10 ธ.ค. 2021 เวลา 02:55 • หนังสือ
Thinking, Fast and Slow
เป็นหนังสือที่นับว่าอ่านนานมากๆ เพราะว่าอ่านแล้วต้องพักไปอ่านเล่มอื่น ด้วยที่เป็นหนังสือเล่มหนา และมีเนื้อหาที่ต้องค่อยๆทำความเข้าใจ(โดยเฉพาะช่วงหลัง) บางทีก็ทำเราท้อได้เหมือนกัน
หลักใหญ่ของหนังสือเลยว่าด้วยความคิด การตัดสินใจของมนุษย์ ที่ต้องอาศัยการทำงานของระบบในหัวเรา ที่คล้ายกับว่าจะมีเหตุผล แต่ไม่เสมอไป
ผู้เขียนจะใช้ตัวละครหรือตัวตนสองฝั่งเสมอ โดยจะมีตัวเปรียบเทียบที่เป็นคู่กันทั้งหมด 3 คู่ในเล่ม ได้แก่
ความคิดสองระบบ
- ระบบ 1 เกิดเร็ว ใช้สัญชาติญาณ ความรู้สึก ใช้พลังงานน้อย
- ระบบ 2 ต้องใช้ความตั้งใจ ใช้ตรรกกะ ความเป็นเหตุเป็นผล ใช้พลังงานสูง
สิ่งมีชีวิตสองสายพันธุ์
- นักเศรษรฐศาสตร์ ตัดสินใจโดยใช้ตรรกกะ ใช้ความเป็นเหตุเป็นผล สามารถตัดสินใจได้เหมือนเดิมในทุกๆครั้งที่ได้รับข้อมูลมา โดยที่ทักษะการโน้มน้าวไม่สามารถทำให้การตัดสินใจหนีไปจากความจริง
- มนุษย์ ตัดสินใจโดยคิดว่าตัวเองใช้ตรรกกะ ถูกเบี่ยงเบนโดยทักษะการโน้มน้าว ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่คงที่เสมอไปทั้งๆที่เนื้อหา ความเป็นจริงเป็นสิ่งเดียวกัน
ตัวตนสองแบบ คือ ตัวตนเชิงประสบการณ์และตัวตนเชิงความคิด เนื้อหาในส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำความเข้าใจยาก อ่านแล้วก็งงๆ แต่พอมีโครงสรุปได้ว่า ตัวตนทั้งสองแบบนี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปในทางเดียวกัน เพราะตัวตนเชิงประสบการณ์ให้ความสำคัญกับเวลา ส่วนตัวตนเชิงความทรงจำไม่ได้มีเวลาเป็นตัวเกี่ยวข้อง
เนื้อหาในเล่มมีทั้งตัวอย่างและแบบทดลองอ้างอิงจำนวนมากใช้อธิบายเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นอย่างมาก การจะสรุปสั้นๆในไม่กี่บรรทัดก็คงจะเป็นไปไม่ได้ โดยสรุปคือหนังสือเป็นหนังสือที่ดี เนื้อหาครบเครื่อง ถ้าพี่เค้าแยกเนื้อหาออกมาแล้วใส่นำ้ลงไปคงจะทำได้หลายเล่มอยู่ เหมาะสำหรับคนที่ชอบอะไรมึนๆ อึนๆ แต่บอกเลยว่าเมื่ออ่านแล้วจะเข้าใจธรรมชาติของผู้คนได้มากขึ้น ทั้งตัวเองและผู้อื่น
บางทีตัวเราเองที่คล้ายๆจะคิดมีเหตุมีผล แต่อันที่จริงมันเกิดจากระบบที่ 1 ขับเคลื่อนเราไปเท่านั้นเอง
โฆษณา