต่อเนื่อง” อันนี้ง่ายสุด แค่โตต่อเนื่อง คือเลขมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อะไรหล่ะที่โต
เฉลย… ก็จะมี ยอดขาย ส่วนเจ้าของ กำไรสะสม EPS (หนี้สินควรจะลด)
ถ้าถึงจุดนี้ ใครที่ไม่ถนัดคำนวณ แค่ดูว่ามันมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ถือว่าใช้ได้ครับ แต่ถ้าพอคำนวณได้ ก็ขอหุ้นที่ทำได้ดีกว่า “10%” ครับ
โดยสูตรเต็มที่จะใช้มีดังนี้
FV=PV*(1+r)^n
โดยที่
FV คือ Future Value โดยที่เราจะใช้ข้อมูลปีล่าสุด
PV คือ Present Value โดยเราจะแทนด้วยปีฐาน
r คือ อัตรากำไรแบบทบต้น (เปอร์เซ็นต์การเติบโต)
n คือ ช่วงปีที่คำนวณ ง่ายๆคือ จำนวนปี-1
เราต้องการหาตัว r (กำไรแบบทบต้น) จัดสูตรใหม่ได้เป็น
r = [(FV/PV)^(1/n)]-1
เรามาลองดูตัวอย่างกัน
เริ่มที่รายได้ก่อน
r = [(FV/PV)^(1/n)]-1
= [(3606/2582)^(1/3)]-1
= 1.118-1
= 0.118 หรือ 11.8%
ต่อด้วยกำไรต่อหุ้น หรือ EPS
r = [(FV/PV)^(1/n)]-1
= [(1.56/0.49)^(1/3)]-1
= 1.471-1
= 0.471 หรือ 47.1%
หมายเหตุ
การหากำไรสะสม หรือ retained earnings
กดที่คำว่า “สรุปข้อสนเทศนบริษัทจดทะเบียน” แล้วเลื่อนลงมาด้านล่างจะพบแถบตามรูป
จากรูปแบบข้อมูลเราจะใช้ได้เฉพาะสามปีก่อนหน้า เพราะปีล่าสุดข้อมูลจะยังไม่ครบ
เรามาทดลองหาอัตราการเติบโตแบบต่อเนื่องกัน
r = [(FV/PV)^(1/n)]-1
= [(2631/1581)^(1/2)]-1
= 1.192-1
= 0.192 หรือ 19.2%
ครับมาถึงจุดนี้ก็หวังว่าคุณผู้อ่านจะมีพื้นฐานเบื้องต้นพอประมาณที่จะใช้หาหุ้นหรือบริษัทที่มีพื้นฐานดีได้แล้ว
ในบทถัดไปของซีรี่ส์นี้จะค่อยๆเข้มข้นขึ้นในเรื่องการอ่านงบการเงินเพื่อค้นหาบริษัทที่มีสุขภาพดีไว้ลงทุน
ลงทุนให้มีความสุขนะครับ
เล่นหุ้นยังไงให้ไม่เจ๊ง
เล่นหุ้นยังไงไม่ให้เจ๊ง
ลงทุน
3 บันทึก
2
2
2
3
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย