11 ธ.ค. 2021 เวลา 09:20 • ท่องเที่ยว
แหล่งไม้กลายเป็นหินที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในไทย
2
ไม้กลายเป็นหินในวนอุทยานไม้กลายเป็นหินบ้านตาก จ. ตาก หลุมขุดค้นที่ 1 เป็นไม้ทองบึ้ง Koompassioxylon elegans
ไม้กลายเป็นหิน หรือ petrified wood นั้นเป็นซากดึกดำบรรพ์ หรือ “ฟอสซิล” ของพืชประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นจากท่อนไม้ถูกฝังกลบอยู่ใต้ผิวดินในสภาพที่ขาดออกซิเจนทำให้เนื้อไม้ไม่เน่าเปื่อย
และถูกฝังแช่อยู่ในสารละลายซิลิก้าที่มีความเข้มข้นสูงเพียงพอ ในสภาพแวดล้อมที่ท่อนไม้และสารละลายซิลิกาได้สัมผัสกับออกซิเจนเป็นบางช่วงเวลาทำให้สารละลายซิลิกาตกตะกอนในรูปของซิลิกาเจล สะสมตัวแทนที่โมเลกุลของเนื้อไม้ (replacement)
จนทำให้ท่อนไม้ที่เป็นเนื้อสารอินทรีย์เปลี่ยนไปเป็นเนื้อหินซิลิกาแต่ยังคงรักษาโครงสร้างเนื้อไม้ดั้งเดิมเอาไว้
วันที่19 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “การบันทึกสถิติโลก ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก”
แหล่งไม้กลายเป็นหิน จังหวัดตาก พบว่าเป็นแหล่งไม้กลายเป็นหินที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย มีขนาด กว้าง 1.80 เมตร ยาว 72.20 เมตร อายุประมาณ 120,000 ปี
โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรธรณีเตรียมดำเนินการบันทึกสถิติโลกไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลกใน Guinness World Record ต่อไป (สถิติโลกไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลกปัจจุบันอยู่ที่ เมือง Qitai มณฑลซินเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความยาว 38 เมตร)
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 30 ตารางกิโลเมตรถูกค้นพบในเขตวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน (Bantak Petrified Forest Park) อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
จากการสำรวจขุดค้นพบว่าท่อนไม้กลายเป็นหินฝังตัวอยู่ใต้ชั้นกรวดยุคควอเทอร์นารีซึ่งเป็นกรวดแม่น้ำโดยพิจารณาจากความเรียบและกลมมนของเม็ดกรวด จากการสำรวจภาคพื้นดินพบท่อนไม้โผล่ให้เห็นหลายสิบท่อน
และได้มีการขุดขึ้นมาเพื่อจัดแสดงและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้วจำนวน 8 ท่อนจากจำนวน 7 หลุมขุดค้น
จากการวิจัยพบว่าเป็นไม้ทองบึ้ง (Koompassioxylon elegans) จำนวน 6 ท่อน และไม้มะค่าโมง (Pahudioxylon sp.) จำนวน 2 ท่อน (วิฆเนศ ทรงธรรม 2553)
ไม้กลายเป็นหิน ตาก สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากตะกอนตะพักเกิดการสะสมตัวบริเวณตะพักคุ้งน้ำของแม่น้ำปิงโบราณ ก่อนที่จะมีการปรับสภาพและเปลี่ยนทางเดินกลายเป็นแม่น้ำปิงในปัจจุบัน
ถือว่าเป็นแหล่งไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ส่งผลให้ชุมชนและประชาชนรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของแหล่งทรัพยากรธรณี อันจะนำไปสู่ความภาคภูมิใจและความตระหนักถึงความสำคัญของไม้กลายเป็นหินตาก
เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวระดับสากลและเป็นประโยชน์แก่ชุมชนและประเทศต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา