9 ธ.ค. 2021 เวลา 09:23 • ข่าว
ไวรัลจากไทย !! ชี้แจงแล้ว!! ไม่มีนโยบายแบบนี้! กรณีภาพทหารถูกสั่งให้ช่วยตัวเองพร้อมกัน เพื่อตรวจน้ำ
1
ภาพจาก เพจ "Princess Hinghoi"
ไม่ได้เห็นคลิปใดๆ เห็นเพียงแค่ภาพในลักษณะที่ แคปหน้าจอของวีดิโอ พร้อมมีข้อความระบุไว้ด้านล่างของวีดิโอตามเห็นในภาพด้านบน
ต้นเรื่องมาจากทางเพจ "Princess Hinghoi" ได้โพสต์ภาพและข้อความระบุว่า...
"ต้นทางบิน รีโพสละกันค่ะงั้น 🤨
อันนี้มีจริงวะ ถ้าองค์กรใหน Sexual Harassment** ที่สุดในไทยก็คงเป็นทหารนี่ล่ะค่ะ แต่กองพันทหารหญิงหนูยังดีพอเสรีภาพในการเลือก ว่าจะชักว่าวหรือไม่อาบน้ำ แต่นี่แค่น้ำจิ้ม ยังมีที่จัญไรกว่านี้อีก อย่างจูงช้างน้อยเข้าห้องอาบน้ำ หรือดับเบิ้ลชักว่าวกับเพื่อน แต่หนูเข้าเวรพอดีเลยรอด"
หลังจากเป็นข่าวกระจายออกสื่อไป ล่าสุดทางโฆษกกระทรวงกลาโหม ชี้แจงกรณีภาพที่ปรากฏเป็นข่าวว่าทหารถูกสั่งให้ช่วยตัวเองพร้อมกัน 168 นาย โดยระบุว่า...
ได้สั่งการให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วว่า เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ที่หน่วยใด ใครเป็นคนสั่งการ
หากเกิดขึ้นจริงให้เอาผิดลงโทษทางวินัยเด็ดขาดกับผู้สั่งการ ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
พร้อมยืนยันว่า "กระทรวงกลาโหมไม่มีนโยบายล่วงละเมิดทางเพศทหาร" และกำชับทุกหน่วยต้องไม่มีการใช้ความรุนแรงและมีเรื่องเสื่อมเสีย
สำหรับกรณีนี้ต้องติดตามข่าวเพื่อรับทราบข้อเท็จจริงกันต่อไป
📌📌📌📌📌📌📌📌
**Sexual Harassment คือ การกระทำที่มีเจตนาไม่ดีต่อเพศตรงข้าม หรือการคุกคามทางเพศ เพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศของตน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากอีกฝ่าย ในที่สุดอาจนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศหรือการทำร้ายร่างกาย จะทำให้เหยื่อได้รับการผลกระทบทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง
ซึ่งมีอยู่ในรูปแบบ เช่น การสัมผัสทางร่างกาย (Physical Conduct) , การแสดงออกทางวาจา (Verbal Conduct) , กิริยาท่าทาง หรือการแทะโลมทางสายตา (Visual Conduct) , การส่งข้อความในเชิงอนาจาร (Written Conduct)
ปัจจุบันมีให้เห็นทั้งที่เป็นข่าว และไม่เป็นข่าว ปัญหาดังกล่าวนี้มักมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นภายในที่ทำงาน ในโรงเรียน หรือหน่วยงาน-สถานประกอบการที่ผู้มีอำนาจมักจะใช้ช่องว่างนี้เอาเปรียบผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือแม้แต่ในโซเชียลมีเดียก็ตาม หนักสุดก็ในที่สาธารณะต่อหน้าคนพลุกพล่านก็ไม่เว้น
เมื่อเกิดเหตุขึ้นคนที่ถูกกระทำมีส่วนน้อยที่กล้าจะออกมาบอกกล่าวเตือนภัย หรือแจ้งความเอาผิดผู้กระทำ เพราะสังคมไทยจะมีความเชื่อ และมีวิธีคิดที่ประหลาด คือจะมีการคิดว่าผู้เสียหายเป็นฝ่ายผิด โยนความผิดให้ผู้ถูกกระทำว่าเป็นคนไม่ดี หรือกล่าวโทษเหยื่อ
เรื่องนี้เราไม่ควรเพิกเฉย และผู้ถูกกระทำไม่ควรเพิกเฉย ควรร้องเรียน หรือพูดคุยกับผู้มีอำนาจใกล้ตัว สังคม..เราทุกคนต้องเข้าให้ความช่วยเหลือ เช่น อาจใช้วิธีห้าม หรือขอร้องให้หยุดการกระทำนั้นๆ
สำหรับข้อกฎหมายจะมี พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่2) พ.ศ 2551 มาตรา 16 ได้กล่าวว่า " ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือ ผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง " ซึ่งถ้าฝ่าฝืนจะโดนโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 147 ( พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2541)
โฆษณา