Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ญี่ปุ่นหลากมิติ
•
ติดตาม
8 ธ.ค. 2021 เวลา 07:15 • ท่องเที่ยว
■ วิธีการสักการะศาลเจ้าที่ถูกต้อง
หากเราไปเยือนศาลเจ้า(神社) เราจะทำการคำนับและอธิษฐานขอพรต่อเทพเจ้า ภาษาญี่ปุ่นเรียกกิจกรรมนี้ว่า "ซัมปัย"(参拝) ซึ่งมีขั้นตอนที่เราควรจดจำเอาไว้ (สำหรับผู้สนใจที่ยังไม่รู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง)
●
ถ้าพร้อมแล้วเราไปไหว้ขอพรที่ศาลเจ้ากันเถอะ
ที่ญี่ปุ่นมีศาลเจ้า(ของชินโต)อยู่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในเมืองใหญ่หรือในชนบทที่อยู่ตามต่างจังหวัด และไม่เพียงแต่ศาลเจ้าขนาดใหญ่เท่านั้น ยังมีศาลเจ้าขนาดเล็กอีกด้วย
ในญี่ปุ่นไม่ว่าใครจะเป็นผู้นับถือหรือมีศรัทธาแบบไหนก็สามารถมาคำนับขอพรเทพเจ้าภายในเขตศาลเจ้าหรือวัดได้สบายมาก
ดังนั้นถ้าใครมีโอกาสมาเที่ยวชมหรือมาทัศนศึกษาที่ญี่ปุ่นล่ะก็ อย่าเอาแต่เดินดูเฉยๆล่ะ ต้องลองไปสักการะและขอพรให้ได้ด้วย
การมาสักการะเทพเจ้ามีกฎเกณฑ์ที่ไม่ซับซ้อน ในบทความนี้จะอธิบายวิธีการสักการะแบบพื้นฐานทั่วไป
●
ลำดับและวิธีปฏิบัติในการสักการะขอพรที่ศาลเจ้าชินโต
1. เริ่มแรก เมื่อมาถึงศาลเจ้าให้โค้งคำนับหนึ่งครั้งบริเวณด้านหน้าของประตู"โทริอิ"
ประตูโทริอิ
การโค้งคำนับให้ปฏิบัติด้วยความเคารพและให้เกียรติต่อสถานที่ ที่ด้านหน้าประตูโทริอิตรงทางเข้าเขตศาลเจ้า ขอให้โค้งคำนับหนึ่งครั้งก่อนที่จะรอดผ่านด้านล่างประตูโทริอิ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและเหมือนเป็นการทักทายไปยังเทพเจ้าว่า "ขออนุญาตเข้าไปนะครับ/คะ)
2. ชำระล้างร่างกายที่ศาลาล้างมือ (手水舎)
ก่อนจะทำการสักการะขอพร มีธรรมเนียมการชำระล้างสิ่งสกปรกในร่างกายออกไปให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อน(身を清める) ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อตอนจะสักการะเทพที่ศาลเจ้า เราจะทำความสะอาดโดยการล้างมือด้วยน้ำ
ศาลาล้างมือ
อันดับแรกมองหาศาลาล้างมือ หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า "เทะมิสุยะ"(手水舎) กันก่อน
ในศาลาจะมีอุปกรณ์ที่คล้ายกับช้อนตักขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "ฮิชากุ"(柄杓) หรือกระบวยตักน้ำนั่นเอง ให้เรานำฮิชากุมาตักน้ำ
จากนั้นราดน้ำตามลำดับ โดยเริ่มจากมือซ้าย➔มือขวา ล้างฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามมือของเราให้สะอาด
ต่อมา เทน้ำใส่ที่มือซ้ายแล้วนำไปชำระล้างช่องปาก(กลั้วในลำคอ) เมื่อชำระล้างเสร็จแล้วก็ให้เทน้ำลงบนมือซ้ายอีกครั้ง ทำแบบนี้เพื่อให้มือซ้ายสะอาด
ถ้าชำระล้างมือแล้ว สุดท้ายให้เก็บฮิชากุที่ใช้ตักน้ำโดยจับส่วนที่คล้ายช้อนตักเอียงไปทางด้านบน ให้น้ำที่หลงเหลือไหลลงมาตามด้ามที่ใช้จับ ทำแบบนี้มีความหมายถึงการทำความสะอาดฮิชากุหรือกระบวยตักน้ำ
3. สั่นกระดิ่งในวิหารหลัก
ให้ยืนด้านหน้าวิหารหลัก(สิ่งปลูกสร้างอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า) หากแหงนมองไปทางด้านบนของวิหารจะมีกระดิ่งขนาดใหญ่ห้อยอยู่ มีเชือกออกมาจากด้านล่างกระดิ่ง ให้จับพวงเชือกนี้ไว้แล้วออกแรงสั่นหรือเขย่า
จะมีเสียงดังโคล้งเคล้งๆแต่ไม่เป็นไร ไม่ต้องตกใจ
4. หยอดเงินเหรียญสำหรับทำบุญ
ในญี่ปุ่น เงินสำหรับทำบุญถวายให้แก่เทพเจ้าเรียกว่า "ไซเซ็น"(賽銭) ไซเซ็นโดยมากมักจะใช้เหรียญห้าเยน เราอาจจะคิดว่าเพราะเป็นเหรียญที่มีราคาถูก แต่ที่จริงเป็นเพราะว่าห้าเยนนั้นเป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจากในภาษาญี่ปุ่นคำว่า "โกะเอน"(5円 = ห้าเยน) กับคำว่า "โกะเอน"(ご縁 = โชค,ชะตา) นั้นออกเสียงเหมือนกัน และจากการอธิษฐานขอ "ให้มีโชคชะตาที่ดี"(よいご縁がありますように / โยะอิ โกะเอนงะ อะริมะสุ) ซึ่งเท่ากับมีความหมายว่าขอให้พบเจอในสิ่งที่ดี(มีโชคดี) จึงนิยมใช้เหรียญห้าเยน
2
ใส่เงินเหรียญสำหรับทำบุญหรือ"ไซเซ็น" ในกล่องที่อยู่ด้านหน้าวิหาร ถึงแม้เราจะไม่มีเหรียญห้าเยนแต่ก็สามารถใส่จำนวนเงินเท่าใดก็ได้เช่นกัน
5. การนมัสการ
เริ่มด้วยการโค้งคำนับสองครั้ง
ตบมือให้เกิดเสียงสองครั้ง(ตบเช่นเดียวกับการปรบมือ)
เมื่อตบมือเสร็จแล้ว ก็พนมมือไหว้(ประสานมือทั้งสองให้นิ้วชิดกัน) เราสามารถพูดออกเสียงในเรื่องที่เราอธิษฐานขอได้
เมื่อเราอธิษฐานเสร็จแล้วให้ทำการโค้งคำนับอีกครั้งหนึ่ง
บางคนเรียกวิธีการข้างต้นนี้ว่า "2คำนับ 2ปรบมือ 1คำนับ"(ニ礼ニ拍手一礼)
6. ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อออกมาจากศาลเจ้าตรงด้านหน้าประตูโทริอิแล้วให้หันหน้ากลับสู่วิหารหลักแล้วโค้งคำนับหนึ่งครั้ง
ตอนที่ออกมาจากเขตศาลเจ้าผ่านประตูโทริอิแล้ว ให้ทำการโค้งคำนับไปยังวิหารอีกหนึ่งครั้ง มีความหมายเพื่อแสดงความรู้สึกต่อเทพเจ้าว่า "ขอโทษที่เรามารบกวน" "ขอบคุณครับ/ค่ะ"
●
ต้องลองไหว้พระที่ศาลเจ้ากันจริงๆดูบ้าง
พวกเราเข้าใจวิธีการสักการะที่ศาลเจ้าหรือยัง?
นอกจากนี้ในเขตศาลเจ้ามีบรรยากาศที่เงียบและสงบ สามารถทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้ แนะนำสำหรับเป็นจุดแวะพักปล่อยใจสบายๆในตอนที่เราเดินเที่ยวรอบเมือง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
matcha-jp.com
ญี่ปุ่น
ท่องเที่ยว
การศึกษา
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย