8 ธ.ค. 2021 เวลา 16:00 • การศึกษา
C/2021 A1 (Leonard) ดาวหางสว่างของปี 2021
ดาวหาง Leonard ; C/2021 A1 ณ อ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยวิรติ กีรติกานต์ชัย
เป็นดาวหางคาบยาวขาเข้าที่ค้นพบโดย G.J. Leonard ที่ Mount Lemmon Observatory เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2021 ขณะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 5 AU นี่เป็นดาวหางดวงแรกที่ค้นพบในปี 2021 และมีเส้นทางโคจรสวนทางกับการหมุนของโลก โดยใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 12 ธันวาคม 2021 ที่ระยะทาง 0.233 AU (34.9 ล้านกม.) และใกล้ดาวศุกร์มากที่สุดในวันที่ 18 ธันวาคม 2021 ที่ระยะทาง 0.028 AU( 4.2 ล้านกม.) ดาวหาง Leonard ดวงนี้เป็นดาวหางคาบยาวประมาณ 80,000 ปี เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 158,084 ไมล์ต่อชั่วโมง (254,412 กม./ชม. หรือ 70.67 กม./วินาที)
Comet Leonard An image of comet Leonard (C/2021 A1) taken November 13, 2021, from June Lake in California. Credit & Copyright: Dan E. Bartlet
นักดาราศาสตร์จำแนกดาวหางจาก"คาบ" โดยแบ่งเป็นดาวหางคาบสั้นและคาบยาว ดาวหางคาบสั้นมีต้นกำเนิดบริเวณแถบดาวเคราะห์น้อย มีคาบน้อยกว่า 200 ปี ขณะที่ดาวหางคาบยาวมีต้นกำเนิดตั้งแต่แถบไคเปอร์เป็นจนถึงเมฆออร์ต ดาวหางบางดวงมีวงโคจรรีมาก มีคาบโคจรนานถึงสามล้านปี
The orbit of Comet A1 Leonard, set for its closest passage near E
เมฆออร์ตเป็นบริเวณทรงกลมที่ห่อหุ้มระบบสุริยะไว้โดยรอบ มีรัศมีตั้งแต่ 1,000 – 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ (ระยะทาง 1 หน่วยดาราศาสตร์เท่ากับระยะห่างระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์ มีค่าประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร) เป็นดงของวัตถุที่เป็นต้นกำเนิดของดาวหางนับล้านดวง บางคนถึงกับเรียกเมฆอออร์ตว่าดงดาวหางออร์ต
ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ "ขนาด" หากยังจำดาวหางเฮล-บอปป์ที่มาอวดโฉมแก่ชาวโลกเมื่อ 20 กว่าปีก่อนกันได้ ดาวหางเฮล-บอปป์มีขนาดใหญ่มากที่สุดดวงหนึ่งเท่าที่คนในปัจจุบันเคยเห็น มีนิวเคลียสกว้างถึง 50 กิโลเมตร ส่วนดาวหางที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เคยพบเห็นปรากฏขึ้นเมื่อสามศตวรรษก่อน มีชื่อว่า ดาวหางยักษ์แห่งปี 1729 หรือ (ซี/1729 พี1) มีขนาดใหญ่ถึง 100 กิโลเมตร แต่สำหรับดาวหาง 2014 ยูเอ็น 271 คาดว่ามีขนาดกว้างถึง 160 – 200 กิโลเมตร
ระบบการตั้งชื่อดาวหาง
เมื่อมีการค้นพบดาวหางมากขึ้นเรื่อยๆ วิธีการตั้งชื่อแบบเดิมจะยุ่งยากและอาจสับสน ในปี ค.ศ. 1994 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลจึงอนุมัติระบบการตั้งชื่อดาวหางแบบใหม่ โดยดาวหางจะมีชื่อเป็น"เลขปีที่ค้นพบ"ตามด้วย"ตัวอักษรระบุปักษ์ของเดือน"ที่ค้นพบ และ"หมายเลขบอกลำดับการค้นพบในเดือนนั้น "(เป็นระบบการตั้งชื่อที่คล้ายคลึงกับระบบการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย) ดังนั้นดาวหางดวงที่สี่ที่ค้นพบในปักษ์หลังของเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จึงมีชื่อว่า 2006 D4 ทั้งนี้อาจมีอักษรนำเพื่อระบุประเภทของดาวหางนั้น เช่น
P/ หมายถึงดาวหางรายคาบ (ใช้กับดาวหางที่มีคาบโคจรน้อยกว่า 200 ปี หรือมีการสังเกตการณ์ที่ยืนยันได้โดยผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดมาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง)
C/ หมายถึงดาวหางแบบไม่มีคาบ (ใช้กับดาวหางที่ไม่เข้าข่ายนิยามข้างต้น)
X/ หมายถึงดาวหางที่ยังไม่สามารถคำนวณวงโคจรที่แน่นอนได้ (มักเป็นดาวหางในประวัติศาสตร์)
D/ หมายถึงดาวหางที่แตกสลายไปแล้วหรือสูญหายไป
A/ หมายถึงวัตถุที่เข้าใจผิดว่าเป็นดาวหาง แต่ที่จริงเป็นดาวเคราะห์น้อย
หลังการสังเกตการณ์เมื่อดาวหางผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดครั้งที่สอง ดาวหางรายคาบจะได้รับชื่อเพื่อระบุลำดับการค้นพบ ดังนั้น ดาวหางของเอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ซึ่งเป็นดาวหางที่มีการระบุว่ามีคาบโคจรเป็นดวงแรก จึงได้รับชื่อตามระบบใหม่นี้ว่า 1 พี/1682 คิว 1 ส่วนดาวหางเฮล-บอปป์ ได้ชื่อว่า ซี/1995 โอ 1 เป็นต้น
มีวัตถุอวกาศอีกเพียง 5 ชิ้นที่ยังไม่สามารถแยกแยะประเภทได้ชัดเจน และยังอยู่ในรายชื่อของทั้งดาวหางและดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ 2060 ไครอน (95P/Chiron), 4015 วิลสัน-แฮร์ริงตัน (107P/Wilson-Harrington), 7968 เอลสท์-พิซซาโร (133P/Elst-Pizarro), 60558 เอคีคลัซ (174P/Echeclus) และ 118401 ลีเนียร์ (176P/LINEAR, LINEAR 52)
ดาวหาง Leonard ; C/2021 A1 ณ อ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยวิรติ กีรติกานต์ชัย
Image info :
Camera : Nikon D600 Astro modded
Lens : Nikon AF/ED 80-200 mm F2.8 @ 80 mm 25% Cropped
ISO : 2500
Exposure : 180 Sec
WB : 3000
Tracking : SW Pro 2i
Location : Mae Pha Hean reservior, Sankampeang, CM
D/M/Y : 7 Dec 2021
Leonard C/2021 A1
On 12 December 2021 the comet will be 0.233 AU (34.9 million km) from Earth and on 18 December 2021 will be 0.028 AU (4.2 million km) from Venus. It will make its closest approach to the Sun on 3 January 2022. It reached naked eye visibility in December 2021. At an apparent magnitude of 4, it should be a good binocular comet. On 10 October the comet showed a short but dense dust tail. As of early December the comet has a total magnitude (coma+nucleus) of around 6. The first reports of naked eye observations started coming in on 5 December 2021.
On the morning of 6 December 2021 the comet will be about 5 degrees from the star Arcturus. On 14 December 2021 the comet will be 14.7 degrees from the Sun and will quickly become better seen from the southern hemisphere. The forward scattering of light could cause the comet to brighten to as much as magnitude ~2.
C/2021 A1 has been inside of the orbit of Neptune since May 2009. Using an epoch of 1950 which is well before the comet entered the planetary region of the Solar System, a barycentric orbit solution suggests the comet had roughly a 80 thousand year orbital period. Therefore the comet had spent the last 40 thousand years inbound from approximately 3,700 AU (550 billion km). After perihelion the comet will be ejected from the Solar System. The barycentric orbit will remain hyperbolic after September 2022.
Current system
Increasing numbers of comet discoveries made this procedure awkward, as did the delay between discovery and perihelion passage before the permanent name could be assigned. As a result, in 1994 the International Astronomical Union approved a new naming system. Comets are now provisionally designated by the year of their discovery followed by a letter indicating the half-month of the discovery and a number indicating the order of discovery (a system similar to that already used for asteroids). For example, the fourth comet discovered in the second half of February 2006 was designated 2006 D4. Prefixes are then added to indicate the nature of the comet:
P/ indicates a periodic comet, defined for these purposes as any comet with an orbital period of less than 200 years or confirmed observations at more than one perihelion passage.
C/ indicates a non-periodic comet i.e. any comet that is not periodic according to the preceding definition.
X/ indicates a comet for which no reliable orbit could be calculated (generally, historical comets).
D/ indicates a periodic comet that has disappeared, broken up, or been lost. Examples include Lexell's Comet (D/1770 L1) and Comet Shoemaker–Levy 9 (D/1993 F2)
A/ indicates an object that was mistakenly identified as a comet, but is actually a minor planet. An unused option for many years, this classification was first applied in 2017 for 'Oumuamua (A/2017 U1) and subsequently to all asteroids on comet-like orbits.
I/ indicates an interstellar object,[6] added to the system 2017 to allow the reclassification of 'Oumuamua (1I/2017 U1). As of 2019, the only other object with this classification is Comet Borisov (2I/2019 Q4).
For example, Comet Hale–Bopp's designation is C/1995 O1. After their second observed perihelion passage, designations of periodic comets are given an additional prefix number, indicating the order of their discovery. Halley's Comet, the first comet identified as periodic, has the systematic designation 1P/1682 Q1.
โฆษณา