Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE SERIOUS
•
ติดตาม
9 ธ.ค. 2021 เวลา 07:14 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คริปโตฯ ลักลั่น สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง ‘แบงค์ชาติ-กลต-และคปภ’ V1
The Serious - Structural problem on Financial Sector Regulatory Framework
ห่างหายกันไปนานเนื่องจากปัญหาหลาย ๆ อย่าง กลับมาทั้งทีรับรองว่าต้องมีเรื่องที่ร้อนแรงและเข้มข้นตามธีมของภาพสีแดงในวันนี้
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ‘บริษัทยักษ์ใหญ่แนวหน้า’ ของไทยในหลากอุตสาหกรรม ทั้งค้าปลีก ค้าส่งห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประกาศร่วมมือ ‘บริษัทสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ’ โดยตั้งเป้าให้ลูกค้าที่มีสินทรัพย์ดิจิทัล (หรือเรียกกันติดปากว่า คริปโตฯ) สามารถเอาคริปโตมาชำระค่าสินค้าของตนเองได้
ในตอนนั้นคนก็คงคิดกันว่า ธุรกิจได้ประโยชน์ ลูกค้าได้ความสะดวกสบาย/มีทางเลือก และยิ่งเศรษฐีเกิดใหม่จากคริปโตฯ ก็อาจมีจำนวนไม่น้อย คงกระตุ้นเศรษฐกิจกันได้ไปในคราวเดียวกัน
และแล้ว แบงค์ชาติและสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ (ธปท./ก.ล.ต.) ก็ถือขวานเทพเจ้าสายฟ้า ปล่อยกระแสไฟรั่วแบบเบา ๆ ลงมาว่า ‘ไม่สนับสนุนให้ใช้คริปโตฯ มาชำระค่าสินค้าและบริการ’ โดยเหตุผล ต่าง ๆ นา ๆ
ในบทความนี้เราจะไม่พูดถึงทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับว่า คริปโตฯ/บิทคอยน์ เป็นเงินหรือไม่ หรือประเด็นที่ว่า ควรให้คริปโตฯ/บิทคอยน์เป็นส่วนหนึ่งของสื่อกลางการชำระเงินไปเลยดีหรือไม่ เพราะเมื่อประกาศมาแบบนี้เอกชนต้องเหยียบเบรคกันระนาว โดยไม่เกี่ยวกับประเด็นว่า ธปท-กลต ควรจะห้ามจริง ๆ หรือไม่ก็ตาม
แต่ถ้าจะตีความให้ลึกลงไป การที่ ธปท-กลต เลือกใช้คำว่า ‘ไม่สนับสนุน’ นั้นคงไม่ใช่ความบังเอิญนอกเสียจากว่า ‘มันจะมีปัญหาเชิงโครงสร้างอำนาจรัฐ’ อื่น ๆ อยู่ด้วย เช่น
1. การที่ ธปท และ/หรือ กลต ปล่อยเวลาให้ผ่านมาเนิ่นนาน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ (หลายเดือน/หรือเป็นปี) มีธุรกิจน้อยใหญ่ต่างเตรียมให้ลูกค้าใช้คริปโตฯ ชำระค่าสินค้ากันมาได้สักพักหนึ่ง หมายความว่า หน่วยงานกำกับเองก็สรุปกันไม่ได้สักทีว่า ‘ควรอนุญาตให้ทำหรือไม่’
2. นอกจากคำถามเรื่อง ‘ควร / ไม่ควร’ แล้ว ยังต้องตั้งคำถามต่อว่า จะเอาอำนาจที่ไหนไปดำเนินการได้ เพราะถ้าจะยอมให้เกิดก็ต้องมีอำนาจเข้าไปคุ้มครองผู้บริโภค / ถ้าจะไม่ยอมให้เกิดก็ต้องมีอำนาจเข้าไปเบรคเอกชน
3. เนื่องจากตอนนี้ กลต กำกับคริปโตฯ โดยมองว่าเป็นเสมือน ‘สินทรัพย์เพื่อการลงทุน’ อยู่แล้ว จึงคล้ายกับเป็นการ ‘รับรองสถานะ’ ของคริปโตฯ ให้เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าจับต้องได้ไปในตัว ซึ่งก็ไม่แปลกถ้าธุรกิจทั่วไปจะยอมรับ ‘สินทรัพย์’ เหล่านี้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้า/บริการของตน การออกมาประกาศ ‘ไม่สนับสนุนคริปโตฯ’ จึงดูเป็นเรื่องย้อนแย้ง อย่างไม่ต้องสงสัย
ปัญหาคร่าว ๆ เหล่านี้คือความย้อนแย้งของนโยบายกำกับดูแลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมันจะยิ่งชัดเจนมากขึ้น เมื่อสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ ที่กำลังรอเวลาที่จะเกิดขึ้น ทยอยเกิดตามมา
นั่นจะทำให้หลักการแบ่งแยกประเภทสินทรัพย์ และประเภทธุรกิจ เพื่อแบ่งการกำกับแบบเดิม ๆ เช่น เงินคู่กับธนาคาร กำกับโดยแบงค์ชาติ หรือ หลักทรัพย์คู่กับบริษัทหลักทรัพย์ กำกับโดย กลต ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เพราะเงินอาจจะเป็นหลักทรัพย์ และเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ในเวลาเดียวกันก็เป็นได้...
ถึงเวลานั้น เราคงได้แต่คิดแล้วก็สงสัยว่า โครงสร้างการกำกับดูแลที่ถูกออกแบบมาตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จะยังตอบโจทย์ระบบการเงินในศตวรรษที่ 21 ได้ต่อไปจริง ๆ หรือ... ซึ่งแน่นอนว่า คนรับเคราะห์คงหนีไม่พ้นประชาชนซึ่งต้องใช้บริการเหล่านี้นั่นเอง
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาล และกระทรวงการคลัง จะพิจารณาโครงสร้างนี้ใหม่กันเสียที...
#TheSeriousFinance
#ไม่ปังก็ปลิว
#แบนคริปโต
#แบงค์ชาติ #กลต
https://www.bangkokbiznews.com/business/975357
การเมือง
การเงิน
คริปโต
2 บันทึก
4
3
2
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย