Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A Cup of Culture
•
ติดตาม
12 ธ.ค. 2021 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
อย่าปล่อยให้ชีวิตพังเพราะ Busy Culture กับ 3 แนวทางแก้ไข
เคยเจอไหมที่คนรอบตัวเราดูงานยุ่งไปซะหมด นอกเหนือจากเราแล้วทุกคนดูมีอะไรต้องทำเยอะเหลือเกิน หรือเราว่างเกินไป ต้องหาอะไรทำเพิ่มไหม ? เราเชื่อว่าสถานการณ์เหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน นี่คือสิ่งที่เรียกว่า Busy Culture และตรงกันข้ามกับชื่อ มันอาจจะเป็นสิ่งที่กำลังกัดกินประสิทธิภาพการทำงานของทีมงานเรา วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก และหาทางแก้ไขมันกัน
อย่าปล่อยให้ชีวิตพังเพราะ Busy Culture กับ 3 แนวทางแก้ไข
Busy Culture นี้เกิดได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ทำงาน แต่ไม่ว่าที่ไหน มันมักจะส่งผลตรงข้ามกับสิ่งที่เราตั้งใจเสมอ โดยเรามักจะคิดว่ายิ่งเรายุ่งเท่าไหร่ เรายิ่งทำอะไรได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้ามเลย เพราะมันสามารถทำร้ายได้ทั้งประสิทธิภาพการทำงานของเรา จนไปถึงความสัมพันธ์กับคนรอบตัว
และเช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมองค์กรทุกประเภท Busy Culture มันมักจะเริ่มต้นมาจากข้างบน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จำเป็นจะต้องเป็นสัญลักษณ์ขององค์กรในด้านของความสำเร็จ และความมีประสิทธิภาพ แต่ในอีกฝากหนึ่งวัฒนธรรมแห่งความงานยุ่งนี้ก็มีรากมาจากพนักงานใหม่เช่นกัน เมื่อรุ่นน้องต้องพยายามที่จะโดดเด่นเพื่อให้ได้เติบโตในองค์กร และอีกองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้มันโตได้ดีในองค์กรคือในเรื่องของขอบเขคการทำงาน หรือ Work-life boundaries ที่เทคโนโลยียุคปัจจุบันทำให้มันง่ายขึ้นที่จะติดต่อหากันได้ทุกที่ ตลอดเวลา
และถ้า Busy Culture นี้กำลังเกิดขึ้นกับท่าน หรือองค์กรของเรา วันนี้เรามี 3 กลยุทธ์ในการจัดการกับวัฒนธรรมองค์กรแห่งความ ‘งานยุ่ง’ มาฝาก
Incentivize boundary-setting. ให้รางวัลกับการเซ็ตขอบเขต
สิ่งที่จะช่วยต้าน Busy Culture ได้ความเอาจริงขององค์กรในการจัดการมัน เริ่มต้นจากการให้รางวัลพนักงานที่รักษาขอบเขตการทำงานได้ดี หรือพูดง่าย ๆ คือการจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้พนักงานว่างขึ้น อาจจะเป็นหลักการที่ฟังดูแปลก แต่มีงานวิจัยพบว่าพนักงานของสหรัฐอเมริกากว่า 80% ส่งอีเมลงานในวันหยุด เกือบ 60% ส่งวันพักร้อน และกว่าครึ่งยังคงเช็คอีเมลหลัง 5 ทุ่ม ด้วยความรุนแรงของปัญหาระดับนี้ ความจริงจังในระดับเดียวกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยให้พนักงานของเรายังคงมีสุขภาพที่ดี และยังคง Productive ได้
มี Tech Company องค์กรหนึ่งที่ชื่อว่า FullContact ที่ให้พนักงานที่ลาพักร้อนสามารถรับเงินค่าขนมได้ถึง 2 แสนบาทต่อปี ถ้าสามารถทำตามกฏ 3 ข้อนี้ได้ระหว่างที่ลา คือ ห้ามเช็คอีเมลงาน ห้ามทำงาน และห้ามอยู่บ้าน (ข้อสุดท้ายนี้ยกเลิกไปแล้ว) โดยภายในองค์กรเรียกสิ่งนี้ว่า Paid, Paid Vacation ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้สามารถติดตามได้ผ่านการแชร์รูปถ่ายการไปเที่ยวกัน หรือการตรวจสอบช่องทางการสื่อสารขององค์กรเพื่อให้แน่ใจได้ว่าพนักงานไม่ได้แอบทำงาน
ภายหลังจากเริ่มต้นโปรแกรมนี้ FullContact ได้รายงานผลกับ Washington Post ว่ามันดีกับองค์กรพวกเขามากเลย เพราะเขาพบว่าพนักงานที่กลับจากลาพักร้อนนั้นทำงานหนักขึ้นในเวลางาน มีความสุขมากขึ้นกับองค์กร และตื่นเต้นกับการกลับมาทำงานมากกว่าก่อนลาพักร้อน
โฟกัสกับหน้าที่หลัก
การแก้ปัญหา Busy Culture หมายถึงการที่พนักงานในองค์กรต้องเรียนรู้ที่จะปฏิเสธงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหลัก และตัวผู้นำเองต้องทำให้เป็นแบบอย่าง จนกว่าที่พนักงานจะเริ่มเห็นผู้นำปฏิเสธงานที่ไม่ใช่หน้าที่ พวกเขาก็จะยังไม่สะดวกใจที่จะทำเช่นกัน
หนึ่งในวิธีตรวจสอบว่าตอนนี้เรากำลังโฟกัสกับหน้าที่หลักของเราหรือไม่สามารถเริ่มได้ง่าย ๆ เพียงแค่ลองถามเพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้ทำงานโดยตรงกับเราดู ว่าตอนนนี้พวกเขาเข้าใจว่างานหลักของเราคืออะไร ?
Derek Sivers ผู้ที่เป็น Co-founder ของบริษัท CD Baby เขาพบว่าเมื่อเขาถามคำถามนี้คำตอบส่วนใหญ่ไม่ใช่สิ่งที่เขาคิด และเขาพบด้วยว่าโอกาสประเภทที่ทำร้ายธุรกิจมากที่สุดไม่ใช่โอกาสแย่ ๆ แต่กลับเป็นโอกาสกลาง ๆ ดังนั้นเขาจึงเริ่มต้นใช้มาตรการที่ว่าผู้นำองค์กรควรที่จะตอบตกลงเฉพาะกับเรื่องที่สำคัญที่สุด 10% แรกเท่านั้น ที่เหลือต้องปฏิเสธไป เพื่อเป็นการสื่อสารว่าหน้าที่หลัก คือสิ่งที่สำคัญที่สุด และการปฏิเสธงานอื่น ๆ คือสิ่งสำคัญต่อการสื่อสารหลักการนี้ออกไป
ใช้ประโยชน์จากอิทธิพลภายในและภายนอก
วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่สร้างอย่างไม่เป็นทางการ ผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนต่อคน ไม่มีคนใดคนหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กได้ด้วยตัวคนเดียว สิ่งที่ทำให้มันได้ผลคือแรงกดดันทางบวกจากเพื่อนร่วมงานผ่านปฏิสัมพันธ์ มากกว่าเป็นผลจากการสั่งจากข้างบน
Stephen Dalby ผู้ก่อตั้ง Gabb Wireless ผู้นำด้านการออกแบบโทรศัพท์มือถือสำหรับเด็ก ประสบกับปัญหาว่าตัวเขาเองไม่สามารถวางโทรศัพท์ตัวเองได้เลยแม้กระทั่งเวลาอยู่กับครอบครัว ทั้ง ๆ ที่งานหลักของเขาคือช่วยให้เด็กใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือน้อยลง
คุณ Dalby จึงได้เริ่มนโยบายขององค์กรให้พนักงานทุกคนมีช่วงเวลาที่จะไม่แตะมือถือเลย เช่น ช่วงมื้ออาหาร และตอกย้ำความสำคัญนี้โดยการเอาเรื่องบนโต๊ะอาหารของที่บ้านตัวเองมาเล่าให้พนักงานคนอื่นฟัง เพื่อย้ำเตือนความสำคัญของการปิดโหมดงาน
Productivity กับ Busy เป็นสิ่งที่คล้ายกันจนเราอาจจะตีความมันเป็นสิ่งเดียวกันได้ง่าย ๆ แต่ความแตกต่างนี้ส่งผลมหาศาลต่อชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวเรา งานวิจัยพบแล้วว่าจริง ๆ ความงานยุ่งนั้นไม่ได้ช่วยให้เราทำงานได้เยอะขึ้น แต่กลับหมายถึงว่าเรายังไม่สามารถจัดการ Priorty ได้จริง ๆ ดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรแบบ Busy Busy จึงหมายถึงวัฒนธรรมองค์กรที่การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และถ้าเราสามารถแก้ไขมันได้องค์กรของเราจึงจะสามารถเป็นที่ที่ทั้ง Productive และ Healthy ได้จริง ๆ
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
culture
อ้างอิง
https://techtalk.gfi.com/survey-81-of-u-s-employees-check-their-work-mail-outside-work-hours/
https://hbr.org/2020/09/how-to-defeat-busy-culture
culture
organization
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย