Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หางโผล่
•
ติดตาม
7 ธ.ค. 2021 เวลา 10:01 • การเมือง
ผู้นำนาซิซีติส(บุคลิกภาพผิดปกติแบบหลงตัวเอง Narcissistic personality disorder หรือ NPD)
ผู้นำนาซิซีติส(บุคลิกภาพผิดปกติแบบหลงตัวเอง Narcissistic personality disorder หรือ NPD)
การเป็นผู้นำ.. ใช่ว่าจะเป็นกันได้ง่ายๆ ทั้งในองค์กรขนาดเล็กและขนาดใหญ่ คุณสมบัติของผู้นำที่ดีก็คือควรจะเป็นผู้ตามที่ดีด้วย นอกจากจะออกคำสั่งแล้วยังต้องสนับสนุนลูกทีมที่มีความคิดให้ได้ใช้ทักษะอย่างเต็มที่เพื่อผลลัพธ์ขององค์กรเป็นสำคัญ
นาซิซีติส หรือ บุคลิกภาพผิดปกติแบบหลงตัวเอง (Narcissistic personality disorder หรือ NPD)คือความหายนะขององค์กรที่มีผู้นำเป็นคนหลงตัวเอง เราคงคิดว่าใครๆก็หลงตัวเองกันได้ และแน่นอนทุกคนสามารถหลงตัวเองกันได้ หากตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน.. แต่ในความเป็นผู้นำนั้น นาซิซีติส อาจพาความ_ิบหายมาสู่คนจำนวนมาก เพราะอะไร?
อาการของบุคลิกภาพผิดปกติประเภทนี้ อาจะเรียกง่ายๆว่า "พวกหลงตัวเอง" (Narcissist) จะเป็นพวกที่ไม่สนใจคนอื่น สนองเพียงความต้องการของตน และมักคิดว่าตนเองเป็นคนสำคัญ เป็นคนพิเศษ ทำให้เขาเหล่านั้นคาดหวังว่าผู้อื่นจะต้องสรรเสริญตน ต้องดูแลตนเป็นอย่างดี และคนเหล่านี้ไม่สามารถทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ที่คนอื่นมีต่อตนในทางลบได้ พวกเขาชอบเพียงคำเยินยอเท่านั้น ลักษณะสำคัญของคนกลุ่มนี้นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีพฤติกรรมที่น่าสนใจอย่างคือพวกเขาไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับใครอย่างลึกซึ้ง และมีแนวโน้มที่จะมองคนอื่นเป็นเบี้ยล่างที่ต่ำต้อยกว่าตนเสมอ ยิ่งถ้าพูดถึงการทำงานร่วมกันหรือร่วมมือเรื่องผลประโยชน์ คนเหล่านี้อาจจะทำสถานการณ์เพื่อปั่นหัวหรือยุยง สร้างสถานการณ์เพื่อให้ตนบรรลุเป้าหมาย แม้แต่การหักหลังมิตรสหาย ใส่ร้ายป้ายสี ก็ย่อมทำได้
DSM-5 หรือ เกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวชของสมาคมจิตแพทย์อเมริกาได้ให้รายละเอียดการจำแนกบุคคลที่มีแนวโน้ม"หลงตัวเอง”ไว้ดังนี้
1.ไม่เข้าใจความรู้สึก ความต้องการ และความจำเป็นของผู้อื่น แต่จะใส่ใจอย่างมากกับความคิดเห็นหรือการตอบสนองของผู้อื่นที่มีต่อตน โดยมักประเมินค่าตนจากการตอบสนองของผู้อื่นที่มีต่อตน
2.มักมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างผิวเผิน และต้องการมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ทำให้ตนเองรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น หรือมุ่งหวังประโยชน์จากความสัมพันธ์นั้นๆ
3.มองว่าตนพิเศษมีความสำคัญ และมีสิทธิพิเศษกว่าคนอื่น มองว่าตนเองเป็นศูนย์กลาง เอาความต้องการตนเป็นหลักมักจินตนาการว่าตนฉลาด หรือมีความสามารถเหนือใครๆ จึงมักวางตัวมีอำนาจเหนือคนอื่น
4.พยายามอย่างมากที่จะทำให้ตนเองดูโดดเด่นมีคุณค่ามีความสำคัญ และแสวงหาการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่น บางคนทำตัวเสมือนว่าประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย
ถ้าพิจารณาตามเกณฑ์ข้างต้นนี้ ถ้าผู้นำมีครบทั้ง4ข้อนี้องค์กรจะเป็นอย่างไร?
ข้อหนึ่ง หากผู้นำไม่เข้าใจความรู้สึกและความจำเป็นของผู้อื่น เมื่อผู้ตามเรียกร้องสิ่งใดขึ้นไป ความต้องการนั้นย่อมเข้าไม่ถึงสำนึกหรือกลไกความคิดของผู้นำอย่างแน่นอน หรือแม้แต่ผู้ตามกำลังจะขาดใจตาย ผู้นำก็จะมองไม่เห็นว่าเครื่องช่วยหายใจสำคัญกว่ารถเข็น
ข้อสอง หากผู้นำเข้าหาผู้อื่นเพียงช่วงเวลาที่ตนต้องการประโยชน์จากใครคนนั้น เขาจะมีเสถียรภาพทางการบริหารองค์กรจากไหน ในเมื่อหมดประโยชน์ก็ทิ้งขวางความสัมพันธ์ พอเห็นประโยชน์ก็กระโดดเข้าหา ใครเลยจะเป็นมิตรแท้ต่อองค์กร
ข้อสาม หากผู้นำมองว่าตนพิเศษ จินตนาการว่าตนฉลาด มีความสามารถเหนือคนอื่น ผู้ตามคนไหนจะกล้าแนะนำหากทำผิด ผู้ตามที่ไหนจะกล้าออกความเห็นที่ถูกต้อง ยิ่งหากผู้นำไม่ได้ฉลาดแล้วขยัน ขงเบ้งว่าให้ประหารทิ้งเสีย
ข้อสี่ หากผู้นำอยากโดดเด่น เช่นนั้นเขาจะแสดงอาการเรียกร้องโดยไม่สนใจสามัญสำนึกใดๆ หรือบางทีก็ขโมยผลงานคนอื่นไปเป็นของตน เพื่อสิ่งเดียวที่ต้องการคือคำสรรเสริญแค่นั้นเอง แล้วความถูกต้องจะสำคัญกว่าสามัญสำนึกหรือไม่?
ผู้นำนาซิซีติสคงสร้างความหายนะไม่ใช่น้อยต่อองค์กร คงมีคนจำนวนมากที่ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้จากคนจำพวกนี้ แล้วหากผู้นำแบบนี้ไม่สามารถเข้าใจความต้องการของผู้ตามได้ เขาจะมองว่าผู้ตามที่ต่อต้านเป็นศัตรูตัวร้าย ที่จะมากัดกินตัวเองหรือไม่? คำถามที่องค์กรที่โชคร้ายเท่านั้นจะรู้คำตอบ.
สังคม
จิตวิทยา
การบริหาร
บันทึก
2
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย