Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เอกรัตน์
•
ติดตาม
10 ธ.ค. 2021 เวลา 11:11 • ข่าวรอบโลก
ถ้าเกิดสงครามโลก นักลงทุนควรลงทุนอย่างไร
เมื่อพูดถึงสงครามโลกเราจะนึกถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ ที่พยายามชิงอำนาจในด้านเศรษฐกิจ การแย่งทรัพยากรระหว่างประเทศ การชิงความได้เปรียบทางขั้วอำนาจและอุดมการณ์ทางการเมืองรวมถึงความเชื่อในด้านศาสนา ทั้งนี้สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีอำนาจจนนำไปสู่การเกิดสงครามโลก ที่ส่งผลกระทบลามไปทั่วโลกอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาที่เป็นตัวแทนอุดมการณ์ทางการเมืองฝั่งประชาธิปไตยและอดีตสหภาพโซเวียตที่เป็นตัวแทนอุดมการณ์ทางการเมืองในฝั่งสังคมนิยม
ในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนเพื่อแย่งชิงความเป็นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี รวมถึงการแข่งขันในการเป็นชาติมหาอำนาจเพื่อกำหนดทิศทางและความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศจนสามารถเป็นผู้นำในการจัดระเบียบโลก (World Order) ซึ่งหมายถึงการมีบทบาทในการเป็นผู้กำหนดระเบียบหลักที่โลกยึดถือและทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ผู้มีอำนาจในการจัดระเบียบโลกได้ เหมือนเช่นในอดีตที่สหรัฐอเมริกาเคยทำมาแล้วในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ได้เปลี่ยนระเบียบโลกจากประเทศมหาอำนาจในฝั่งยุโรป กลายมาเป็นสหรัฐอเมริกาในการเป็นมหาอำนาจใหม่แทน พร้อมจัดระเบียบโลกใหม่ เช่น อุดมการณ์ปกครองในระบอบประชาธิปไตย การเปิดการค้าเสรี การใช้สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐในการเป็นสกุลเงินหลักของโลก เป็นต้น
ทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า ณ ตอนนี้จีนเริ่มมีบทบาทในเวทีโลกเพิ่มมากขึ้นจนทำให้สหรัฐอเมริกาเกิดความคลางแคลงใจว่าจีนจะผงาดกลายเป็นผู้นำโลกยุคต่อไป ทำให้สหรัฐอเมริกามีการกีดกันทางการค้าและเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ จากจีน และถ้าหากทั้ง 2 ประเทศมีความขัดแย้งจนทำให้เกิดเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 ที่สร้างความโกลาหลไปทั่วโลกทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การแบ่งแยกข้างของแต่ละประเทศ รวมไปถึงการขาดแคลนในทรัพยากรที่สำคัญ เช่น อาหาร ยารักษาโรค รวมไปถึงอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิต สำหรับคนที่เป็นนักลงทุนควรปรับตัวและลงทุนอย่างไรหากอยู่ในช่วงสงครามโลกมาหาคำตอบไปด้วยกัน

ปรับพอร์ตลงทุน
ควรปรับพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ก็คือการลงทุนในสินทรัพย์ที่คาดว่าจะรักษาเงินต้นหรือเพิ่มมูลค่าในช่วงเวลาที่สภาวะเศรษฐกิจเกิดการผันผวน และสามารถลดความเสี่ยงในกรณีที่กำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างเช่นในภาวะสงคราม หรือการลงทุนในบริษัทที่ได้ผลประโยชน์จากสงคราม
ตัวอย่างการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven)
1.
พันธบัตรรัฐบาล ที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากรัฐบาลรับประกันการคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย
2.
ทองคำ เพราะเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ และมูลค่าของทองคำไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือเข้าสู่วิกฤติ ราคาทองคำจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น เพราะเป็นหลักประกันที่จับต้องได้
3.
เงินฝากออมทรัพย์ แม้จะได้ดอกเบี้ยต่ำแต่ก็ช่วยรักษาเงินต้นได้
4.
หุ้นปลอดภัย (Defensive Stock) เป็นหุ้นที่ทนทานต่อทุกสภาวะเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่พื้นฐานค่อนข้างแข็งแกร่ง ความเสี่ยงต่ำ เช่น หุ้นไฟฟ้า หุ้นน้ำประปา หุ้นโรงพยาบาล หุ้นสินค้าอุปโภคบริโภค หุ้นทางด่วน หุ้นรถไฟฟ้า เป็นต้น
ตัวอย่างการลงทุนที่ได้รับอานิสงค์ผลจากสงคราม
1.
บริษัทที่ได้รับอานิสงค์จากสงคราม เช่น บริษัทผลิตอาวุธ, บริษัทผลิตเครื่องบิน ฯลฯ
2.
บริษัทที่ผลิตสินค้าปัจจัยสี่ เช่น อาหาร น้ำ ยารักษาโรค เป็นต้น
3.
บริษัทน้ำมัน เพราะน้ำมันถือว่าเป็นยุทโธปกรณ์อย่างหนึ่งและราคามักปรับตัวสูงในช่วงสงคราม
จะเห็นได้ว่านักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลและความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ทันต่อสถานการณ์ความเป็นไปของโลก ทั้งภาวะเศรษฐกิจและวิกฤตการณ์สำคัญต่างๆ เพื่อที่จะได้ลงทุนในจังหวะที่เหมาะสม รวมถึงต้องกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ และควรปรับพอร์ตลงทุนตามสถานการณ์เพราะสินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงและได้รับผลตอบแทนไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลาและสถาการณ์ สนใจลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง ดูรายละเอียดได้ที่ SCB Easy Invest
http://www.scbs.com/easyinvest
ข้อมูล
http://www.investerest.co/investment/wwiii/
https://www.longtunman.com/20582
http://www.digitalschool.club/digitalschool/social2_1_1/m6_2/content/lesson2/lesson2_1.php
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_29Oct2020.aspx
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย