10 ธ.ค. 2021 เวลา 13:11 • ศิลปะ & ออกแบบ
ตึกที่มีดอกไม้ สายลม แสงแดด
สองปีที่เดินทางไปกลับบ้านกับตจว.ด้วยรถไฟ
ผ่านตึกนี้บ่อยเพราะเดินจากหัวลำโพงไปสวนกุหลาบ
หลังขึ้นรถไฟเที่ยวเช้ามืดจากที่ทำงานมาก๋วยเตี๋ยวรู
ขากลับเดินผ่านตลาดน้อยมาเยาวราชตัดสำเพ็ง
ไปโผล่อีกทีปากคลองตลาดที่คุ้นเคย mrt เพิ่งมี
ตึกสีเหลืองแปลกตาเพราะกินพื้นที่หัวมุมทั้งสูงขึ้นอีก
สร้างแบบสมัยใหม่ คงเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กแล้ว
ชื่อบนอาคารตอนแรกไม่ใส่ใจจนได้ทำตึกจิ๋วนี้
ค้นเจอว่าตระกูล และชื่อเจ้าของอาคารเป็นใคร
ตระกูล หลิมเซ่งท่าย โดยคุณยายละออ ท่านมีชื่อ
เดิมเป็นเครือญาติเจ้าสัว(เจ๊ซัว) ที่ตลาดน้อย
ชุมชนท่านานาชาติ เจ้าสัวมากมาย มีบ้านสมัยร.3
คุณยายอาจเป็น เจ้าที่ดิน อีกท่านในยุคนั้น
บริจาคที่เพื่อการศึกษาหลายแห่ง
ดังสุดคง ละอออุทิศ หรือ วัดไตรมิตร อาชีวะตลาดน้อยตรงกรมเจ้าท่า หรือใกล้วัดโพธิ์ รวมถึงตึกในวัดบวรนิเวศฯ เหมือนท่านแสดงเจตจำนงค์ด้านการสร้างรากฐานการศึกษาและศาสนา
เดิมผมคิดว่ารูปปั้นหน้าอาคารด้านถนนมุ่งไปเยาวราช เป็นหงส์ แต่มาคิดว่าอาจเป็น นกยูง เพราะอาคารชื่อบางอย่างที่ใช้กับงานศาสนาพุทธ และโครงสร้างเหล็กเส้นที่เหลือของประติมากรรม คล้ายท่าแพนหาง เพราะหงส์คงไม่มีท่าแบบนี้ และคุณยายเลื่อมใสศาสนาตามบันทึกที่อ่านเจอ
นอกจากอักษรป้ายหน้าบันด้านบนที่ทำให้สืบค้นได้ ด้านล่างใกล้ประตูบานเฟี้ยมไม้มีชื่อภาษาต่างชาติ อาจเป็นกิจการเดิมที่แสดงถึงห้างร้าน ส่วนอาคารทางไปถนนที่บรรจบกับเจริญกรุง เป็นอาคารทรงสูงคล้ายหอคอยเด่นสง่าบนฐานอาคารชุดนี้เป็นแนวยาวและอาคารปิดมุม ผสมทั้งสามรูปแบบของลักษณะการใช้งาน ที่น่าสนใจคือแม้รูปแบบจะเหมือนยุคโมเดิร์น แต่คำนึงถึงกันสาดเหนือทางเดินเท้าด้านล่างแบบ shop house ทางภูมิภาคมรสุม เช่นที่เมืองภูเก็ต
แค่เปลี่ยนการเจาะเป็นซุ้มเดินลอดเป็นกันสาดแนวยาวบังทางเท้าให้ ด้านหน้าตรงนี้จึงก่อกันสาดเป็นทรงโค้งประดับปูนปั้นด้านบน น้อยอาคารริมถนนจะทำแบบนี้ได้ สื่อถึงความทันสมัยและสถานะ ต่างจากการใช้งานทั่วไป หรือพยายามแสดงตัวตนของเจ้าของผ่านภาษาสถาปัตยกรรม ไม่ใช่อาคารแถวชุดที่สร้างแบบมาตรฐาน
ชอบมองต้นไม้รากย้อย เปลี่ยนทุกฤดู เหี่ยวแห้งสีน้ำตาลกรอบ เป็นเขียวสดชื่น และมีดอกไม้แซมให้เห็นบางจังหวะเวลา จำไม่ผิดมีทั้งม่วงและเหลือง
ไม่ไกลกันทั้งเส้นถนน จะพบร้านบ้านตึกเก่ายาวเป็นแถบ หน้าตาแบบนี้แต่มีต้นไม้ประดับ หรือกลิ่นอาหารจีน ขนมอบเครื่องเทศ อาหารแปรรูป การเดินดื่มด่ำยามเช้าต่างจากช่วงเวลาอื่นๆ แต่ยามสายหรือบ่ายให้เดินตัดเข้าทรงวาด
จะเห็นบรรยากาศขนเมล็ดพันธุ์หรือกลิ่นเครื่องเทศอีกแบบที่ไม่ใช่การปรุงอาหาร
อาคารนี้เป็นแรงบันดาลใจ ให้ลองทำงานชุดเยาวราชโดยซ่อนสัญลักษณ์สัตว์บางอย่าง ตามประวัติที่ค้นมาได้ คล้าย easter egg ซึ่งสนุก และถ้ามีโอกาสอยากให้ค้นหา
หวังว่าจะได้ทำงานชุดใหม่ๆ เล่าเรื่องจากการค้นหา ดัดแปลงข้อมูลสู่งานออกแบบ เคยเจอกรณีไม่น่ารักของร้านค้าที่นำมาทำตึกจิ๋ว แต่ด้วยเจตนาและหวังค่ามีคนชอบ ไปเดินดู ค้นคว้า และอุดหนุนย่านชุมชน เพราะการอนุรักษ์ไม่ใช่แช่แข็งหรือบอกเพียงภาพและอักษร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา