8 ธ.ค. 2021 เวลา 06:26 • ประวัติศาสตร์
เปิดฉากเริ่มต้นอารยธรรมอาหรับ จากชนเผ่า สู่จักรวรรดิ
ณ ดินแดนแห่งอาหรับตอนแรกอาจจะดูไม่เหมือนมาตุภูมิของผู้ที่จะพิชิตโลก เนื่องจากเป็นดินแดนห่างไกลทุรกันดาน เต็มไปด้วยทะเลทรายอันกว้างใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็นดินแดนของเผ่าเล็ก ๆ กระจายตัวและปกครองอย่างไม่ขึ้นตรงต่อกันนานนับศตวรรษ
แต่สิ่งนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วง คศ 300 อาณาจักรแห่งทะเลทรายที่ยิ่งใหญ่ได้ก่อกำเนิดขึ้น นั้นคือ "อาณาจักรฮิมยาห์ " ศูนย์อำนาจการปกครองอยู่ที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยเมนในปัจจุบัน
ภาพอาณาเขตของอาณาจักรฮิมยาห์ เพื่อความเข้าใจทางภูมิศาสตร์
อาณาจักรฮิมยาร์เถลิงอำนาจและปราบปรามเหล่าชนเผ่าต่าง ๆ รายรอบคาบสมุทรอาระเบียทางตอนใต้ได้อย่างเด็ดขาด ละ นโยบายที่น่าประหลาดใจที่ไม่สมกับเป็นพวกชนเผ่าเร่รอนของชาวอาหรับพื้นเมืองคือ
กษัตริย์แห่งฮิมยาร์ ตัดสินใจละทิ้งการบูชาเทพเจ้าพหุเทวนิยม ( บูชาหลายเทพ ) และ รับเอาความเชื่อ เอกเทวนิยม ในปี คศ 380 นั้นคือ พวกนี้รับเอาศาสนายูดายน์ มาเป็นศาสนาประจำอาณาจักร เป็นชาวอาระเบียกลุ่มแรก ๆ ที่ก่อร่างเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งมีศูนย์อำนาจการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ รับแนวคิดแบบเอกเทวนิยมมาเป็นศาสนาของพวกตนเอง
ซึ่งต่างจากชาวอาหรับกลุ่มอื่น ๆ ที่ยังคงวิถีชีวิตเป็นชนเผ่าเร่รอน ไปตามโอเอซิสต่าง ๆ และ คงความเชื่อท้องถิ่นในการบูชาเทพเจ้าหลายองค์มากว่า 1,300 ปี ตั้งแต่นับได้จากพวกนาบาเตีย
หากพูดให้ถูกคือ คำว่า "ชาวอาระเบีย" ก็หมายถึง ชาวทะเลทราย ( ซึ่งก็คือตั้งแต่ทะเลทรายจอร์แดน กลุ่มชนทีเร่รอนไปมาในทะเลทรายก็มักจะถูกเรียกว่า ชาวอาระเบีย เป็นการเรียกแบบเหมารวม ไม่จำกัดว่าเป็นเผ่าไหน พวกไหนโดยรายระเอียด ) พวกนี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์มากว่าพันปีแล้ว จากยุคสมัยของจักรพรรดิทราจันแห่งจักรวรรดิโรมัน ที่รบพุ่งกับพวกทะเลทราย ก็ได้ทราบความเป็นอยู่ของชนเผ่าพวกนี้มาตั้งแต่ กคศ 106
แต่ฮิมยาร์เองก็ไม่ใช่พวกแรก ๆ ที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวในภูมิภาคอาหรับ
ณ เมืองยัธริป ( มะดินาห์ ) มีกลุ่มชาวยิวมาตั้งรกรากตั้งแต่ช่วง ศ 1 ทางตอนเหนือของฮิมยาห์ มีเมืองนัสรอน ที่มีชุมชมนับถือคริสตศาสนา ซึ่งพวกนี้มีความสัมพันธ์กันดีกับอาณาจักรคริสเตียนในอาบิสซิเนีย ( เอธิโอเปีย )
เพียงแต่พวก พวกนี้เป็นชุมชนที่อยู่ในลักษณะสังคมเผ่า มีฐานการปกครองแบบเผ่าเร่ร่อน ไม่มีระบอบการเมืองเข้มแข็งแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างพวกฮิมยาห์ การปกครองในพื้นที่นั้นอยู่ที่ว่า เผ่าไหนครองอาณาเขตไหน แล้วมาตกลงร่วมมือกัน
บ่อยครั้งที่ เผ่าแต่ละเผ่าไม่ลงรอยกัน ทำสงครามกันเองอย่างสงครามกลางเมืองยัธริป ระหว่างชนเผ่าผู้ปกครองชาวยิวสามเผ่า ที่ทำสงครามกันเองเพื่อชิงอำนาจความเป็นใหญ่ใน ยัธริป เป็นต้น
การเถลิงอำนาจของ อาณาจักรฮิมยาร์ นั้นแผ่ไปด้วยการสนับสนุนของอาหรับเผ่าอื่น ๆ รายรอบที่เดิมนับถือเทพอาหรับ หลังจาฮิมยาร์รับศาสนายูดายน์เข้ามา ก็ทำให้ เผ่าพวกนี้ หันมานับถือศาสนายูดายน์ด้วยเช่นกัน
เช่น เผ่า คินดาฮ์ ( Tribe of Kindah ) เผ่าที่มีอิทธิพลในตอนใต้ของอาหรับ ใกล้กับเยเมน ในช่วง ศ ที่ 4 ได้เถลิงอำนาจสร้างราชอาณาจักร คินดาห์ พัฒนาตัวเองจากสังคมชนเผ่า กลายเป็นสังคมชาวเมือง เอาอย่างอาณาจักรอย่างฮิมยาร์
อาณาเขตของอาณาจักรคินดาห์ เพื่อความเข้าใจทางภูมิศาสตร์ ในสมัยนั้น
ต่างกันที่ อาณาจักรคินดาห์นั้น ผู้ปกครองเรียกตัวเองว่ากษัตริย์ แต่อำนาจไม่รวมศูนย์ ใช้การควบคุมชนเผ่าต่าง ๆ ที่มีความเอกเทศ ให้ยอมรับอำนาจของตัวเองเท่านั้น เดิมทีพวกนี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ ในช่วง คศ 6 ได้มีหลักฐานทางโบราณคดีว่า พวกคินดาห์ สร้างแท่นบูชาเทพ อัทตาร์ ( Attar god ) ซึ่งเป็นเทพที่บูชาอย่างแพร่หลายในดินแดนเมโสโปเตเมียตอนใต้ ยาวยันคาบสมุทรอาระเบีย
ด้วยความที่ คินดาห์เป็นอาณาจักรเล็ก แสงยานุภาพเทียบกับฮิมยาห์ไม่ได้ ราชาของคินดาห์จึงยอมสวามิภักดิ์กับอาณาจักรฮิมยาร์ และ ตัวเองก็เข้ารีตยูดายน์ด้วย มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีว่า อาณาจักรคินดาร์ให้การสนับสนุนทางด้านการทหารให้อาณาจักรฮิมยาห์ และ ยังสลักชือ กษัตรย์แห่งฮิมยาห์ไว้คู่กับ กษัตริย์แห่งคินดาห์
ซึ่งความเข้มแข็งของอาณาจักรอาระเบียตอนใต้นี้ สร้างความสนใจให้กับจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของโลก ในเวลานั้นคือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ และ จักรวรรดิแซสซานิสเปอเซียเป็นอย่างมาก ทั้งสองจักรวรรดิก็ต่างพยายามดึงฮิมยาห์เข้าเป็นพวกในสงคราม แต่ถึงกระนั้น ฮิมยาห์ก็เข้ากับฝั่งเปอเซียร์แซสซานิด
ในช่วง คศ 525-527 อาณาจักรฮิมยาร์ มีนโยบายกดขี่ชาวคริสต์ในเมืองนัสรอน ซึ่งเป็นพื้นที่ของ อาณาจักรคินดาห์ ซึ่งพวกคินดาห์เองก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ชาวคริสต์โดนสังหารเพราะไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาเป็นยิว ( ซึ่งนโยบายบังคับให้เข้ารีต หากไม่ก็ต้องตาย นี้ไม่มีในยิวเลย จนกระทั้ง มาถึงสมัยยิวอาหรับ )
เวลานี้ มีอาณาจักรนึงที่เข้ามามีบทบาทคือ "อาณาจักรอักซุม" ( Kingdom of Aksum ) แห่งเอธิโอเปีย ซึ่งนับถือคริสตศาสนา ต้องการเข้ามาโจมตีฮิมยาห์ เพราะว่ากดขี่ชาวคริสต์ในท้องถิ่นอาระเบีย
การรุกรานของอาณาจักรอักซุมเริ่มขึ้นเมืองปี คศ 525-572 สงครามที่ยื้อกันมานานส่วนมาก อาณาจักรอักซุมเป็นผู้ชนะ ภายใต้การนำของแม่ทัพเอธิโอเปียนามว่า อาบราฮะฮ์ ( Arbraha ) หรือ มุสลิมรู้จักกันในชื่อ "อับรอฮะ" แม่ทัพที่นำทัพมารุกรานมักกะห์ในปีช้าง ( ซึ่งไม่ได้มีประวัติศาสตร์บันทึกว่าอาบราฮะฮ์ได้นำช้างมาโจมตีมักกะฮ์ )
ภาพจำลองเรื่องราวสงครามปีช้าง ปีที่นบีมูฮัมหมัดเกิด ซึ่งในบันทึกของศาสนาอิสลามบอกว่า พระเจ้าได้ส่งฝูงนกคาบก้อนหินโปรยลงจากฟ้า จนกองทัพของอาบราฮะฮ์เสียหาย แต่ไม่มีบันทึกนี้ทางประวัติศาสตร์
ได้มาเป็นผู้สำเร็จราชการท้องถิ่นในการปกครองภูมิภาคอาหรับ ซึ่ง อาบราฮะฮ์ ถึงแม้จะเป็นคริสเตียน แต่ก็ทำตัวเองให้เข้ากับชาวอาหรับ โดยยึดถือธรรมเนียมเดิม ของชาวอาหรับ การใช้ภาษาท้องถิ่น ในการสื่อสาร และ เสมือนตั้งอาณาจักรของตัวเองขึ้นมา
ภายใต้การปกครองของอักซุม กล่าวคือ ตัวเองอยู่ในฐานะผู้สำเร็จราชการก็จริง แต่ก็ทำตัวเป็นกษัตริย์แห่งเยเมน เรียกตัวเองว่า "นือกุซ" ซึ่งหมายถึง ราชาแห่งท้องที่นั้น ๆ แทนพวกฮิมยาห์ เราจึงเรียกสมัยนี้ว่า อาณาจักร นือกุซอาบราฮะฮ์ เพื่อเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ช่วงนี้
ณ เวลานี้ อาณาจักรอับราฮาห์ที่นับถือ คริสเตียนได้แผ่อิทธิพลไปทั้งตอนใต้และทางตอนเหนือ ตอนช่วงปี คศ 548 เขือนทีเยเมนเกิดแตก จนต้องมีการซ่อมแซมเขือน
จุดนี้เองทำให้เกิดกรอพยพของชาวอาหรับในเยเมน คือพวก อัศซอร์ และ ควาราจ อพยพจาก เยเมนไป เมืองยัธริป ซึ่งเราจะกล่าวถึงพวกเขาภายหลัง อาบราฮะฮ์ได้ขยายอาณาเขตของคริสเตียนโดยการสร้างโบสถ์ในภูมิภาคเยเมน ณ เมือง มะอ์ริบ ( Marib ) เวลานี้ ก็มีตัวแทนของกษัตริย์อักซุมแห่งเอธิโอเปีย ฑูตจากไบแซนไทน์ แม้กระทั้งฑูตของจักรวรรดิเปอเซียร์แซสซานิส จนไปถึงเผ่าอาหรับ ต่างมาเชื่อมสัมพันธไมตรีกับ อาณาจักรใหม่ที่กำลังก่อร่างสร้างตัว
แผนที่บริเวณยุโรปและคาบสมุทรอาระเบียก่อนการพิชิตของจักรวรรดิอิสลาม
ในช่วงปี 550 ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวว่า อาบราฮะฮ์ ได้เข้าโจมตี เผ่า บนู ลาคห์ ( Banu Lakhm ) เผ่าอาหรับที่มีอิทธิพลทางตอนใต้ของประเทศอิรัก พวก บนู ลาคห์ ปักหลักเผ่าที่ อัล ฮิรอะฮ์ ( Al Hirah ) ทำให้เวลานั้นอาบราฮะฮ์ มีอิทธิพลไปทั่วคาบสมุทรอาระเบีย
ภาพอาณาเขตของ บนูลาคห์ อันกว้างใหญ่ที่ อับรอฮะห์ พิชิตได้
แต่เผ่าอาหรับยิวในเยเมนก็ยังไม่ยอมสยบแก่อับราฮะฮ์ เผ่าพวกนี้ยังจงรักภักดีกับกษัตริย์ฮิมยาห์อยู่ นำโดยเผ่ายิวยามานี ยาซิส บิน คัปชาห์ ( Yazid bin Kabshad ) เผ่าคินดาห์ ก็ก่อกบฏเพื่อต่อต้านการปกครองของ อาบราฮะฮ์ เพราะการรุกรานของอาบราฮะฮ์นั้น ได้มีการเผาซินากอก ( โบสถ์ยิว ) ในเยเมนไปหลายแห่ง และ สร้างโบสถ์ทับที่ทำให้ยิวในอาหรับไม่ยอมสวามิภักดิ์ของ อาบราฮะฮ์ อย่างเต็มใจ
โดยชาวยิวอาหรับโดย ซัยฟ์ อิบนุ ดี ยะซาน อัล ฮิมยารี ( Sayf ibn Dhi Yazan al himyari ) ก็ขอความช่วยเหลือจากจักรวรรดิเปอเซียร์ภายใต้การนำของจักรพรรดิโคสโรว์ที่ 1 ( Khosrau l ) เพื่อกอบกู้อาณาจักรฮิมยาห์ ที่เคยรุ่งเรืองของชาวยิวกลับมาเป็นของชาวยิวอีกครั้งนึง
ภาพในปี 1935 วาดเกี่ยวกับ  ซัยฟ์ อิบนุ ดี ยะซาน อัล ฮิมยารี กำลังขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิเปอเซียร์ โคสโรว์ที่ 1
แต่อย่างไรก็ดี ภายหลังจาก อาบราฮะฮ์ เสียชีวิตลง ในปี คศ 553 เราไม่ได้ทราบว่าอับราฮะฮ์เสียชีวิตอย่างไร ตำแหน่ง นือกุซ ก็ตกเป็นของลูกชาย คือ ยัคซุม บิน อาบราฮะฮ์ และ ยัคซุม ก็พ่ายแพ้แก่ชาวยิวยามานี ( อาหรับยิว ) หลังจากนั้น มัศรุค บิน อับบราฮะฮ์ ก็ขึ้นครองราชต่อ โดย มัศรุค รบกับกองกำลังของ วาฮ์ริส ( วาเรซ ) แม่ทัพของจักรวรรดิแซสซานิดที่ส่งมาสนับสนุนยิวยามานี ในยุทธการที่ ฮัทดรามุท ( Battle of Hadharamuat ) และ สิ้นชีพในสนามรบ ปี คศ 570 ถือว่าปิดฉากความรุ่งเรืองของอาณาจักรคริสเตียนทางตอนใต้ของอาระเบียกว่าครึ่งศตวรรษลงในที่สุดนั้นเอง
ภาพ Battle of Hadhramaut ในจิตรกรรมเปอเซียร์ ชื่อภาพ การสังหารกษัตริย์แห่งเยเมน
ภายหลังการสิ้นสุดอำนาจของ อาณาจักรคริสเตียน อาบราฮะฮ์ แซสซานิสก็ตั้งให้ลูกชายของ ซัยฟ์ ปกครองดินแดนเยเมน ในฐานะแคว้นนึงของจักรวรรดิแซสซานิส อำนาจของยิวได้กลับมาปกครองคาบสมุทรอาระเบียอีกครั้งนึง
โปรดติดตมตอนต่อไป เมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ภาพอาณาเขตต่าง ๆ ของอาณาจักร ซึ่งพื้นที่สีชมพู เป็นเมืองสวามิภักดิ์ของจักรวรรดิเปอเซียร์
อ้างอิง In Gods Path The Arab Conquests and the Creation of an Islamic Empire by Robert G. Hoyland
โฆษณา