9 ธ.ค. 2021 เวลา 07:35 • การศึกษา
"เเนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต" ระบบดนตรีโทนัลหรือระบบกุญแจเสียงที่อยู่บนพื้นฐานของบันได้เสียงเมเจอร์เเละไมเนอร์ การให้ความสำคัญกับโน้ตโทนิกเเละดอมินัล การเกลาเสียงที่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของยุคนั้น ระบบเสียงเเบบนี้เริ่มมีขึ้นในช่วงศตวรรษที่17-19 อยู่ในช่วงยุคสมัยบาโรกจนถึงยุคโรเเมนติกตอนปลาย ต่อจากนั้น ศตวรรษที่20 ริเริ่มโครงสร้างระบบเสียงใหม่เรียกว่า "ทฤษฏีเซต(Set Theory)"
เเนวคิดใหม่นี้เป็นการอธิบายในมุมมองความสัมพันธ์เเบบใหม่ที่ต่างจากการพิจารณาความสัมพันธ์ตามเเบบเเผนดั่งเดิม (Traditional Harmony or Common Practice) 🎻
ทฤษฎีเซตสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายดนตรีที่ยังคงอยู่ภายใต้ระบบกุญแจเสียงได้ นักทฤษฎีบางท่านได้นำเเนวคิดนี้ ไปใช้อธิบายเพลงของนักประพันธ์ เช่น เดอบุสซี ราเวล บากร์ตอก เเละสตราวินสกี
เเนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต
🌼 ความเท่าเทียมกันของช่วงคู่เเปด
เเนวโน้มการเกลาโน้ต
ท่าเทียบจากห้องทั่งหมด โดยใช้ระบบอิงกุญเเจเสียงจะสรุปได้ว่าห้องที่1,2 มีเเนวโน้มการเกลาเสียงดีกว่าห้อง3,4 เพราะห้องที่1,2มีระยะห่างของโน้ตเพียงครึ่งเสียงเท่านั่น ส่วนทฤษฎีเซตนั้นมองว่าทุกห้องนั่นเหมือนกันหมดเพราะทุกห้องล้วนเเล้วก็คือโน็ตBที่เกลาไปหาโน้ตC ทั่งนั่น
อีกตัวหนึ่งคือในห้องที่1,2,3 นั่นถ้ามองในรูประบบอิงกุญเเจเสียงเเต่ละโน้ตจะไม่เหมือนกันเนื่องจากระดับเสียงที่ไม่เหมือนกัน เเต่ทฤษฎีเซตมองว่าทุกโน็ตมีความเท่าเทียมกันทั้งสิ้นเพราะโน้ตในห้อง1,2,3ทั่งหมดนั้นคือโน้ตCEGทุกห้อง
🌼ความเท่าเทียมกันของโน้ตพ้องเสียง
จะเหมือนกันกับความเท่าเทียมกันของช่วงเเปด โดยเเนวคิดของระบบอิงกุญเเจเสียง ระดับเสียงเเต่ละตัวมีความหมายในตัวของมันเองลองนึกถึงลิ่มเปียโน โน้ตC# เเละDb จะอยู่ช่วงเสียงเดียวกันตำเเหน่งเดียวกัน โดยโน้ต2ตัวนี้มีหน้าที่ที่เเตกต่างกันเเละลำดับขั้นบันไดเสียง เช่น บนบันได้เสียง Bb โน้ตC# ทำหน้าที่เป็น #2 ของบันไดเสียง ส่วนโน้ตDb ทำหน้าที่เป็น b3 ของบันไดเสียง ซึ่งโน็ตทั่ง2ตัวมีหน้าที่ต่างกันบนเเนวทำนองเเละเสียงประสาน
เเต่ทฤษฎีเซตมองว่าโน้ตC#เเละDbนั้นไม่มีความเเตกต่างกันเลยเพราะมันคือโน้ตตัวเดียวกัน😀
โดยทั่งหมดนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานของทฤษฎีเซต
ข้อมูลจากหนังสือ "ดนตรีศตวรรษที่20 เเนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต"
โฆษณา