Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หนีดอย
•
ติดตาม
18 ธ.ค. 2021 เวลา 09:46 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รวมจุดเด่นของหุ้นและกองทุนรวม
กับการลงทุนผ่าน ETF By หนีดอย
2
💰 เกริ่นนำกันก่อน
เชื่อว่าหลายๆคน ต้องเคยได้ยินคำว่า ETF มาก่อน และเกิดความสงสัยว่ามันคืออะไร ทำไมถึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการลงทุน มันต่างออกไปจากหุ้นและกองทุนรวมที่เรารู้จักอย่างไร ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง แล้วมีช่องทางไหนบ้างหากเราต้องการที่จะเข้าไปลงทุน บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังกันครับ
3
💰ทำไมเราต้องลงทุน?
หากถามหาเหตุผลของคนหลายๆคนที่ต้องการลงทุน แน่นอนว่าต้องมีหลายจุดประสงค์ ผมได้ลองพยายามหาเหตุผลว่าทำไมเรา "ต้อง" ลงทุนในวันนี้ ลองมาไล่ดูกันนะครับว่า ตรงกับเหตุผลคุณผู้อ่านรึเปล่า
3
1. เงินเฟ้อที่สูงขึ้น...เมื่อเวลาผ่านไป
ผมนำข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั้งจากประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามาให้ดูกันตามรูปข้างล่าง โดยเราจะเห็นว่าหลังจากผ่านปี 2020 ที่ทั้งโลกเจอภาวะโรคระบาดครั้งใหญ่ทำให้เกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ก่อนที่ปี 2021 จะเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างก้าวกระโดด อย่างในสหรัฐฯที่รายงานภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นมากถึง 6.8% ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานับเป็นการพุ่งเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 หรือเกือบเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งประเทศไทยแม้จะไม่ได้มีอัตราเงินเฟ้อมากถึง 6.8% แต่ตัวเลขล่าสุดก็อยู่ที่ 2.38% ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
หากเราดูภาวะช่วงก่อนโควิดระบาด ในไทยจะมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ราวๆ 1.5% โดยประมาณ และในสหรัฐฯจะมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ราวๆ 2.0% ซึ่งจากที่กล่าวมานี้ก็หมายถึงว่า เงินที่เรามีอยู่จะด้อยค่าลง เมื่อเวลาผ่านไปนั่นเอง!!!
ที่มา : ภาวะเศรษฐกิจเดือนตุลาคม 2564 (30พฤศจิกายน 2564) จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่มา : https://www.cnbc.com/2021/12/10/consumer-price-index-november-2021.html
ที่มา : https://www.cnbc.com/2021/12/10/consumer-price-index-november-2021.html
2. เรามีอายุการทำงานที่จำกัด ถึงอายุที่ 60-65 ปี หรือบางคนอาจน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำ การทำงานเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอใช้จ่ายในยามเกษียณ ต้องให้เงินทำงานให้เราด้วย นี่ยังไม่นับเงินเฟ้อจากข้อแรกที่คอยกัดกินเงินเราอีก!!!
ผมนำเอาความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้นโดยใช้สถานการณ์จำลองดังนี้
1. เงินลงทุนตั้งต้น 100,000 บาท
2. ลงทุนทุกเดือนด้วยเงิน 10,000 บาท
3. ระยะเวลานาน 30 ปี
4. ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี (แต่มีผลตอบแทนช่วง 5-15% เทียบกันให้ดู)
ผลเป็นยังไง มาดูกันตามรูปด้านล่างครับ
โดยจากกราฟจะแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ระยะยาว ในผลตอบแทน 3 แบบดังนี้
1.
ผลตอบแทน 5% ต่อปีทบต้น = 8.4 ล้านบาท
2.
ผลตอบแทน 10% ต่อปีทบต้น = 21.5 ล้านบาท
3.
ผลตอบแทน 15% ต่อปีทบต้น = 58.8 ล้านบาท
จะเห็นว่าไม่น่ามีการฝากเงินกินดอกเบี้ยจากธนาคารไหนที่ให้เราได้รับผลตอบแทนเท่านี้ได้เลยในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลที่เรา "ต้อง" ลงทุน ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะยิ่งลงทุนเร็วเท่าไหร่ ผลตอบแทนก็จะยิ่งทวีเท่าเมื่อเวลาผ่านไป
ใครสนใจอยากคำนวณ Compound Interest ตามรูปข้างบน ผมทิ้ง Link ให้เข้าไปลองคำนวณได้ตามข้างล่างนี้นะครับ
1
investor.gov
Compound Interest Calculator | Investor.gov
Determine how much your money can grow using the power of compound interest.
เยี่ยมชม
หลังจากที่เราได้เห็นความสำคัญของการลงทุนแล้วนั้น ลำดับถัดไปเราก็มาหาข้อมูลต่อว่าแล้วการลงทุนอะไรบ้างที่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายข้างต้นที่ว่ากันครับ ซึ่ง 1 ในนั้น ก็คือที่มาของบทความนี้นั่นก็คือ ETF นั่นเอง
💰 รู้จัก ETF ก่อนว่าคืออะไร? #ETFคืออะไร
ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund จัดเป็น กองทุนรวมดัชนี (Index Fund) ที่มีนโยบายการลงทุนตามดัชนีต่างๆ เช่น ตลาดหุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์ ตราสารหนี้, ค่าเงินต่างๆ ฯลฯ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีมากที่สุด
2
💰 ตัวอย่าง ETF
ผมขอยกตัวอย่าง ETF อย่าง SPY ที่อ้างอิงดัชนี S&P500 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น ETF ประเภทหุ้น โดยนำเอาผลตอบแทนย้อนหลังและความเสี่ยงในแง่ความผันผวนระหว่างทางมาให้ดูกัน
กราฟแสดง ETF : SPY ที่ล้อตามดัชนี S&P500 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ทำผลตอบแทนได้ +273% (ในช่วงเวลา 10 ปี ตั้งแต่ 2011-2021)
Maximum Drawdown ที่ 35.68% ในระหว่าง 10 ปีที่ผ่านมา (2011-2021) ของ ETF อย่าง SPY
จากรูปจึงสรุปได้ว่า การลงทุนใน ETF ประเภทหุ้นที่ล้อไปกับดัชนีอย่าง S&P500 นั้น ให้ผลตอบแทนมากถึง 273% ใน 10 ปีที่ผ่านมา แต่ก็มีความผันผวนระหว่างทางมากถึง 35% เข้าหลักการที่ว่า "High Risk = High Return" เทียบกับการฝากเงิน ที่เงินต้นอยู่ครบก็จริง แต่ดอกเบี้ยที่ได้นั้นแสนน้อยนิด แถมยังพอคิดคำนวณกับเงินเฟ้อแทบจะเท่าทุนหรือขาดทุนด้วยซ้ำ
💰 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากดิจิตัล 5 ธนาคารใหญ่ (อัพเดท มิถุนายน 2564)
จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยธนาคารจะใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อเลยก็ว่าได้
💰 ประเภทของ ETFs
จริงๆ ETFs อาจแบ่งได้หลายประเภท ผมลองแบ่งออกมาเป็นหมวดหมู่ดังนี้
3
1. Equity ETFs : เป็น ETF ลงทุนในหุ้น ETF ส่วนใหญ่มักจะล้อไปกับดัชนีหุ้น เช่น S&P 500 หรือ SET50 บางส่วนก็เป็น Active ETF อาทิเช่น ARK Invest ETF ที่ลงทุนในบริษัทที่มีนวัตกรรม เป็นต้น
1
2. Bond/Fixed Income ETFs : ETF ในกลุ่มพันธบัตรหรือตราสารหนี้ ซึ่งจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า ETF หุ้น
3. Commodity ETFs : ETF ที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เช่นทองคำ,แร่เงิน,แร่ทองแดง
4. Currency ETFs : เป็น ETF ที่ลงทุนในค่าเงิน เพราะค่าเงินที่อัตราแลกเปลี่ยนไม่คงที่สามารถทำกำไรได้เช่นกัน ซึ่ง ETF ประเภทนี้จะมีทั้งแบบสกุลเดียว หรือ หลายๆสกุลก็ได้
5. Inverse funds : ETF ที่ไว้ลงทุนในลักษณะที่ผู้ลงทุนคาดว่าสินทรัพย์ที่สนใจจะมีการปรับตัวลดลงหรือ Short selling เช่น คาดว่า S&P500 น่าจะมีการปรับฐานครั้งใหญ่ หากซื้อ ETF ตรงๆ ก็จะมีการขาดทุน จึงซื้อ ETF ประเภท Inverse ไว้ หากดัชนีมีการปรับฐานจริงๆตามที่คาดไว้ ก็จะได้กำไร
6. Leveraged funds - เป็น ETF ที่ลงทุนโดยใช้ leverage คือจะได้กำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าตามนโยบาย ETF นั้นๆ เช่น 2 เท่า, 3 เท่า หากคาดว่าดัชนีจะขึ้น ก็จะได้กำไรมากกว่าการขึ้นของดัชนี 2-3 เท่า แต่หากคาดการณ์ผิดก็จะขาดทุน 2-3 เท่าเช่นกัน
จริงๆ ยังมี ETF อีกหลากหลายรูปแบบ แต่หลักๆ ก็จะมีราวๆนี้
💰 ความแตกต่างระหว่าง ETFs เปรียบเทียบกับ หุ้นหรือกองทุน
ทีนี้เรามาดูความแตกต่างตามตารางว่า ETF นั้นเหมาะกับเรารึเปล่าครับ เพราะ ETF ก็จะมีความเหมือนหุ้นและกองทุนในบางแง่มุม
2
💰 ข้อดีของ ETFs
1.กระจายความเสี่ยงได้ดี : เพราะมีหุ้นหลายๆตัวอยู่ภายใน ETF นั้นๆ หลายตัวในทีนี้คือ มักมากกว่า 20 ตัว บางทีมีเป็น 100 บริษัทก็มีเช่นกัน
2.ต้นทุนต่ำ : หุ้นบางตัวมูลค่าต่อหุ้นเท่ากับ 700 USD แต่ ETF ที่มีถือหุ้นตัวนี้ราคา 30 USD ทำให้ใช้เงินน้อยกว่าในการลงทุน
3.เหมาะกับการซื้อแบบ DCA : ETF ไม่มีวันล้มละลาย หรือเป็นศูนย์ได้ เพราะมีการกระจายสินทรัพย์ไว้หลายตัวในกอง
4.จัดพอร์ตแบบ Asset Allocation ได้ : เพราะมีการกระจายในกลุ่มอุตสาหกรรมให้แล้ว
5.มีเวลาติดตามตลอดน้อย : ไม่เหมือนหุ้นรายตัว ต้องให้เวลากับบริษัทมากๆ
ซื้อขายได้แบบ Real Time ได้เหมือนหุ้น : ต่างจากกองทุนที่จะรู้ได้แค่ราคา ณ ปิดวัน ซึ่งจะล่าช้าในกองต่างประเทศ
6.ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการต่ำกว่า : เทียบกับกองทุน เพราะกองทุนต้องซื้อ-ขายหุ้นให้เรา
1
💰 ข้อเสียของ ETFs
1.ผลตอบแทนจะไม่สูงเท่าหุ้นรายตัว เนื่องจากมีการกระจายการลงทุนในหลายๆบริษัท
2.จะมีค่าบริหารจัดการรายปีสำหรับ ETF ส่วนใหญ่ ไม่เหมือนหุ้นรายตัวที่ไม่มีค่าบริหารจัดการรายปี
💰 ผลตอบแทนกับความเสี่ยง
ในแง่ของ ETFs ประเภทหุ้นนั้นผลตอบแทนมักจะสู้หุ้นรายตัวไม่ได้ แต่ก็ไม่ขาดทุนหนักหรือผันผวนเท่าหุ้นรายตัวในแง่ของความเสี่ยง หรือหากมองประเภท ETF อื่นๆ ก็จะหลักการคล้ายกัน เนื่องจากเป็นการรวมสินทรัพย์หลายๆอย่างมาจัดไว้ใน ETFs เดียวกัน
💰 ETFs เหมาะกับใครกันแน่
1. คนที่ต้องการลงทุนระยะยาว (ระดับหลักปี เช่น 1-3 ปี แต่ถ้าให้ดี 5 ปีขึ้นไปจะดีที่สุด)
2. คนที่ต้องการกระจายความเสี่ยง
3. คนที่ไม่ค่อยมีเวลาติดตามบริษัทที่ลงทุนไว้
4. คนที่พื้นฐานความรู้ยังไม่มากพอที่จะลงทุนในหุ้นรายตัว หรือ สินทรัพย์รายตัวเลยในทันที พูดง่ายๆก็คือ เป็นมือใหม่ แต่ใช้การเริ่มลงทุนจาก ETF เป็นบันไดขั้นแรกก่อนต่อยอดไปยังหุ้นรายตัวได้ในอนาคต
💰 ถ้าต้องการลงทุน ซื้อได้จากที่ไหน
ต้องขอแยกเป็น ETF ของไทยและของต่างประเทศก่อนครับ
1. ETFs ของไทย : ซื้อได้จากการเปิดบัญชีหุ้นที่โบรกเกอร์หุ้นไทยต่างๆ เช่น AIRA, ASL, ASP และอื่นๆ ตรวจสอบรายชื่อโบรคเกอร์ได้ที่
1
เยี่ยมชม
setinvestnow.com
เปิดบัญชีหุ้น - รวมทุกโบรกเกอร์
รวมรายชื่อทุกโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อขายหุ้น อยากเปิดบัญชีหุ้นกับที่ไหน ที่นี่มีให้เลือกครบ
2. ETFs ของต่างประเทศ : สำหรับการซื้อขาย ETF ต่างประเทศทำได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้
2.1 เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในไทย แบบนี้สามารถซื้อขายได้ทั้งหุ้นต่างประเทศ และ ETFs ต่างประเทศ
2.2 เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศ หลักการคล้ายๆโบรกเกอร์ของไทย แต่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายจะถูกกว่า ผมมีเขียนบทความเรื่องนี้ไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหุ้นต่างประเทศว่ามีตัวเลือกโบรคเกอร์อย่างไร
เยี่ยมชม
blockdit.com
[หนีดอย] #เปิดขุมทรัพย์ ตอนที่ 4
#เปิดขุมทรัพย์ ตอนที่ 4
2.3 เปิดบัญชีซื้อขายเฉพาะ ETFs กับ Jitta Wealth โดย Jitta Wealth ไม่ใช่โบรคเกอร์ แต่ Jitta Wealth จะเป็น กองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในหุ้น บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่ได้ถูกจัดเป็นโบรกเกอร์ จึงไม่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์บริษัทหลักทรัพย์ สามารถตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ที่
market.sec.or.th
ข้อมูลบริษัท -
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เยี่ยมชม
หากใครยังไม่เคยได้ยินชื่อ Jitta Wealth มาก่อน ผมขอแนะนำบริการที่ทาง Jitta Wealth มีให้บริการอยู่โดยแบ่งออกได้ 3 รูปแบบคือ
2
1. Global ETF แบบแรกจะเน้นลงทุนใน ETF ทั่วโลก ซึ่งมีทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ในสัดส่วนที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนแต่ละคนยอมรับได้
2. Thematic*** ซึ่งตัวผมเองลงทุนแบบนี้ครับ ซึ่งเป็นการคัดเลือกกลุ่มธุรกิจเฉพาะที่เติบโตได้ในอนาคต สามารถเลือก Theme ต่างๆได้ด้วยตัวเราเองไม่เกิน 5 กลุ่ม ซึ่งทาง Jitta Wealth จะคัดเลือก ETF ที่คิดว่าดีที่สุดในกลุ่มนั้นๆ มาให้เราเป็นผู้เลือกลงทุน
3. Jitta Ranking เป็นการลงทุนตามหลักการลงทุนเน้นคุณค่า หรือ Value Investment ของ Warren Buffett โดยใช้นวัตกรรม AI จัดอันดับหุ้นชื่อ Jitta Ranking ที่พัฒนาโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด คัดกรอง “บริษัทที่ยอดเยี่ยม ในราคาที่เหมาะสม” น่าลงทุนที่สุดในระยะยาว เพราะหุ้นที่ดี ต้องมีจังหวะที่ดีในการลงทุนด้วย เพื่อนำมาซื้อขายหุ้นและปรับพอร์ตอย่างเป็นระบบ โดยหวังผลตอบแทนชนะดัชนีได้ในระยะยาว
1
💰 ความแตกต่างระหว่าง Jitta Wealth กับ โบรคเกอร์
1. Jitta Wealth ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 100,000 บาท สำหรับ Global ETF and Thematic และขั้นต่ำ 500,000 บาท สำหรับ Jitta Ranking ในขณะที่โบรคเกอร์ที่เป็นบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศมีขั้นต่ำในการซื้อขาย อย่างน้อย 1 หุ้น (กรณีตลาดในสหรัฐฯ) หาก ETF นั้นมีราคาปัจจุบันที่ 10 USD เราสามารถลงทุนซื้อได้ที่ขั้นต่ำได้เลย (ค่าธรรมเนียมการซื้อขึ้นกับนโยบายโบรกเกอร์นั้นๆ)
ที่มา : jittawealth.com
2. Jitta Wealth มีการปรับพอร์ทให้นักลงทุนอัตโนมัติ แต่ของโบรกเกอร์ต้องปรับพอร์ทด้วยตนเอง
3. Jitta Wealth จะไม่สามารถซื้อ ETFs ได้ Real-time หรือได้ในราคาปัจจุบันเหมือนกับซื้อผ่านโบรกเกอร์ตรงๆ ซึ่งหากใครต้องการลงทุนในลักษณะเก็งกำไรระยะสั้นแบบจับจังหวะแล้วนั้นการลงทุนกับ Jitta Wealth อาจไม่ตอบโจทย์นัก เพราะตัว Platform มุ่งเน้นในลงทุนระยะยาวระดับปี
4. กรณีการเสียภาษี ใช้หลักการเดียวกัน ทั้ง 2 แบบ ในฐานะบุคคลที่ไม่ได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศ จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินปันผล 30% แต่กำไรส่วนต่างที่ได้จากการซื้อขายกองทุน ETF จะไม่ถูกคิดภาษี capital gain ในสหรัฐฯ และหากวันที่ขายกองทุน ETF กับวันที่นำเงินกลับมาประเทศไทยอยู่คนละปีปฏิทิน ก็จะไม่เสียภาษี capital gain ในประเทศไทยตามกฎหมายเช่นกัน
5.ค่าธรรมเนียม จะมีต่างกันอยู่ 3 จุดหลักๆคือ
5.1 ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย : กรณีของ ETF ที่ซื้อจากโบรคเกอร์ทั่วไปจะมีค่าธรรมเนียมซื้อขายมีทั้งหลักสิบ (โบรกเกอร์ของต่างประเทศ) และหลักร้อยถึงหลักพันบาท (โบรกเกอร์ของไทย)
5.2 ค่าธรรมเนียมการโอนเงินไป-กลับ : ค่าธรรมเนียมการโอนเงินมีทั้งฟรีไปจนถึงหลักพันบาท สำหรับโบรกเกอร์ ขณะที่ Jitta Wealth มีเก็บครั้งแรก 500 บาท และฟรีในการโอนเงินครั้งต่อๆไป
5.3 ค่าธรรมเนียมการบริหาร : กรณีของโบรกเกอร์จะขึ้นกับนโยบายการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของชนิด ETF นั้นๆ ซึ่งมีทั้งต่ำและสูง ที่เราซื้อ ขณะที่ Jitta Wealth จะมีค่าบริหารตรงนี้ที่ 0.5% ต่อปี
3
สำหรับเรื่องค่าธรรมเนียมปลีกย่อยทั้งหมด ผมขอยกตัวอย่างแบบ Thematic จะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน คือ
1. ค่าธรรมเนียมการบริหาร
- ค่าบริหารจัดการ 0.5% ต่อปี คำนวณจากสินทรัพย์สุทธิในพอร์ต เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านเอกสารต่างๆ ค่าธรรมเนียมนี้จะคิดทุกสิ้นวัน และจะตัดเงินทุกสิ้นไตรมาส
2. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เรียกเก็บตามจริงโดยผู้ให้บริการ
- ค่าธรรมเนียมซื้อขายสินทรัพย์ หรือ trading commission เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะชำระให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการ ค่าธรรมเนียมนี้จะไม่เกิน 0.20% ต่อมูลค่าการซื้อขายสำหรับการลงทุนในสหรัฐอเมริกา
- ค่าธรรมเนียมรับฝากสินทรัพย์ หรือ custodian fee จะเป็นการจ่ายค่าธรรมเนียมโดยตรงแก่ผู้รับฝากสินทรัพย์ บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) คิดตามจริงที่อัตรา 0.1% ต่อปี หรือขั้นต่ำ 80 บาทต่อเดือน
- ค่าโอนเงินไปต่างประเทศสำหรับการลงทุนครั้งแรก เรียกเก็บตามจริง 500 บาทต่อครั้ง และไม่มีการเก็บค่าโอนเงินไปต่างประเทศกรณีเพิ่มทุน (ทาง Jitta Wealth ช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้)
- ค่าโอนเงินกลับจากต่างประเทศ เรียกเก็บตามจริงไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง
1
ในบทความต่อๆไป ผมจะนำแต่ละ Theme ที่น่าสนใจ มา Review ให้คุณผู้อ่านประกอบการตัดสินใจในการลงทุนว่าตัวเราชอบและเชื่อมั่นในกลุ่มธุรกิจไหนมากที่สุด
2
หากใครสนใจลงทุนใน Jitta Wealth เพื่อรับโบนัสเครดิตค่าธรรมเนียม 100 บาท เพื่อนำมาเป็นส่วนลดค่าธรรมเนียม ไม่ว่าจะเป็น
1. ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ 0.5% ต่อปี
2. ค่าธรรมเนียมตามผลกำไร 10% ของกำไร (เฉพาะโปรแกรม Jitta Ranking)
3. ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน 0.1% ต่อปี หรือ ขั้นต่ำ 80 บาทต่อเดือน
4. ไม่รวมค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าโอนเงินไปต่างประเทศ และ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ถ้ามี
2
หมายเหตุ : เครดิตค่าธรรมเนียมสามารถใช้ได้จนครบมูลค่า ไม่มีวันหมดอายุ
คลิกได้เลยที่ Link :
https://link.jittawealth.co/6votzlub7h
หรือคลิกที่รูปด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีลงทุน ก่อนวันที่ 25 ธ.ค. 2564
5
เยี่ยมชม
link.jittawealth.co
เปิดบัญชีวันนี้ รับฟรีส่วนลด ฿100 เพื่อลงทุนกับ Jitta Wealth
ลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์คุณภาพดีทั่วโลก บริหารจัดการอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี สมัครผ่านลิงก์นี้เลย
ติดตามหนีดอยได้ที่
📌Blockdit -
https://blockdit.com/needoy
📌Facebook -
https://www.facebook.com/needoykan
📌FB Group -
https://www.facebook.com/groups/needoy
📌Twitter -
https://www.twitter.com/needoykan
📌Telegram -
t.me/needoy
📌Line (openchat) -
https://bit.ly/lineneedoy
📌YouTube -
https://bit.ly/youtubeneedoy
📌Clubhouse -
www.joinclubhouse.com/@winneuro
📌Spotify :
spoti.fi/2NLRVBK
📌Apple Podcast :
apple.co/3pC8Gwh
📌Podbean :
https://bit.ly/podbeanneedoy
📌Google Podcast :
https://bit.ly/googlepodcastneedoy
📌Discord :
https://bit.ly/discordneedoy
📌Discord 2 :
https://bit.ly/discordneedoy2
etf
jittawealth
26 บันทึก
17
5
27
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เปิดขุมทรัพย์ Review หุ้น/ETFs/กองทุนรวม
26
17
5
27
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย